เมื่อบรรดานักเรียนนักศึกษาลาวโดยสารรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว “ท่องเที่ยวไปยังโลกภายนอก” พวกเขาคงคาดไม่ถึงว่า เพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายสำคัญนี้ เฉพาะงานที่ต้องจัดการกับระเบิดลูกปราย(cluster munition)นั้น วิสาหกิจผู้รับเหมาะก่อสร้างต้องใช้เวลากว่า 2 ปีจึงจะเสร็จสิ้นลง
เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลโจ ไบเดน ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ยูเครนวงเงิน 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีระเบิดลูกปรายที่กฎหมายอเมริกันระบุว่าเป็นอาวุธทำลายล้างสูงรวมอยู่ด้วย ทำให้ชาวโลกอดที่จะหวนนึกถึงความทรงจำอันมืดมนที่กองทัพสหรัฐอเมริกาวางกับดักระเบิดสุดอันตรายประเภทนี้ไว้ในประเทศลาวสมัยสงครามสหรัฐฯ - เวียดนาม
หลังจากวิกฤตยูเครนปะทุขึ้น สหรัฐฯชักจูงประเทศโลกตะวันตกช่วยกันเติมเชื้อไฟ หนึ่งในนั้นก็คือนำเสนออาวุธยุทโธปกรณ์ประเภทต่างๆ ให้กับยูเครน แต่ทว่าเมื่อสหรัฐฯประกาศจะเสนอระเบิดลูกปรายให้แก่ยูเครนนั้น นายริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แสดงท่าทีอย่างเปิดเผยว่า อังกฤษเป็นประเทศผู้ลงนามใน“สนธิสัญญาห้ามใช้ระเบิดลูกปราย” จึงไม่ส่งเสริมให้ใช้อาวุธประเภทนี้ ทั้งสเปน แคนาดาและอีกหลายชาติก็คัดค้านสหรัฐฯในเรื่องดังกล่าว
ระหว่าง ค.ศ.1964 - ค.ศ.1973 อันเป็นช่วงสงครามเวียดนาม ทหารสหรัฐฯ เคยวางกับดักระเบิดลูกปรายจำนวนมหาศาลในภาคใต้ของเวียดนาม ลาว และภาคตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งลาวนับเป็นประเทศที่รับเคราะห์มากที่สุดจากอาวุธทำลายล้างสูงชนิดนี้
พิจารณาจากข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กองทัพสหรัฐฯก่อการโจมตีด้วยลูกระเบิดในประเทศลาวมากถึง 580,000 ครั้ง โดยใช้อาวุธที่มีปริมาณรวมกว่า 2 ล้านตัน ซึ่งรวมถึงระเบิดลูกปรายด้วย
ภายหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง คาดว่าในดินแดนลาวยังมีระเบิดลูกปรายที่ยังไม่ระเบิดอยู่ราว 80 ล้านลูก ซึ่งมีเพียงไม่ถึง 1% ถูกเก็บกู้แล้ว ขณะเดียวกันอาวุธสุดอันตรายประเภทนี้ยังผลให้ชาวบ้านประมาณ 2 หมื่นล้านคนเสียชีวิต และอีกมากมายบาดเจ็บพิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเน้นว่า อาจจะต้องใช้เวลาอีก 100 ปี จึงจะสามารถเก็บกู้ระเบิดที่หลงเหลือในประเทศลาวได้หมดอันที่จริง ใช่ว่าเฉพาะที่ประเทศลาว
ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯใช้ระเบิดลูกปรายจำนวนมหาศาลในการทำสงครามหลายครั้ง เช่น สงครามคอซอวอ สงครามอิรัก เป็นต้น ตามข้อมูลสถิติที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ตั้งแต่ระเบิดลูกปรายถูกประดิษฐ์ขึ้น อาวุธสุดอันตรายประเภทนี้ได้คร่าชีวิตของชาวบ้านไปแล้ว 56,000 - 86,000 คน
LFyimzhou