"หมู่บ้านหมายเลข 1 แห่งการบรรเทาความยากจนของจีน"- เส้นทางสี จิ้นผิง (30)

2023-05-05 08:13:26 | CMG
Share with:

หมู่บ้านเช่อซี ตำบลโปซี เมืองฝูติ่ง เขตหนิงเต๋อ มณฑลฝูเจี้ยน ได้รับการขนานนามว่าเป็น "หมู่บ้านหมายเลข 1 แห่งการบรรเทาความยากจนของจีน"

วันที่ 24 มิถุนายน 1984 หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้า (People's Daily) ได้เผยแพร่จดหมายจากผู้อ่านฉบับหนึ่งที่เขียนมาบรรยายสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนของ 18 ครัวเรือน ซึ่งเป็นชนเผ่าเซอ (ชนเผ่าเซอเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรจำนวนน้อยที่สุดของประเทศจีน) ในชุมชนเซี่ยซานซีของหมู่บ้านเช่อซี พวกเขาอาศัยอยู่ในกระท่อมที่สร้างด้วยดิน หลังคามุงจาก ไม่มีหน้าต่าง ไม่ให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว  ไม่สร้างความเย็นในฤดูร้อน ทั้งเตี้ย มืดและอับชื้น ในอดีตในฐานะผู้อพยพพวกเขาไม่มีที่อยู่อาศัยอยู่ในที่ราบจึงจำเป็นต้องสร้างที่อยู่อาศัยบนภูเขา แต่ภูเขาแต่ละลูกเหมือนเป็นกำแพงขวางกั้นทำให้ความยากจนไม่สามารถขจัดออกไปได้ ความมีกินมีใช้ก็ไม่อาจเข้ามาได้เช่นกัน

ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน  คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรีจีนได้ออก "ประกาศว่าด้วยการช่วยเหลือพลิกฟื้นพื้นที่ยากจนโดยเร็วที่สุด" ซึ่งถือเป็นการเปิดฉากการพัฒนาเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้หมู่บ้านเช่อซีจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น  "หมู่บ้านหมายเลข 1 แห่งการบรรเทาความยากจนของจีน" ในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นสิ่งของช่วยเหลือจากแวดวงต่างๆ ของสังคมถูกส่งไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่ง "แขวน" อยู่กลางหุบเขาแห่งนี้ 

คำบรรยายภาพ : ถนนซินฉางอันในหมู่บ้านเช่อซี  (เอื้อเฟื้อภาพโดยหนังสือพิมพ์ฝูเจี้ยนเดลี่ )

สิ่งของช่วยเหลือรวมถึงเงิน คูปองอาหาร(หมายถึงใบรับรองการซื้ออาหารที่ออกโดยรัฐบาลจีนในช่วงพิเศษทางเศรษฐกิจระหว่างทศวรรษ 1950-1980) ลูกแกะ ลูกไก่ และกล้าไม้ แต่ที่ดินในหมู่บ้านเช่อซีนั้นขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่สามารถเลี้ยงลูกแกะได้ ต้นอ่อนก็มักจะตายหลังปลูกได้ไม่นาน คนในท้องถิ่นจึงได้แต่ทำใจและบ่นว่า "ไม่ใช่ว่าเราไม่ขยัน และก็ไม่ใช่ว่านโยบายของพรรคฯ ไม่ดี แต่มันเป็นเรื่องจริงที่ว่าที่นี่ไม่สามารถทำการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์ได้"

ด้วยเหตุนี้ 10 ปีของการบรรเทาความยากจนแบบ "การถ่ายเลือด" จึงแทบไม่มีผลต่อคนในชุมชนนี้ ปลายปี 1994 รายได้เฉลี่ยต่อคนของชาวชุมชนเซี่ยซานซียังคงไม่ถึง 200 หยวน

หลังจากสี จิ้นผิงไปทำงานที่เขตหนิงเต๋อในปี 1988 เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงทางภาคตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยนในขณะนั้น เขาได้ยึด "การขจัดความยากจน" ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาความอดอยาก ปัญหาการขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย เป็นแนวทางหลักในการทำงาน ซึ่งกลายเป็นมาตรการที่ตรงใจประชาชนทางภาคตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยนในทันที

ด้วยประสบการณ์งานบรรเทาภัยพิบัติและการย้ายถิ่นฐานในอดีตที่ผ่านมา สี จิ้นผิงจึงตัดสินใจที่จะดำเนินการย้ายถิ่นฐานสำหรับหมู่บ้าน "เจ็ดไม่มี" (คือไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีถนน ไม่มีวิทยุกระจายเสียง ไม่มีสถานีอนามัย ไม่มีโรงเรียน และไม่มีสหกรณ์) ทางภาคตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยน และหมู่บ้านยากจน หมู่บ้านที่ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนหมู่บ้านหรือครัวเรือนที่สร้างบ้านด้วยหญ้าและดิน

เฉิน เซิงกวง ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตหนิงเต๋อต่อจากสี จิ้นผิงก็ได้สานต่อแนวคิดและวิธีปฏิบัตินี้

คำบรรยายภาพ : สตรีชนเผ่าเซอในหมู่บ้านเช่อซีกำลังแนะนำสินค้าพื้นเมืองให้กับนักท่องเที่ยว (เอื้อเฟื้อภาพโดยหนังสือพิมพ์ฝูเจี้ยนเดลี่)

เมืองฝูติ่งได้จัดสรรพื้นที่ราบในหมู่บ้านเช่อซีที่บริเวณเชิงเขาเพื่อให้ชาวบ้านชุมชนเซี่ยซานซีได้ย้ายเข้าไปอยู่ โดยทางภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบการจัดหาปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น และอิฐสีน้ำเงินที่จำเป็นสำหรับการสร้างบ้าน และชาวบ้านในหมู่บ้านเช่อซีต่างช่วยกันลงแรงและจัดหาวัสดุที่เป็นไม้ให้ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1994 จนถึงเดือนเมษายนปี 1995 ชาวบ้าน 22 ครัวเรือนในชุมชนเซี่ยซานซีจึงสามารถย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในบริเวณถนนซินฉางอันภายในหมู่บ้านเช่อซี

20 ปี หลังจากนั้น มีครอบครัวกว่า 350 ครัวเรือนจากชุมชน 12 แห่งได้ย้ายจากภูเขาสูงหลายร้อยเมตรไปยังหมู่บ้านใหม่ ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลยังได้พัฒนาธุรกิจจำนวนหนึ่งในท้องถิ่นเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจ้างงานให้กับชาวบ้านผู้ย้ายถิ่นฐาน

การปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและการพัฒนาที่ดีของธุรกิจ ชีวิตชาวบ้านที่ย้ายลงมาจากภูเขาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นตัวอย่างการย้ายถิ่นฐานเพื่อบรรเทาความยากจนที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด

มีชาวบ้านผู้ย้ายถิ่นฐานบางคนติดกลอนคู่ไว้ที่หน้าบ้านว่า "บรรลุการสร้างโลกใหม่ สรรเสริญพรรคฯ ที่นำความสุขมาสู่ครอบครัวเรือนหมื่น"  กลายเป็นที่มาของ "โครงการสร้างความสุข" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในภายหลัง

ปี 1994 ฝูเจี้ยนตัดสินใจขยายวิธีการดังกล่าวในภาคตะวันออกสู่ทั่วทั้งมณฑล เริ่มตั้งแต่ปีนี้ "โครงการสร้างความสุข" ได้ถูกจัดวางให้เป็นหนึ่งใน “โครงการรับใช้ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม” ของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งได้รับการส่งเสริมในวงกว้าง


BO/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)