บทวิเคราะห์ : โครงการเชื่อมต่อแหล่งน้ำสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ชนบทจีน

2023-07-19 13:57:21 | CMG
Share with:

โครงการเชื่อมต่อแหล่งน้ำกับแหล่งน้ำหรือการผันน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทเป็นโครงการที่กระทรวงชลประทานและกระทรวงการคลังจีนเป็นผู้ริเริ่ม   เพื่อปรับปรุงระบบน้ำในชนบทให้ดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่นการตกตะกอน การลดน้อยลงของน้ำในชนบท พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำลดลง  มลพิษทางน้ำที่รุนแรงและการเสื่อมสภาพของระบบนิเวศทางน้ำได้ทำลายสิ่งมีชีวิตในน้ำ  อีกทั้งฟื้นฟูแม่น้ำและทะเลสาบ ตลอดจนปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชนบทให้ดีขึ้น

การชลประทานเป็นพื้นฐานในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ชนบท ปัจจุบัน โครงการผันน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทเป็นภารกิจสำคัญของการชลประทานในชนบทของจีน โดยถือหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบทเป็นที่ตั้ง  ขุดลอกห้วยหนองคลองบึงแม่น้ำทะเลสาบ    ปรับความลาดของตลิ่ง  เชื่อมต่อแม่น้ำลำคลองและทะเลสาบ  เก็บขยะในน้ำ  และสร้างทัศนียภาพริมน้ำ    เพื่อให้น้ำในแม่น้ำลำคลองใสสะอาด  ไหลคล่อง  พื้นที่ริมฝั่งเป็นสีเขียว  และให้หมู่บ้านริมน้ำสวยงามยิ่งขึ้น  อีกทั้งพัฒนาธุรกิจ การท่องเที่ยวทางน้ำ+การเกษตร  เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในชนบทขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จีนมีแม่น้ำลำคลองและทะเลสาบมากมาย    เฉพาะแม่น้ำที่มีลุ่มน้ำ 100 ตารางเมตรขึ้นไปก็มีกว่า 50,000 สาย  แม่น้ำเหล่านี้มีความยาวสะสมถึง 430,000 กิโลเมตร  แม่น้ำแยงซีเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของจีน  ยาว 6,397 กิโลเมตร  นอกจากนี้  จีนยังมีทะเลสาบจำนวนกว่า 24,800 แห่ง  ซึ่งรวมถึงทะเลสาบโป๋หยาง  ทะเลสาบต้งถิง  และทะเลสาบไท่หู  ซึ่งเป็นทะเลสาบที่มีชื่อเสียงของจีน

ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา  โครงการผันน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทได้นำร่องใน 55 อำเภอทั่วประเทศ  ทางการจีนได้ลงทุน 28,900 ล้านหยวน  ในการกํากับดูแลแม่น้ำกว่า 900 สาย  ทะเลสาบห้วยคลองหนองบึงจำนวนกว่า 1,200 แห่ง  เชื่อมต่อระบบน้ำคิดเป็นความยาวกว่า 400 กิโลเมตร  ปรับปรุงและก่อสร้างพื้นที่ริมฝั่งน้ำที่มีความยาวรวมกว่า  4,000 กิโลเมตร  มี 3,300 หมู่บ้านได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าว

อำเภอหยังซั่วและอำเภอซิงอัน เขตกว่างซีภาคใต้ของจีนเป็นอำเภอนำร่องรุ่นแรกในการดำเนินโครงการผันน้ำเพื่อความสวยงามของชนบท  ในรอบปี 2021 สองอำเภอนี้ได้บำบัดน้ำ 1.566 ล้านตัน  มีไร่นาพื้นที่กว่า 1,700 เฮกตาร์ ได้เสริมทักษะการป้องกันอุทกภัย มีประชากรกว่า 87,300 คนใน 47 หมู่บ้านได้ประโยชน์ 

อำเภอฉีเหอ  เมืองเต๋อโจว  มณฑลซานตง  ภาคตะวันออกของจีนทุ่มเทกำลังในการก่อสร้างเครือข่ายน้ำที่ทันสมัย  ไม่เพียงแต่ทำให้แม่น้ำ  ทะเลสาบ  และคลองในอำเภอนี้เชื่อมต่อกันได้  หากยังได้เสริมความสามารถในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยด้วย    นอกจากนี้  อำเภอนี้ยังให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรน้ำให้คุ้มค่า

ด้วยการดำเนินโครงการเชื่อมต่อระบบน้ำเพื่อความสวยงามของชนบท  อำเภอเล่ออัน  เมืองฝู่โจว  มณฑลเจียงซี ภาคกลางของจีนได้เสริมความปลอดภัยของการใช้น้ำ  และยกมาตรฐานการป้องกันน้ำท่วมจากเดิมที่ป้องกันอุทกภัยขนาดที่เกิดขึ้นในทุกปี  มาเป็นสามารถป้องกันอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นใน 10 ปี ซึ่งครอบคลุมประชากรจำนวน59,000 คน  และไร่นาเกือบ 5,000 เฮกตาร์  ปริมาณการผลิตธัญญาหารของท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.5 ล้านกิโลกรัม และปริมาณการผลิตกุ้งและปลาได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 150ตัน  คาดว่า  โครงการเชื่อมต่อระบบน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทช่วยให้อำเภอเล่ออันสามารถลดความเสียหายจากอุทกภัยและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่า 25 ล้านหยวนต่อปี

หมู่บ้านจูเฉียว  ตำบลติ่งหู  อำเภออันยี่  เมืองหนานชัง  มณฑลเจียงซี เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในคาบสมุทร  หลังจากดำเนินโครงการเชื่อมต่อระบบน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทเมื่อปี 2021 เป็นต้นมา ได้ลอกท้องร่องที่ล้อมรอบหมู่บ้านคิดเป็นความยาว 1.8 กม.  และรักษาความมั่นคงของชายฝั่งแม่น้ำลำคลอง  ในอดีต เวลาฝนตก หมู่บ้านแห่งนี้มักจะเกิดน้ำท่วม  แต่ช่วงฤดูร้อนปี 2022  แม้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง แต่หมู่บ้านแห่งนี้ปลอดภัยและไม่มีความเสียหายจากน้ำท่วม  เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางของชาวบ้าน  อำเภออันยี่ได้สร้างสะพานใหม่จำนวน 26 สะพาน  นอกจากนี้  อำเภออันยี่ยังได้สร้างชานชลาริมน้ำเพื่อชักน้ำเข้านาและที่ซักผ้าริมน้ำในหมู่บ้านต่าง ๆ ชาวบ้านพากันชื่นชมว่า ชานชลาริมน้ำและที่ซักผ้าเหล่านี้ได้อำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิต

นอกจากส่งเสริมการเชื่อมต่อกันของแหล่งน้ำในชนบทแล้ว  โครงการเชื่อมต่อแหล่งน้ำเพื่อความสวยงามของชนบทยังรณรงณ์ให้หมู่บ้านที่อยู่ริมน้ำต่าง ๆ สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์  พัฒนาการท่องเที่ยว  สร้างงานในพื้นที่  เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองในชนบท  


(IN/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)