“การประชุมสองสภา” คืออะไร

2023-03-01 16:42:14 | CRI
Share with:

การประชุมสองสภาของจีน หมายถึง การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนและการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมที่ใช้ตั้งแต่ปี 1959 เป็นต้นมา

เนื่องจากการประชุมของสองสภาดังกล่าวมักจะจัดในเวลาเดียวกัน และมีความสำคัญต่อการบริหารประเทศ จึงได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ไม่ว่ารัฐบาลกลาง หรือระดับมณฑล หรือลงไประดับบริหารอื่นๆ ในท้องถิ่น ต่างมีวาระการประชุมของสมาชิกสภาที่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้น “การประชุมสองสภา” นี้ จึงใช้เรียกทั่วประเทศจีนทั้งระดับชาติ และระดับมณฑล(รวมนครที่ขึ้นตรงกับรัฐ และเขตปกครองตนเอง)


การประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 14 จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มีนาคมนี้ ส่วนการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคมที่กรุงปักกิ่ง ต่อไปจะแนะจำถึงสภาพโดยทั่วไปของสองสภาเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น

สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของรัฐ ดำเนินระบบหนึ่งสภา ซึ่งประกอบด้วยหน่วยผู้แทนที่มาจากมณฑล เขตปกครองตนเองชนเผ่าน้อย เมืองที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง และกองทหารปลดแอกประชาชนจีน เป็นต้น

การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนมีวาระ 5 ปี และจะจัดการประชุมเต็มคณะปีละครั้ง ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ถ้าหากคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนเห็นว่ามีความจำเป็น หรือมีสมาชิกของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนจำนวนกว่า 1 ใน 5 มีข้อเสนอยื่นญัตติที่น่าสนใจ จะเรียกประชุมสมาชิกของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนเป็นการเฉพาะกิจก็ได้

สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีนมีอำนาจและหน้าที่สำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตรวจตราการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กำหนด และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายขององค์กรของรัฐและกฎหมายขั้นพื้นฐานอื่นๆ เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีนที่เห็นว่าไม่เหมาะสม สำรวจพิจารณาและอนุมัติโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจประชาชาติและสังคม รายงานสภาพการปฏิบัติตามโครงการ พิจารณาและอนุมัติงบประมาณของรัฐ และรายงานสภาพการปฏิบัติตามงบประมาณ

นอกจากนี้ ยังมีอำนาจหน้าที่ในการเลือกตั้งประธาน รองประธานเลขาธิการและกรรมการของคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน เลือกตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

รายชื่อที่ได้เสนอจากประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนจะนำไปพิจารณาเลือกผู้ที่จะมาเป็น นายกรัฐมนตรีต่อไป และรายชื่อที่ได้รับการเสนอจากนายกรัฐมนตรีจีน ก็จะนำไปพิจารณาเลือกผู้ที่จะเป็นรองนายกรัฐมนตรี มนตรีแห่งรัฐ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างๆ ผู้อำนวยการของคณะกรรมการต่างๆ ประธานของกรมตรวจสอบบัญชี เลขาธิการ เลือกตั้งประธานของคณะกรรมการ การทหารส่วนกลางของจีน ตามที่ได้รับการเสนอชื่อจากประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางมาพิจารณาผู้สมัครเป็นสมาชิกอื่นๆของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง เลือกตั้งประธานศาลประชาชนสูงสุด เลือกตั้งประธานอัยการประชาชนสูงสุด และมีสิทธิ์พิจารณาแต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ดังกล่าว

จึงเห็นได้ว่า สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน เป็นองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศจีน จะตัดสินใจเรื่องบ้านเมืองสำคัญต่างๆ ของประเทศชาติ

ส่วนการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน เป็นองค์การแนวร่วมรักชาติแห่งประชาชนจีน เป็นองค์กรสำคัญด้านความร่วมมือหลาย พรรคและให้คำปรึกษาทางการเมืองภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นรูปแบบสำคัญอย่างหนึ่งในการเชิดชูประชาธิปไตยแห่งสังคมนิยมทางการเมืองของจีน

สภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนประกอบด้วยผู้แทนของพรรคคอม มิวนิสต์จีน คณะกรรมการการปฏิวัติพรรคก๊กมินตั๋งแห่งประเทศจีน สันนิบาตประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน สมาคมสร้างชาติประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน สมาคมส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน พรรคประชาธิปไตยกรรมกรชาวนาแห่งประเทศจีน พรรคจื้อกงจีน สมาคมจิ่วซาน สันนิบาตปกครองตนเอง ประชาธิปไตยไต้หวัน ตลอดจนผู้แทนของบุคคลแนวคิดประชาธิปไตยที่ไม่สังกัดพรรค กลุ่มประชาชน ชนชาติส่วนน้อยต่างๆและผู้แทนของวงการต่างๆ พี่น้องร่วมชาติชาวไต้หวัน พี่น้องร่วมชาติชาวฮ่องกง พี่น้องร่วมชาติชาวมาเก๊าและชาวต่างชาติเชื้อสายจีนที่คืนสู่มาตุภูมิ ตลอดจนผู้มีเกียรติทรงคุณวุฒิทั้งหลายด้วย

สภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนมีประวัติยาวนาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ 1949 การประชุมเต็มคณะครั้งแรกของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนได้รักษาบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่แทนองค์กรอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยประกาศว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนาขึ้นแล้ว และได้ผ่านหลักนโยบายร่วมของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติของจีน ซึ่งมีลักษณะรัฐธรรมนูญชั่วคราว ตลอดจนกฎหมายการจัดตั้งของรัฐบาลประชาชนส่วนกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

กฎหมายการจัดตั้งของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนได้กำหนดให้เลือกตั้งรัฐบาลประชาชนส่วนกลางและคณะกรรมการแห่งชาติของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนครั้งแรก การประชุมครั้งนี้ได้ลงมติในเรื่องต่างๆ เช่น การกำหนดนครหลวง ธงชาติ เพลงชาติและศักราชของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อปี ค.ศ.1954 การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนซึ่งเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของรัฐได้สถาปนาขึ้น และตั้งแต่นั้นมา สภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนในฐานะเป็นองค์การแนวร่วมรักชาติที่กว้าง ใหญ่ไพศาลที่สุดของจีนได้ดำรงอยู่สืบมา และได้ขยายบทบาทสำคัญในกิจการการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ตลอดจนการไปมาหาสู่กันทางการทูตอีกด้วย

ภารกิจสำคัญของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีน คือ ปรึกษากิจการการเมือง สำรวจตรวจสอบตามวิถีประชาธิปไตย เข้าร่วมกิจการการเมือง และเป็นที่ปรึกษากิจการการเมืองต่างๆ

"การปรึกษากิจการการเมือง" หมายถึง ก่อนดำเนินการพิจารณาลงมติในเรื่องต่างๆ จะต้องปรึกษาหารือด้านหลักนโยบายทางการเมืองที่สำคัญๆของรัฐและส่วนท้องถิ่น ซึ่งรวมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน และดำเนินการปรึกษาหารือด้านปัญหาสำคัญในกระบวนการปฏิบัติการ

ถ้ากล่าวในด้านขั้นตอนนั้น ตามข้อเสนอของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของจีน รัฐบาลประชาชนจีน พรรคและกลุ่มประชาธิปไตย กลุ่มประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพรรคและของรัฐบาล องค์การระดับต่างๆของสภาปรึกษาการเมืองจะจัดการประชุมที่มีผู้รับผิดชอบของพรรคและกลุ่มต่างๆ ตลอดจนผู้แทนของชนเผ่าน้อยต่างๆ และผู้แทนของวงการต่างๆเข้าร่วมเพื่อดำเนินการปรึกษาหารือ และก็สามารถเสนอให้หน่วยงานดังกล่าวมอบส่งปัญหาอันสำคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปรึกษาหารือกัน

รูปแบบสำคัญของการปรึกษากิจการการเมืองมีการประชุมเต็มคณะของสภาปรึกษาการเมือง การประชุมของคณะกรรมการประจำสภาปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน การประชุมประธาน การประชุมสมัชชาในปัญหาเฉพาะด้านของกรรมการประจำ การประชุมของคณะกรรมการ เฉพาะกิจต่างๆ ตลอดจนการประชุมที่มีผู้แทนของพรรคฝ่ายต่างๆ บุคคลผู้ไม่สังกัดพรรค กลุ่มประชาชน ชนชาติส่วนน้อย ตลอดจนบุคคล ผู้รักชาติจากวงการต่างๆเข้าร่วมตามที่ต้องการ

สภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนมีวาระ 5 ปี และจะจัดการประชุมเต็ม คณะปีละครั้ง ซึ่งมักจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับการประชุมของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน


Yim/Ping/Ping

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)