บทวิเคราะห์ : “โรงงานประภาคาร” ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและยกระดับการผลิตของจีน

2023-09-06 12:02:43 | CMG
Share with:

โครงการ“โรงงานประภาคาร” (Lighthouse Factory) เป็นโครงการที่ริเริ่มจัดขึ้นโดยฟอรั่มเศรษฐกิจโลกดาวอส(World Economic Forum)หรือWEF  และบริษัทแมคคินซีย์แอนด์ คอมปะนี (McKinsey & Company) บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ของโลก เพื่อยกย่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพิ่มกำลังผลิต เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน  ด้วยเหตุนี้  “โรงงานประภาคาร” ถือเป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุดของโลก  และเป็นตัวแทนอุตสาหกรรมการผลิตที่ทุ่มเทกำลังมุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลและอัจฉริยะ  ปัจจุบัน  “โรงงานประภาคาร”ได้แสดงบทบาทสำคัญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์บริโภค  รถยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า  ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าอุปกรณ์ทางการแพทย์  การผลิตยา  เป็นต้น

ตั้งแต่มีการคัดเลือก “โรงงานประภาคาร” เมื่อปี 2018 เป็นต้นมา  จนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกมี “โรงงานประภาคาร” ทั้งหมด 132 โรงงาน ในจำนวนนี้ มี 50 โรงงานตั้งอยู่ในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มี “โรงงานประภาคาร” มากที่สุดในโลกปัจจุบัน  “โรงงานประภาคาร” เหล่านี้พิสูจน์ว่าผู้ผลิตนอกจากจะบรรลุเป้าหมายทางพาณิชย์แล้ว ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่  และภาวะแวดล้อมด้วย 

ไห่เอ่อร์ (Haier) เป็นวิสาหกิจจีนที่ครอง “โรงงานประภาคาร” มากที่สุดในจีนถึง 6 โรงงาน  ซึ่งครอบคลุมการผลิตตู้เย็น  เครื่องซักผ้า  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องทําน้ำอุ่น  และระบบควบคุมอัจฉริยะ

โรงงานเชื่อมต่อของไห่เอ่อร์ที่ผลิตเครื่องซักผ้าที่นครเทียนจินได้บรรลุความเป็นอัจฉริยะและการเชื่อมต่อของกระบวนการผลิตทั้งกระบวนตั้งแต่การวางแผนการผลิต  การผลิต  ไปจนถึงการนำผลิตภัณฑ์ออกจากโรงงาน  โดยสามารถผลิตเครื่องซักผ้า 3 ล้านเครื่องต่อปี  โรงงานแห่งนี้ใช้เวลาเพียง 38 นาทีในการแปรรูปแผ่นดีบุกให้เป็นเครื่องซักผ้าอัจฉริยะ  เป็นที่น่าสังเกตว่า  เมื่อต้นปีนี้  โรงงานแห่งนี้ถูกจัดให้เป็น “โรงงานประภาคารยั่งยืน”  ซึ่งเป็นโรงงานประภาคารแห่งแรกของจีนที่ได้เกียรติบัตรนี้  “โรงงานประภาคารยั่งยืน”คัดเลือกมาจาก “โรงงานประภาคาร”  ถือเป็นประภาคารของบรรดาโรงงานประภาคาร 

ต่อการนี้  ฟอรั่มเศรษฐกิจโลกระบุว่า  ในบริบทที่ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น  เพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นในการดําเนินงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน  ไห่เอ่อร์ใช้บิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างแบบจําลองโหลดพลังงานของอุปกรณ์  ใช้ตัวกําหนดตารางเวลาการผลิตที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน  โดยลดการใช้พลังงานลง 35% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 36%

จากการวิจัยของบริษัทแมคคินซีย์แอนด์คอมปะนีเกี่ยวกับ "โรงงานประภาคาร" ของจีนพบว่า  วิสาหกิจจีนให้ความสําคัญกับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่คุณค่าทางดิจิทัลแบบครบวงจรจากมิติของผู้ใช้บริการ  ผลิตภัณฑ์  และผลประโยชน์

เนื่องจาก “โรงงานประภาคาร” สอดคล้องกับเงื่อนไขที่จำเป็น 3 ข้อได้แก่ มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ศักยภาพของพนักงาน และระดับการบริหาร จีนจึงตั้งเป้าให้"โรงงานประภาคาร" เป็นตัวอย่างอุตสาหกรรมการผลิตของจีนที่มุ่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและอัจฉริยะ


(In/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)