บทวิเคราะห์ : 10 ปีเขตนําร่องการค้าเสรีของจีน

2023-11-27 17:03:54 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้  การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด (UNCTAD) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง “บทบาทของเขตนําร่องการค้าเสรีของจีนในการส่งเสริมนวัตกรรม  การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม  และความร่วมมือใต้ - ใต้” โดยได้พูดถึงความสําเร็จของเขตนําร่องการค้าเสรีของจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ยืนยันความสําเร็จของจีนในการปฏิรูปและการขยายการเปิดประเทศ  และเชื่อว่านี่เป็นความคิดริเริ่มที่เป็นเอกลักษณ์ของจีน  และเป็นแบบอย่างที่เป็นประโยชน์สําหรับประเทศกําลังพัฒนา นี่เป็นครั้งแรกที่องค์กรระหว่างประเทศได้ออกรายงานการวิจัยพิเศษเกี่ยวกับเขตนำร่องการค้าเสรีของจีน  ซึ่งบ่งชี้ว่าการก่อสร้างเขตนำร่องการค้าเสรีของจีนกําลังได้รับความสนใจจากนานาชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ

เขตนําร่องการค้าเสรีของจีน (Free Trade Zone,FTZ) แตกต่างจากเขตการค้าเสรี (FTA) เป็นพื้นที่เฉพาะที่สำนักงานศุลกากรจีนกําหนดไว้ภายในประเทศจีนเพื่อให้สินค้าจากต่างประเทศได้รับการยกเว้นภาษี  และสามารถเข้าออกได้อย่างเสรี  ถือเป็นข้อตกลงทางการค้าและการลงทุนพิเศษของจีนที่มีสิทธิพิเศษมากกว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องขององค์การการค้าโลก

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 จีนได้ตั้งเขตนำร่องการค้าเสรีแห่งแรก คือ เขตนำร่องการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้  เขตนำร่องการค้าเสรีแห่งนี้มีพื้นที่มากกว่า 120 ตารางกิโลเมตร  โดยครอบคลุมเขตการค้าเสรีประกันลดหย่อนภาษี  เขตงานแสดงสินค้าโลก  เขตการเงินลู่เจียจุ่ย เขตบุกเบิกพัฒนาจินเฉียว และเขตไฮเทคจางเจียง

ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เขตนำร่องการค้าเสรีของจีนปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศในแง่ของการค้า  การลงทุน การเงิน  การขนส่ง  และบุคลากร  และได้พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศจีน จำนวนหนึ่งที่มีความสามารถการแข่งขันในระดับสากล ตัวอย่างเช่น เขตนำร่องการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ได้สร้างระบบอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ 6 สาขาเป็นแกนหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตชิป  อุตสาหกรรมการผลิตยาเชิงนวัตกรรม อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ  อุตสาหกรรมการผลิตการบิน  อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต  และอุตสาหกรรมการผลิตข้อมูลสารสนเทศ  

ด้านเขตนำร่องการค้าเสรีนครเทียนจินเริ่มต้นการพัฒนาจากการซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ประกันลดหย่อนภาษี แล้วค่อยๆขยายไปยังการซ่อมบำรุงเรือ เครื่องจักร แพลตฟอร์มการทำงานบนทะเล อุปกรณ์สื่อสาร ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ตรวจสอบความปลอดภัยและสาขาอื่น ๆ จากสถิติพบว่า ปี 2022 เขตนำร่องการค้าเสรีนครเทียนจิน มียอดมูลค่าการซ่อมบำรุงมากกว่า 230 ล้านหยวน

เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลเจ้อเจียงเป็นที่ตั้งของบรรดาผู้ประกอบการน้ำมันและก๊าซ โดยมีขนาดการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประกันการลดหย่อนภาษีอยู่อันดับ 5 ของโลก

เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลหูเป่ยมุ่งมั่นพัฒนาศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี  และฐานการผลิตด้านการสื่อสารด้วยแสง

เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลเจียงซูเป็นที่ตั้งของบรรดาผู้ประกอบการด้านชีวเภสัชภัณฑ์ประเภทต่างๆโดยมีมูลค่าผลผลิตต่อปีถึง 400,000 ล้านหยวน

เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลเหลียวหนิงได้เปิดตัวโมเดลดิจิทัลใหม่ในการกำกับดูแลกระบวนการทั้งหมดของการนำเข้าส่งออกรถยนต์  โดยพัฒนาเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลที่เชื่อมโยงสำนักงานศุลกากร  บริษัทผู้ผลิต  และบริษัททดสอบ  เพื่อเพิ่มความเร็วของพิธีการศุลกากรรถยนต์ จากสถิติพบว่า  ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ ท่าเรือต้าเหลียนที่สังกัดเขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลเหลียวหนิงได้นําเข้าและส่งออกรถยนต์มากกว่า 61,000 คัน

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา  มีการตั้งเขตนำร่องการค้าเสรีซินเจียงขึ้นอย่างเป็นทางการ กลายเป็นเขตนำร่องการค้าเสรีลำดับที่ 22 ของจีน และเป็นเขตนำร่องการค้าเสรีแห่งแรกที่จีนตั้งขึ้นในพื้นที่ชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ เขตนำร่องการค้าเสรีแห่งนี้จะใช้ความเหนือกว่าทางภูมิศาสตร์ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์อย่างเต็มที่  เขตซินเจียงมีพรมแดนติดกับ 8 ประเทศ  และสามารถเชื่อมต่อยุโรปและเอเชียผ่านเส้นทางสายไหม  ด้วยเหตุนี้ เขตซิตเจียงจึงมุ่งมั่นใช้เขตนำร่องการค้าเสรีในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีลักษณะเฉพาะ และให้บริการต่อข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางด้วย

ในช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา  จีนได้ตั้งเขตนำร่องการค้าเสรีทั้งหมด 22 แห่ง เขตนำร่องการค้าเหล่านี้ได้ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจจีนเติบโต เป็นผู้นําและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน  ส่งเสริมเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขันของห่วงโซ่อุปทานของจีน  และกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของจีนการเปิดประเทศในระดับสูงอีกด้วย


(IN/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)