เขตอาเค่อซู ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายทากลามากัน ซึ่งเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน "ข้าวชามหนึ่ง ทรายครึ่งชาม" เป็นภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นก่อนทศวรรษที่ 1980 กว่า 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้าง "กำแพงเมืองสีเขียว" ในทะเลทรายและโกบีที่เคยแห้งแล้งทำให้เกิดปาฏิหาริย์สีเขียวที่เปลี่ยนทะเลทรายเป็นป่าและเปลี่ยนโกบีเป็นสวนผลไม้
ในช่วงปี 1980 ทุกปีมีพายุทรายเกือบ 100 วันในเขตอาเค่อซู และผู้อยู่อาศัยใช้เวลาเกือบ 1 ใน 4 ของปีที่อยู่อาศัยอยู่ท่ามกลางทรายและฝุ่น สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือทะเลทรายอยู่ห่างจากเขตเมืองเพียง 6 กิโลเมตรและยังคงเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้มาด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อปี
ในปี 1985 หลังจากการสืบสวนและการทดลองซ้ำหลายครั้ง รัฐบาลท้องถิ่นได้ตัดสินใจสำรวจและสร้างแนวกันลมขนาดใหญ่และพัฒนาชายป่าเชิงนิเวศขนาดใหญ่ในพื้นที่เคอเคอหยา ในเขตอาเค่อซู
ปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่การรักษาต้นไม้ให้คงอยู่นั้นยากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลูกต้นไม้ใน เคอเคอหยา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างรุนแรงมาก พายุทรายพัดกระหน่ำ ต้นกล้าถูกปกคลุมไปด้วยบาดแผล การรักษาป่าให้คงอยู่ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของเคอเคอหยา วิธีการทางเทคนิคทุกประเภทที่ผู้คนสามารถคิดได้ในยุคนั้นล้วนถูกนำมาใช้ในดินแดนรกร้างของเคอเคอหยา
เมื่อต้นกล้าชุดแรกรอดชีวิต ต้นไม้สีเขียวก็ยึดเป็นฐานรากและขยายออกไปยังบริเวณรอบๆ ผู้คนดูแลป่าเหมือนลูกของตัวเอง การปกป้องป่าเป็นเรื่อง "เกียรติยศ" ในเคอเคอหยา ตั้งแต่ปี 1986 ถึงปี 2020 โครงการสร้างพื้นที่สีเขียวในทะเลทรายเคอเคอหยา ได้สร้างป่าเทียมแล้วเสร็จในพื้นที่ 80,200 เฮกตาร์ และอัตราพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นจาก 3.35% เป็น 9.05% ที่ขอบด้านเหนือของทะเลทรายทากลามากัน มี "กำแพงเมืองสีเขียว" ตั้งตระหง่านเพื่อขัดขวางการรุกรานของทะเลทราย
ทุกวันนี้ดินแดนอาเค่อซูเขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้และโอเอซิสแห่งนี้ไม่เพียงแต่มีบทบาทในการเผชิญหน้ากับทะเลทรายเท่านั้น แต่ยังนำความมั่งคั่งมาสู่พื้นที่ท้องถิ่นด้วย ในเวลาเพียงสามสิบกว่าปีเขตอาเค่อซูซึ่งในอดีตไม่เป็นที่รู้จักได้กลายเป็นแหล่งผลิตผลไม้หลักในซินเจียง โดยมีมูลค่าการผลิตหลายหมื่นล้านหยวนต่อปี
Bo/Patt