“นี่ไม่สามารถขจัดความกังวลของชาวบ้านได้ เราคัดค้านการนำไปปล่อยลงทะเล!” ภายหลังได้อ่านรายงานประเมินผลเรื่องแผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ลงสู่ทะเลที่ IAEA ประกาศเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2023 ประเด็นนี้ทำให้แกนนำสมาคมการประมงจังหวัดมิยากิ ( Miyagi-ken ) แสดงความกังวลอย่างมาก
ขณะที่ชาวญี่ปุ่นอีกจำนวนมากเห็นว่า รายงานฉบับดังกล่าวขาดความน่าเชื่อถือในประเด็นที่ว่าแผนการปล่อยน้ำเสียของญี่ปุ่น “ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล”
ส่วนกลุ่มเอ็นจีโอ ( NGO )เกาหลีใต้หลายกลุ่มก็ระบุว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้เป็น “ยันต์คุ้มครอง” ญี่ปุ่นและไม่สามารถทำให้แผนการปล่อยน้ำเสียของญี่ปุ่นมี “ความชอบธรรม”
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนการที่จะปล่อยน้ำผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเลเมื่อเดือนเมษายนปี 2021 ซึ่งก่อเสียงคัดค้านจากภายในประเทศและประเทศเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตลอดจนประเทศเกาะแปซิฟิกใต้ กดดันให้ญี่ปุ่นเชิญทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA มาดำเนินการตรวจสอบและประเมินในเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลังผ่านการประเมินผลเป็นเวลา 2 ปี IAEA ได้จัดทำรายงานประเมินผลฉบับสุดท้าย แต่เมื่อดูจากเนื้อหาแล้ว รายงานฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประเมินทั้งหมด ข้อสรุปที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ขาดความสมบูรณ์
ไม่ว่ารายงานฉบับนี้จะมีถ้อยคำใดก็ตาม ก็ไม่ควรอนุมัติญี่ปุ่นปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนิวเคลียร์นับล้านตันลงสู่แปซิฟิกภายในเวลา 30 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นความเสี่ยงและขจัดปัญหาออกจากตน
ทั้งนี้ รายงานของ IAEA ก็ยอมรับว่า ระบบ ALPS ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย “ไม่สามารถขจัดสารกัมมันตรังสีทั้งหมดที่ปนเปื้อนในน้ำ”
รายงานฉบับหนึ่งของ IAEA ไม่สามารถ “ ซักฟอก ” โครงการปล่อยน้ำที่มีสารปนเปื้อนของญี่ปุ่นได้ รัฐบาลญี่ปุ่นควรรับผิดชอบต่อทุกฝ่าย หันไปหาวิธีการบำบัดแทนที่จะปล่อยลงทะเล ยกเลิกแผนการปล่อยลงทะเล จัดการน้ำที่ปนเปื้อนสารนิวเคลียร์ตามหลักวิทยาศาสตร์ มีความปลอดภัย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากทั่วโลกได้
(Ying/LING/CAI)