53 ปีจีนประสบความสำเร็จใหญ่หลวงด้านการบินอวกาศ

2023-04-28 14:52:37 | CMG
Share with:

วันที่ 24 เมษายน เป็นวันการบินอวกาศจีนครั้งที่ 8 หากย้อนกลับไปในวันเดียวกันนี้ เมื่อ 53 ปีก่อน จีนได้ทำการยิงส่งดาวเทียม “ตงฟางหง - 1” ดาวเทียมดวงแรกของจีนขึ้นสู่ห้วงอวกาศ วันนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจการบินอวกาศจีน  ซึ่งในรอบ 53 ปีที่ผ่านมา  จีนได้ประสบความสำเร็จมหาศาลด้านการบินอวกาศ ดังนี้

วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1970 ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน จีนใช้จรวดขนส่ง “ลองมาร์ช-1” ส่งดาวเทียม “ตงฟางหง-1” ดาวเทียมดวงแรกของจีนขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1984  ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมซีชาง จีนใช้จรวดขนส่ง “ลองมาร์ช-3” ส่งดาวเทียมวงโคจรจีโอซิงโครนัส ดวงแรกของจีนขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1990 ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมซีชาง จีนใช้จรวดขนส่ง “ลองมาร์ช-3” ส่งดาวเทียม “เอเชีย-1” ซึ่งเป็นดาวเทียมพาณิชย์ระหว่างประเทศดวงแรกขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน จีนประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศทดลองลำแรกของจีน “เสินโจว-1” ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขนส่ง “ลองมาร์ช-2F” 

วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003  ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน จีนปล่อยยานอวกาศพร้อมมนุษย์ลำแรก “เสินโจว-5” ขึ้นสู่อวกาศ  หยาง ลี่เหว่ย กลายเป็นนักบินอวกาศจีนคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ  

วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2008  ไจ๋ จื้อกัง  นักบินอวกาศ “เสินโจว - 7” ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจนอกห้องโดยสารยานอวกาศ และกลายเป็นนักบินอวกาศจีนคนแรกที่เดินในห้วงอวกาศ 

วันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2021  ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมเหวินชาง มณฑลไห่หนาน(ไหหลำ) ทางภาคใต้ของจีน  จีนส่งโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ของสถานีอวกาศเข้าสู่วงโคจรด้วยความสำเร็จ  

วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2021 ยานอวกาศ "เสินโจว-12" ของจีนประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่ออัตโนมัติกับโมดูลหลักของสถานีอวกาศ “เทียนเหอ” นักบินอวกาศ 3 คน ได้แก่ เนี่ยไห่เซิ่ง, หลิวโป๋หมิง และ ทังหงโป กลายเป็นนักบินอวกาศจีนชุดแรกที่เข้าสู่สถานีอวกาศจีน 

วันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมเหวินชาง มณฑลไห่หนาน จีนส่งโมดูลห้องปฏิบัติการ “เวิ่นเทียน” ของสถานีอวกาศจีน เข้าสู่วงโคจร และเชื่อมต่อกับโมดูลหลักของสถานีอวกาศด้วยความสำเร็จ

วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2022  ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมเหวินชาง มณฑลไห่หนาน จีนส่งโมดูลห้องปฏิบัติการ “เมิ่งเทียน” ของสถานีอวกาศ เข้าสู่วงโคจร และเชื่อมต่อกับโมดูลหลักของสถานีอวกาศด้วยความสำเร็จ

จากนั้น โมดูลห้องปฏิบัติการ “เมิ่งเทียน” ได้ดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งตามที่กำหนด อีกทั้งรวมเข้ากับโมดูลหลัก “เทียนเหอ” และโมดูลห้องปฏิบัติการ “เวิ่นเทียน” ทำให้สถานีอวกาศจีนประกอบเป็นโครงสร้างรูปตัวที (T) ในที่สุด


(yim/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)