นักวิชาการหลายประเทศระบุการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลางสร้างประโยชน์ต่างกับการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 สร้างความแตกแยก

2023-05-22 10:59:38 | CMG
Share with:

เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการหลายประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวศูนย์เอเชีย-แอฟริกา ไชน่ามีเดียกรุ๊ปว่าการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลางที่จัดขึ้นที่เมืองซีอานเมื่อเร็วๆ นี้ จุดเริ่มต้นตะวันออกของเส้นทางสายไหมสมัยโบราณมุ่งส่งเสริมความเชื่อถือเชิงยุทธศาสตร์ ความร่วมมือด้วยความสามัคคีและอำนวยประโยชน์แก่กันมีชัยชนะร่วมกัน เปรียบเทียบกับการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ซึ่งจัดขึ้นในเวลาเดียวกันที่เจตนาสร้างความแตกแยกอย่างเห็นได้ชัด

นาย Gholamreza Rajaei ผู้เชี่ยวชาญประเด็นปัญหาระหว่างประเทศของอิหร่านให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภาคภาษาเปอร์เซีย ไชน่ามีเดียกรุ๊ปว่า การประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลาง เป็นการประชุมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นแบบฉบับใหม่ที่ประเทศกำลังพัฒนาในโลกร่วมมือด้วยความสามัคคี จีนกับ 5 ประเทศเอเชียกลางได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ 100 กว่าฉบับ มีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตลอดจนทั่วโลกอย่างแข็งขัน สำหรับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากนั้นถือว่าเป็นแรงจูงใจและแรงดึงดูดอย่างรุนแรง

นาย Muhammad Fiaz Kiani นักวิเคราะห์ปากีสถานให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภาคภาษาอูรดู ไชน่ามีเดียกรุ๊ปว่าในที่ประชุม ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ริเริ่มสร้างประชาคมจีน-เอเชียกลางที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พัฒนาร่วมกัน มีความปลอดภัย อยู่ด้วยกันอย่างปรองดองทุกรุ่น เน้นว่า ความสัมพันธ์จีน-เอเชียกลางในยุคสมัยใหม่แฝงไว้ด้วยพลังแห่งการเติบโตและพัฒนา เขาเห็นว่าการประชุมที่มีความหมายเปิดศักราชใหม่บ่งบอกว่าความสัมพันธ์จีน-เอเชียกลางเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่มีอนาคตร่วมกัน

นาย Saionji Kazuteru นักวิชาการชื่อดังของญี่ปุ่น ศาสตราจารย์อาคันตุกะมหาวิทยาลัยนานาชาติฮิกาชินิปปอน ได้เปรียบเทียบการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลางกับการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ซึ่งจัดขึ้นในเวลาเดียวกันที่นครฮิโรชิมะ โดยระบุว่าในการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ประเทศตะวันตกซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นหัวหน้ามุ่งเน้นใส่ร้ายป้ายสีจีน หารือจับมือกันเพื่อรับมือกับจีนอย่างไร เป็นการประชุมที่เจตนาทำให้ทั่วโลกแตกแยก ส่วนการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลางเป็นงานใหญ่เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ เชื่อมโยงกัน คำปราศรัยของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนยึด “แนวคิดประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกัน” ให้ความสนใจกับการส่งเสริมความเชื่อถือเชิงยุทธศาสตร์ ความร่วมมือด้วยความสามัคคีและอำนวยประโยชน์แก่กันและมีชัยชนะร่วมกันระหว่างจีนกับประเทศเอเชียกลาง

นาย Saionji Kazuteru ยังกล่าวด้วยว่าข้อริเริ่มการร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่นำเสนอโดยจีนแต่ไม่ใช่เพื่อจีนอย่างเดียว โดยข้อเสนอดังกล่าวมุ่งที่จะเชื่อมโยงระหว่างจีนกับยูเรเชียตลอดจนทั่วโลก เป็นข้อริเริ่มที่ยิ่งใหญ่ที่ส่งต่อไปยังทั่วโลกและมวลมนุษย์ ประเทศเอเชียกลางปฏิบัติข้อริเริ่มดังกล่าวมีความหมายเป็นตัวอย่างเชิงยุทธศาสตร์


(Bo/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-05-2567)