บทวิเคราะห์ : ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังก่อความวุ่นวายเหตุการณ์แนวหินโสโครกเหรินอ้าย

2023-08-10 13:48:03 | CMG
Share with:

ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จีนกับฟิลิปปินส์มีการหารือเจรจาหลายครั้งเกี่ยวกับปัญหาแนวหินโสโครกเหรินอ้าย(Second Thomas Shoal) โดยจีนเรียกร้องฝ่ายฟิลิปปินส์ว่าอย่าขนส่งวัสดุก่อสร้างไปให้กับเรือรบที่จอดค้างอยู่ในบริเวณแนวหินโสโครกเหรินอ้ายอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย และเสนอให้ทั้งสองฝ่ายหารือมาตรการควบคุมสถานการณ์แนวหินโสโครกเหรินอ้ายโดยเร็ว แต่ฟิลิปปินส์มองข้ามข้อเสนอของจีนดังกล่าว มุ่งมั่นส่งวัสดุก่อสร้างไปให้กับเรือรบที่จอดเทียบอยู่ ขณะเดียวกัน สหรัฐฯให้การสนับสนุนและยุยงการกระทำของฟิลิปปินส์ กระทั่งจัดส่งเครื่องบินรบและเรือรบไปร่วมมือด้วย ทั้งได้เอา “สนธิสัญญาว่าด้วยการป้องกันร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์”มาขู่จีน 

ระยะทางตรงที่สั้นที่สุดจากฟิลิปปินส์ถึงเขตไต้หวันของจีนมีเพียงประมาณ 200 กิโลเมตร สำหรับปัญหาอธิปไตยของหมู่เกาะหนานซา จีนกับฟิลิปปินส์ก็มีข้อขัดแย้งบ้าง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ฟิลิปปินส์มีมูลค่าทางยุทธศาสตร์ที่พิเศษในสายตาของสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์แพร่ข่าวที่ว่าวาระครบรอบ 7 ปี “อนุญาโตตุลาการในทะเลจีนใต้” สหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้ริเริ่มคดีนี้ก็แสดงท่าทีสนับสนุนทันที เห็นได้ง่ายว่า สหรัฐฯกำลังถือโอกาสการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองของฟิลิปปินส์ ส่งเสริมให้ฟิลิปปินส์อาศัยสหรัฐฯอีกครั้ง มุ่งหวังที่จะดันให้ฟิลิปปินส์เกิดความขัดแย้งกับจีนอีกครั้งเพื่อได้รับผลประโยชน์จากการนี้  

และเบื้องหลังที่ใหญ่ยิ่งกว่าคือ สหรัฐฯถือปัญหาทะเลจีนใต้เป็นป้ายใช้ยับยั้งจีน เหตุการณ์ที่ทะเลจีนใต้ อันที่จริงไม่เกี่ยวกับสหรัฐฯสักนิด แต่หลายปีมานี้วอชิงตันเผยแพร่คำโกหกที่ว่า “การเดินเรือที่เสรีในทะเลจีนใต้ถูกคุกคาม” เพื่อก่อความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค และพยายามก่อให้เกิดการปะทะในภูมิภาคเพื่อมีข้ออ้างเข้ามาแทรกแซง  เหตุการณ์แนวหินโสโครกเหรินอ้ายครั้งนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่า สหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้ทะเลจีนใต้คืนสู่ความสงบ “มือดำ” ของสหรัฐฯ กำลังคอยโอกาสที่จะกวนน้ำที่ใสสะอาด

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)