“หลังการพิจารณาอย่างละเอียด เราตัดสินใจยกเลิกโครงการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในรัฐโอคลาโฮมาของสหรัฐฯ ” เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทพานาโซนิคของญี่ปุ่น ที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ให้กับบริษัทเทสลา (Tesla) ได้ประกาศข่าวนี้ ตั้งแต่ปีนี้บริษัทชื่อดังระดับโลกจำนวนหนึ่งพากันยกเลิกหรือเลื่อนเวลาการสร้างโรงงานในสหรัฐฯ
สำหรับนักธุรกิจการลงทุนสร้างโรงงานในท้องที่แห่งหนึ่ง ต้องคำนึงถึงประสิทธิผลต้นทุน ตลาดท้องถิ่นและบรรยากาศการประกอบกิจการ ทั้งจะต้องคำนึงถึงความพร้อมด้านอุตสาหกรรมการผลิตและปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ ของท้องถิ่น แล้วจึงจะมีการตัดสินนโยบายหลังการพิจารณารอบด้าน
ตามคำอธิบายของพานาโซนิค ปัจจุบันต้นทุนการสร้างโรงงานในรัฐแคนซัสสูงกว่าที่คาด ดังนั้นยากที่จะสร้างโรงงานอีกแห่งหนึ่งที่โอคลาโฮมา นายโตชิฮิโระ มิเบ (Toshihiro Mibe) ซีอีโอของบริษัทฮอนด้ากล่าวอย่างเปิดเผยว่าต้นทุนเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ยกเลิกการสร้างโรงงานในสหรัฐฯ
นักธุรกิจมักจะหวังตลาดบริโภคที่แข็งแกร่งเพื่อได้รับกำไรสูง แต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา พานาโซนิคประกาศว่าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ในอเมริกาเหนือชะลอตัวลง ทางบริษัทจึงลดการคาดการณ์ด้านผลกำไรของภาคพลังงานที่ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ให้ต่ำลง 15% ในปีงบประมาณนี้
ทางการสหรัฐฯ มักจะเอาเรื่องทางเศรษฐกิจให้กลายเป็นปัญหาทางการเมือง โดยจะเพิ่มข้อกำหนดแบบ "รั้วกั้นไว้" ในนโยบายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นใจและความกระตือรือร้นของนักธุรกิจ อย่างเช่น “กฎหมายว่าด้วยชิปและวิทยาศาสตร์” (Chips and Science Act) มีข้อกำหนดว่าบริษัทที่เกี่ยวข้องเมื่อไปสร้างโรงงานในสหรัฐฯ จะต้องทำตามข้อกำหนดที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับประเทศใดประเทศหนึ่งตามที่สหรัฐฯ ระบุไว้ ส่วนกฎหมายว่าด้วยการลดสภาพเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) มีข้อกำหนดว่าตั้งแต่ปี 2024 รถยนต์พลังไฟฟ้าที่ผลิตในสหรัฐฯ นั้น ไม่สามารถมีชุดแบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบในประเทศจีน นี่เป็นการสร้างอุปสรรคที่ลำบากสำหรับบริษัทผลิตรถยนต์พลังไฟฟ้าในสหรัฐฯ