บทวิเคราะห์ : ทันไหม? รับมือโลกร้อน

2023-08-09 13:36:46 | CMG
Share with:

ฤดูร้อนปีนี้  อุณหภูมิสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์  สภาพอากาศที่รุนแรงเช่นพายุฝน  น้ำท่วม  และภัยแล้ง  ทําให้คนทั่วไปรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และการรับมือกับภาวะโลกร้อนกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนและสําคัญมาก

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา  องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานว่า ซีกโลกเหนือส่วนใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วยความร้อนสูงในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนจัดนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิรายวันของจีนสร้างสถิติใหม่ และสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ในหลายพื้นที่ต้องมีการปรับปรุงบ่อยครั้ง

อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลก็ได้สร้างสถิติใหม่เช่นกัน  นอกชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกาเผชิญกับคลื่นความร้อนทางทะเลที่รุนแรง  บางประเทศริมชายฝั่นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรวมถึงแอลจีเรีย  กรีซ  อิตาลี  และสเปนเกิดไฟป่าที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน  นอกจากนี้  ยังเป็นเหตุให้ต้องอพยพหลายพันคนออกจากพื้นที่

บทความที่ให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บทหนึ่งจากสหประชาชาติระบุว่า คนโดยทั่วไปเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ  อุณหภูมิสูงขึ้น  แต่นี่เป็นการเริ่มต้นเท่านั้น  ผลที่ตามมาของโลกร้อนรวมถึงความแห้งแล้งที่รุนแรง  การขาดแคลนน้ำ  ไฟไหม้  การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล  น้ำท่วม  น้ำแข็งขั้วโลกละลาย  วาตภัย  และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง

เนื่องจากความรุนแรงของภัยร้อนในฤดูร้อนปีนี้ ทำให้หลายประเทศเผชิญปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า  และทรัพยากรน้ำ  ในเอเชีย ประชากรเกือบ 1,000 ล้านคนในอินเดีย  ปากีสถาน  เมียนมา ศรีลังกา เป็นต้น  ตกอยู่ในความเดือดร้อนเนื่องจากไฟฟ้าดับเป็นครั้งคราว

บริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ทั่วโลกต่างจัดให้โลกร้อนเป็นความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญต่อการดำเนินงาน  ตัวอย่างเช่น  บริษัทวอลมาร์ทยักษ์ใหญ่ค้าปลีกอันดับต้นๆของโลกระบุว่า โรงงานขนาดใหญ่ของบริษัทมีความเสี่ยงต่อต้นทุนการทําความเย็นที่เพิ่มขึ้น ส่วนดิสนีย์ กลุ่มบริษัทสื่อมวลชนและความบันเทิงที่มีชื่อเสียงของโลกระบุว่า โลกร้อนอาจจะส่งผลต่อยอดขายผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวของบริษัท

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ วิเคราะห์ว่า  โลกร้อนเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่จับต้องได้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกด้าน  ประการแรก โลกร้อนจะทำลายพืชผล  และสร้างความเสียหายให้กับผู้ค้าปลีกที่พึ่งพาพืชผลในห่วงโซ่อุปทาน โลกร้อนจะเปลี่ยนความต้องการในการเดินทางของผู้บริโภคได้ นอกจากนี้  อุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ก็ต้องหยุดทํางาน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทบวงการชำนัญพิเศษ สหประชาชาติคาดการณ์ว่า  ถึงปี 2030  ทั่วโลกจะสูญเสียเวลาทำงานคิดเป็นกว่า 2% ของเวลาทำงานทั้งหมดต่อปี  เพราะโลกร้อนเป็นเหตุให้แรงงานทำงานไม่ได้  หรือแรงงานต้องชะลอความเร็วในการทำงาน

โลกร้อนจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง  ศูนย์วิจัยปัญหาระหว่างประเทศชาธัมของอังกฤษระบุว่า  ปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อนจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง  ตลอดจนจะสั่นสะเทือนเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่  เมื่อเร็ว ๆ นี้  นิตยสารไซแอนซ์ (Science)ของสหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์เรื่องหนึ่ง  โดยระบุว่า  ปรากฏการณ์เอลนิโญปีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะทำความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเศรษฐกิจโลก

โลกร้อนเป็นอันตรายถึงชีวิต  ข้อมูลจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก  หรือ WMO ระบุว่า  ในช่วงเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา  ประชากรเอเชียจำนวน 980,000 คนเสียชีวิตจากสภาพอากาศสุดขั้ว  รายงานจากนิตยสารรายเดือนเนเจอร์ เมดดิซีน (Nature Medicine )ของอังกฤษระบุว่า  สภาพอากาศที่ร้อนจัดทําให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก  ในช่วงฤดูร้อนปี 2022  ยุโรปมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิสูงถึง61,000 คน  หากไม่ใช้มาตรการอย่างเร่งด่วน คาดว่าถึงปี 2030 ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี ยุโรปจะมีผู้เสียชีวิตจากอุณหภูมิสูงโดยตรงหรือโดยอ้อมคิดเป็นจำนวนกว่า 68,000 คน

เมื่อเผชิญกับภาวะโลกร้อน  ประเทศต่าง ๆ ควรใช้มาตรการเพื่อคุ้มครองกลุ่มชนที่อ่อนแอและเปราะบาง  อีกทั้งประกันความต่อเนื่องในการบริหารสาธารณะและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  เมื่อเร็ว ๆ นี้  รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศใช้แผนบริหารคลื่นความร้อนแห่งชาติ  โดยเรียกร้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ ประกันความปลอดภัยของแรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง  ประกันการเรียนการสอนในโรงเรียน  และประกันการแข่งขันกีฬาในช่วงที่อุณหภูมิสูง

เนื่องจากภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อโลกในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  ประเทศต่าง ๆ ควรส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข  การผลิตด้านการเกษตร  และการอนุรักษ์ระบบนิเวศ  และเสริมทักษะการปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ส่วนมหาชนควรใช้วิถีชีวิตแบบสีเขียว  คาร์บอนต่ำ  หมุนเวียน  และยั่งยืน  อีกทั้งประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ


(IN/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)