บทวิเคราะห์ : เหตุใด “แผนสองประเทศ” แทนที่ไม่ได้ในการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์?

2023-10-15 17:42:09 | CMG
Share with:

การปะทะกันระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลได้ต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้ว สองฝ่ายมีผู้เสียชีวิตโดยรวมมากกว่า 3500 คน

การปะทะกันระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลรอบนี้นั้น พิสูจน์ว่า “แผนการหนึ่งประเทศ” เป็นไปไม่ได้ มีแต่ทำให้การปะทะกันระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเท่านั้น การปฏิบัติตาม “แผนการสองประเทศ” นั้น จึงจะเป็นทางออกที่แท้จริงของการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ ด้วยเหตุนี้ สหประชาชาติ ประเทศอาหรับ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรปทยอยกันเรียกร้องให้สองฝ่ายหยุดยิงโดยเร็ว กลับมาสู่การเจรจาในกรอบ “แผนการสองประเทศ” เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ประชาคมโลกมีความเห็นชอบทั่วไปต่อ “แผนการสองประเทศ” นั้นคือ ก่อตั้งประเทศปาเลสไตน์ที่เป็นเอกราช โดยถือชายแดนของปี 1967 เป็นพื้นฐาน เยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวง และมีอธิปไตยเหนือดินแดนที่สมบูรณ์ เงื่อนไขสำคัญของการบรรลุแผนการเช่นนี้นั้น คือปาเลสไตน์และอิสราเองสองฝ่ายยืนหยัดหลักการ “แลกสันติภาพด้วยดินแดน” แลกสันติภาพที่ถาวรและยุติธรรมด้วยการเสียสละกรรมสิทธิ์ของดินแดนบางส่วน

เมื่อปี 1993 ปาเลสไตน์และอิสราเอลลงนามใน “ข้อตกลงออสโล” เริ่มกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลางที่ “แลกสันติภาพด้วยดินแดน” สองฝ่ายยอมรับ “แผนการสองประเทศ” เป็นหลักการสำคัญของการบรรลุสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล แต่ในแง่มุมปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมนั้น สองฝ่ายมีความขัดแย้งกันในปัญหาต่างๆอย่างรุนแรง เช่น ฐานะของเยรูซาเลม การกำหนดชายแดนของเขตฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน การกลับบ้านของผู้ลี้ภัย เป็นต้น หลังปี 2000 กระบวนการสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลค่อย ๆ ชะลอลง จนเมื่อปี 2014 การเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลล้มเหลวลง และไม่เคยจัดการเจรจารอบใหม่


Zhou/Dan/Yim

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)