จีนชี้ใช้ภูมิปัญญาทางประวัติศาสตร์ เขียนบทใหม่ความร่วมมือเอเชียแปซิฟิก

2023-11-20 14:05:12 | CMG
Share with:

วันที่ 16 พ.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ปธน.สี จิ้นผิง ของจีนกล่าวสุนทรพจน์เป็นลายลักษณ์อักษรในการประชุมสุดยอดซีอีโอเอเปค   ที่นครซานฟรานซิสโก โดยได้ทบทวนกระบวนการอันน่าทึ่งของความร่วมมือเอเชียแปซิฟิก และสรุปประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนตอบคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิกจะมุ่งหน้าไปยังทิศทางใดในอีก 30 ปีข้างหน้า

ในสุนทรพจน์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอันแน่วแน่ของจีนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูง ตลอดจนนำแรงผลักดันและโอกาสใหม่ๆ มาสู่โลกด้วยการพัฒนาใหม่ของจีน เป็นการชี้นำแนวทางและอัดฉีดแรงผลักดันให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อร่วมกันรับมือกับความท้าทายแห่งยุคสมัยและเขียนบทใหม่แห่งความร่วมมือ

ปัจจุบันโลกเข้าสู่อีกช่วงเวลาหนึ่งที่มีความวุ่นวายและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  แรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกไม่เพียงพอ  ปัจจัยที่ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน และคาดการณ์ได้ยากเพิ่มมากขึ้น

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องใช้ภูมิปัญญาทางประวัติศาสตร์ ยึดมั่นในปณิธานที่มีมาแต่อดีต ใช้โอกาสที่มีอยู่ และก้าวหน้าตามกระแสแห่งยุคสมัย 

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและกระแสความก้าวหน้าแห่งยุคสมัย และได้สรุปประสบการณ์เชิงลึกจากกระบวนการอันน่าทึ่งของความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก   โดยเน้นย้ำว่า การเปิดกว้างและการครอบคลุมเป็นจุดเด่นของความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก การพัฒนาร่วมกันเป็นเป้าหมายหลักแห่งความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก และการแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่างเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการดำเนินความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก

การพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะประสบความสำเร็จได้นั้นไม่ได้เกิดจากการกระตุ้นให้เกิดการเป็นปรปักษ์และการเผชิญหน้ากัน ไม่ได้เกิดจากการดำเนินนโยบายผลักภัยพิบัติให้เพื่อนบ้านแบกรับ หรือเกิดจากการใช้นโยบายกีดกันทางการค้า แต่เกิดจากการเปิดกว้าง การมีส่วนร่วม การศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการได้ประโยชน์ร่วมกัน

การพัฒนาเป็นเป้าหมายหลักของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตลอดไป   เนื่องจากภูมิภาคนี้ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนา กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสริมสร้างความสามารถของสมาชิกเอเปกที่กำลังพัฒนา เพื่อให้บรรลุการพัฒนาตนเอง    

ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา รายได้เฉลี่ยต่อหัวในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นกว่าสี่เท่า ประชากร 1,000 ล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน นี่เป็นคุณูปการสำคัญต่อความก้าวหน้าของมนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก

เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกัน   การขับเคลื่อนความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิกจึงต้องยึดหลักแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง   เพื่อให้ความหลากหลายของสมาชิกเอเปกกลายเป็นแรงผลักดันความร่วมมือ   เอื้อประโยชน์แก่กัน  และก้าวหน้าไปพร้อมกัน


(bo/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)