สถานีอวกาศจีนเปิดภาพโครงสร้างผิวหนัง 3 มิติสำเร็จในการทดสอบสมรรถนะของกล้องจุลทรรศน์ 2 โฟตอน

2023-03-10 07:53:29 | CRI
Share with:

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.2022 ยานอวกาศเทียนโจว 5 ของจีนนำส่งกล้องจุลทรรศน์ 2 โฟตอน (two-photon microscope) ไปสู่สถานีอวกาศจีน ทำให้อุปกรณ์ชุดนี้กลายเป็นกล้องจุลทรรศน์ 2 โฟตอนชุดแรกของโลกที่ปฏิบัติงานกลางห้วงอวกาศ เมื่อเร็วๆ นี้ สถานีอวกาศเทียนกงของจีนเสร็จสิ้นงานการทดสอบสมรรถนะของกล้องจุลทรรศน์ 2 โฟตอนที่อยู่บนวงโคจร โดยนักบินอากาศจีนใช้อุปกรณ์สุดทันสมัยชุดนี้สร้างภาพ 3 มิติของโครงสร้างผิวหนังและเซลล์ผิวเป็นผลสำเร็จ

ลูกเรือนักบินอวกาศจีนภารกิจเสินโจว-15 เข้าไปปฏิบัติงานในสถานีอวกาศชุดนี้ เสร็จสิ้นการติดตั้ง ปรับปรุง และทดสอบการการสร้างภาพถ่ายเป็นครั้งแรก และประสบความสำเร็จในการสร้างภาพจุลทรรศน์ 2 โฟตอนซึ่งเป็นพื้นผิวบริเวณใบหน้าและบริเวณของนักบิน

นี่คือภาพถ่ายที่นับบินอวกาศจีนร่วมกันปรับปรุงตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ชุดนี้ โดยนายจาง ลู่กำลังใช้กล้องฯ สร้างภาพผิวตรงแขนสั้นของนายเฟ่ย จุ้นหลงภายใต้ภาวะปฏิบัติงานอยู่บนวงโคจร กล้องจุลทรรศน์ 2 โฟตอนชุดนี้สามารถภาพ 3 มิติที่มีความละเอียดสูงขนาดซับไมครอน(submicron)ให้มองเห็นถึงโครงสร้างของผิวหนังกับสภาพของเซลล์ได้อย่างชัดเจน นับเป็นความสามารถการสร้างภาพจุลทรรศน์แบบ noninvasive ทำให้นักบินอวกาศตรวจดูโครงสร้าง 3 มิติของผิวหนังที่ประกอบด้วยชั้นหนังกำพร้า ชั้นผิวหนังแต่ละชั้น องค์ประกอบต่าง ๆ กระบวนการตั้งแต่การผลัดเซลล์ ( granular layer) รวมถึงและส่วนประกอบชั้นหนังกำพร้า ( stratum spinosum )

การทดสอบบนวงโคจรครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ใช้งานเครื่องมือกับวิธีการตรวจสุขภาพของนักบินอวกาศที่ปฏิบัติงานกลางห้วงอวกาศเท่านั้น หากยังนำเสนอวิธีทางเทคโนโลยีสำคัญสำหรับให้สถานีอวกาศจีนดำเนินงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สมองอีกด้วย สถานีอวกาศจีนในฐานะห้องปฏิบัติการกลางอวกาศแห่งชาติ จะเปิดตัวสู่วงการต่างๆ ของสังคมให้ปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และดำเนินโครงการประยุกต์ เพื่อสร้างผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น


LF/ying/lei

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)