บทวิเคราะห์ : อุบัติเหตุครั้งนี้เปิดเผยความจริงของคำโกหก 2 ประการเกี่ยวกับน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีของญี่ปุ่น

2023-11-03 10:28:12 | CMG
Share with:

แม้จะมีการต่อต้านอย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ บริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ของญี่ปุ่น เริ่มการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะครั้งที่ 3 ลงสู่ทะเลในวันที่ 2 พฤศจิกายน คาดว่าจะปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนจนถึงวันที่ 20 เดือนนี้ โดยมีปริมาณการปล่อยประมาณ 7,800 ตัน TEPCO อ้างว่าน้ำปนเปื้อนที่ปล่อยออกมา "ความเข้มข้นของสารกัมมันตภาพรังสีไอโซโทปเหมาะสมตามคาด" อย่างไรก็ตาม หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุว่ามีพนักงานสัมผัสน้ำเสียในบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ และมีพนักงานสองคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน นี่เป็นการพิสูจน์ว่าคำกล่าวอ้างของญี่ปุ่นที่ว่า น้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีนั้น "ปลอดภัย"ไม่สามารถเชื่อถือได้ และไม่ควรมองข้ามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อ 12 ปีที่แล้ว TEPCO ก็มีเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุต่าง ๆ มากมาย และมีรายงานที่ล่าช้าและปกปิดอยู่ ในเดือนมิถุนายนปีนี้ มีการตรวจพบสารกัมมันตรังสีที่มีฤทธิ์สูงกว่าปกติในเขื่อนของถังเก็บน้ำปนเปื้อนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ  อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าฯต้องใช้เวลาพอสมควรในการประกาศว่า ท่อส่งน้ำที่ปนเปื้อนมีรอยแตก ทำให้น้ำเสียรั่วไหลออกมา ส่วนอุบัติเหตุสัมผัสน้ำเสียครั้งล่าสุดนี้ เป็นเพียงการเพิ่มบทใหม่ในประวัติศาสตร์ TEPCO เป็นการเปิดเผยคำโกหก 2 ประการที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้นมา  หนึ่งคือ น้ำปนเปื้อนผ่านการบำบัดทางเทคโนโลยีนั้น "ปลอดภัย"  สองคือกระบวนการกำจัดน้ำปนเปื้อนนั้น "ปลอดภัย" และ "เชื่อถือได้"

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำปนเปื้อนเป็นเวลากว่าสองเดือนแล้ว อุบัติเหตุครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดระบบการติดตามระหว่างประเทศในระยะยาวและมีประสิทธิภาพ หากญี่ปุ่นมั่นใจใน "ความปลอดภัย" จริงๆ ก็ควรกำจัดน้ำที่ปนเปื้อนแบบมีความรับผิดชอบ และสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการติดตามผลระยะยาวโดยมีส่วนร่วมของฝ่ายได้รับผลกระทบทั้งหมด รวมถึงการเฝ้าติดตามของฝ่ายที่ 3 ที่ดำเนินการโดยอิสระจากต่างประเทศ  มหาสมุทรเป็นบ้านร่วมกันของทั่วทั้งมนุษยชาติ และทั่วโลกไม่ควรจ่ายแทนให้กับความเห็นแก่ตัวของญี่ปุ่น


Yim/Lei/Zi

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)