บทวิเคราะห์ : จีนสหรัฐฯเจรจาเศรษฐกิจการค้าอีกรอบ เหตุใดพูดถึงความสนใจ 7 ข้อ?

2023-05-28 17:15:52 | CMG
Share with:

วันที่ 25 พ.ค.2023 ที่กรุงวองชิงตัน นายหวาง เหวินเทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนพบปะกับนางจีนา เรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา วันที่ 26 พ.ค.2023 ได้พบปะกับนางแคทเธอรีน ไท่ ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา เมื่ออ่านเน้อหาของการเจรจาสองครั้งนั้น เนื้อหาการแลกเปลี่ยนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการเจรจาครั้งที่แล้วมา ต้องสังเกตดูประโยคนี้ สองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดตั้งแพลต์ฟอร์มติดต่อกัน เพื่อรักษาและเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าที่เป็นรูปธรรม

เนื้อหาของการเจรจานั้นได้ชี้ให้เห็นโดยตรงว่า หนึ่งคือ “ความสนในทางเศรษฐกิจและการค้า” สองคือ “รายละเอียดของความร่วมมือ” ซึ่งเนื้อหาของ “ความสนใจทางเศรษฐกิจและการค้า” มีรายละเอียดชัดเจนมาก โดยรวมแล้วมี 7 รายการด้วยกัน

การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในอนาคตนั้นจะอภิปรายอย่างไร คำตอบก็อยู่ที่จะจัดการความสนใจและความร่วมมืออย่างไรนั่นเอง 

ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ทีมเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐอเมริกาก็เปิดข่าวที่จะมาเยือนจีนมาโดยตลอด การที่จีนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าแบบพหุภาคีครั้งนี้ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการทางการแลเปลี่ยนของฝ่ายสหรัฐอเมริกา

การพบปะระดับรัฐมนตรีพาณิย์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เป็นการเจรจาครั้งแรกหลังจากรัฐบาลโจ ไบเดนเข้าดำรงตำแหน่ง สิ่งที่เห็นได้ชัดนั้นคือ ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา การแลกเปลี่ยนกำลังมีมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง 

จีนและสหรัฐอเมริกามีวี่แววที่จะคลี่คลายความดึงเครียดหรือไม่?

จีนพูดถึงและเน้นการแก้ไขความสนใจก่อน แล้วค่อยอภิปรายความร่วมมือต่อ นี่ก็คือท่าทีนั่นเอง ทั้งเป็นวิธีการสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาไม่สามารถขอแลกเปลี่ยนไป ใช้วิธีการยับยั้งจีนไป แต่นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าที่สหรัฐอเมริกามีต่อจีนนั้น ความจริงก็คือกดขี่ยับยั้งต่างหาก 

เพราะฉะนั้นนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าที่สหรัฐอเมริกามีต่อจีนนั้นก็คือความสนใจอันดับแรกของการเจรจาสองครั้งนี้ 

ขณะพบปะกับนางจีนา เรมอนโดนั้น ฝ่ายจีนยังพูดถึงความสนใจที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อได้แก่ นโยบายสารกึ่งตัวนำ การควบคุมการส่งออก การตรวจสอบการลงทุนต่างประเทศ ขณะพบปะกับนางแคทเธอรีน ไท่ จีนก็พูดถึง 3 ข้อเหมือนกัน ได้แก่ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่เกี่ยวกับไต้หวัน กรอบเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิก มาตราด่านศุลกากร 301 โดยสรุปแล้ว สหรัฐอเมริกาได้ใส่ “แม่กุญแจ” ให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-สหรัฐอเมริกาไป 3 ใบแล้ว

แม่กุญแจใบที่หนึ่งคือภาษีศุลกากร ซึ่งแม้นางจาเน็ท เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาก็เคยวิจารณ์ แม่กุญแจใบที่สองคือการควบคุมการส่งออก จนถึงทุกวันนี้ สหรัฐอเมริกาได้จัดวิสาหกิจจีนจำนวนกว่าพันวิสาหกิจเข้าไปอยู่ในรายชื่อคว่ำบาตรในประเภทต่างๆ แล้ว โดยเฉพาะนโยบายสารกึ่งตัวนำเป็นจุดสำคัญ แม่กุญแจใบที่สามคือจัดตั้งวงกลมเศรษฐกิจที่เป็นเชิงปฏิปักษ์กัน หมายจะขจัดจีนอยู่นอกวง

มีแม่กุญแจ 3 ใบยังไม่พอ

สหรัฐอเมริกากำลังแผนจะร่างข้อจำกัดการลงทุนต่อจีน สิ่งที่เรียกว่า “ลดความเสี่ยง” นั้น คือการปลอมตัวของ “การตัดความสัมพันธ์” เท่านั้น มีแต่เปลี่ยนคำพูดเท่านั้น นั่นก็คือเหตุผลที่เงื่อนไขบังคับของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกานั้นก็คือต้องแก้ไขความสนใจก่อน

สหรัฐอเมริกาอยากมีการแลกเปลี่ยน ได้ แต่ท่าที่เชิงสร้างสรรค์นั้นคือสหรัฐอเมริกาต้องแก้ไขสิ่งที่ขัดแย้งระหว่างคำพูดของการกระทำของตนสำหรับความสัมพันธ์กับจีน และพูดคุยกับจีนด้วยเสียงที่มีเสถียรภาพในระยะยาง 

สหรัฐอเมริกาชอ่งพูดถึงหลักการทางตลาดและการแข่งขันที่ยุติธรรมมากที่สุด แต่การแข่งขันอย่างยุติธรรมนั้นตกลงคืออะไรกันแน่ ก่อนหน้านายหวาง เหวินเทาเดินทางไปสหรัฐอเมริกา เคยแลกเปลี่ยนกับวิสาหกิจทุนสหรัฐอเมริกาที่นครเซี่ยงไฮ้ โดยได้อภิปรายถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติ คือบรรยากาศของการประกอบธุรกิจที่เป็นแบบการตลาด มีระบบกฎหมายและเป็นแบบระหว่างประเทศ คือจะแบ่งปันกำไรของการพัฒนาและเปิดประเทศของจีนกับวิสาหกิจต่างประเทศอย่างไร ซึ่งเรียกว่า การแข่งขันที่ยุติธรรมนั่นเอง

ขณะที่สหรัฐอเมริกาปิดประตูให้แคบลงเรื่อยๆ แต่จีนกลับเปิดดประเทศให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุก็ต้องชี้แจงวิธีการข้อที่สองของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจน จีนและสหรัฐอเมริกาไม่ควรหลีกเลี่ยงปัญหา และไม่กล้าพัฒนาเพราะกลัวมีปัญหา จึงจะสามารถผลักดันความร่วมมือที่แท้จริงระหว่างสองฝ่าย 

วันที่ 27 พ.ค.2023 ตรงกับวันเกิดร้อยปีของดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ประสบการณ์ของเขาพอดีเป็นหมายเหตุที่ดีที่สุดของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐอเมริกาได้แก่ หนึ่ง ไม่ว่าสถานการณ์สลับซับซ้อนแค่ไหน จีนและสหรัฐอเมริกาก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ สอง จีนและสหรัฐอเมริกาสามารถอยู่ด้วยกันโดยเกิดผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น และได้รับผลประโยชน์ด้วยกันได้ ประวัติของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์ อนาคตของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯนั้น ยังคงต้องการพิจารณาถึงเรื่องนี้ต่อไป


Cui/Dan/Ying

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)