△ภาพถ่ายจากพื้นที่ด้านไกลของดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
โดยยานสำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์
วันที่ 3 มกราคม ปี 2019 ยานสำรวจดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ (Chang'e) 4” ของจีนร่อนลงบนพื้นที่ด้านไกลของดวงจันทร์ด้วยความสำเร็จ และส่งภาพถ่ายพื้นที่ด้านไกลจากโลกของดวงจันทร์ใบแรกกลับสู่ภาคพื้นดิน ผ่านดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม “เชวี่ยเฉียว (Magpie bridge)”
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ ที่ยานสำรวจลงจอดแบบซอฟต์แลนดิ้งที่ด้านไกลของดวงจันทร์ และเริ่มปฏิบัติการลาดตระเวนสำรวจ นับเป็นร่องรอยแรกบนพื้นที่ด้านไกลของดวงจันทร์โดยยานสำรวจจีน ซึ่งจนถึงขณะนี้ครบรอบ 5 ปีแล้ว
△ภาพถ่ายยานลาดตระเวน “อี้ว์ทู่ -กระต่ายหยก 2” (Yutu Ⅱ)
ที่ได้จากกล้องยานแลนดิ้งของ “ฉางเอ๋อ-4”
△ภาพถ่ายยานแลนดิ้งของ “ฉางเอ๋อ 4”
จากกล้องพาโนรามาของยานลาดตระเวน “อี้ว์ทู่-กระต่ายหยก 2 (YutuⅡ) ”
ตลอดช่วง 5 ปีมานี้ การสำรวจดวงจันทร์ของจีนไม่ได้หยุดรั้งฝีเท้า
เมื่อ 3 ปีก่อน “ฉางเอ๋อ 5” นำตัวอย่างดินดวงจันทร์กลับสู่โลกด้วยความสำเร็จ ทำให้โครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนบรรลุเป้าหมาย 3 ขั้นตอน ตั้งแต่ “การโคจรรอบดวงจันทร์ การร่อนลงบนดวงจันทร์ และการนำตัวอย่างดินดวงจันทร์กลับสู่โลก”
△ ตัวอย่างดินดวงจันทร์ที่ “ฉางเอ๋อ 5” นำกลับ
เดือนกันยายน ปี 2023 สำนักงานการบินอวกาศแห่งชาติจีนระบุว่า มีแผนจะปล่อย “ฉางเอ๋อ 6” ในช่วงก่อนหลังปี 2024
ดร.อู๋ เหว่ยเหริน หัวหน้าผู้ออกแบบโครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนระบุว่า “ฉางเอ๋อ 6” จะจัดเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ด้านไกลของดวงจันทร์มากขึ้น จะพยายามเก็บ 2,000 กรัมให้ได้
จนถึงขณะนี้ ตัวอย่างดินดวงจันทร์ที่มนุษย์นำกลับสู่โลกล้วนมาจากพื้นที่ด้านหน้าของดวงจันทร์ ดังนั้น หาก “ฉางเอ๋อ 6” ปฏิบัติการได้สำเร็จ ก็จะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ของมนุษย์
จักรวาลกว้างใหญ่ไพศาลรอคอยให้พวกเราไปสำรวจหยั่งรู้ ดวงดาวและท้องฟ้ากว้างไกล การบินอวกาศจีนจะสร้างผลงานมากขึ้น
(YIM/LING/SUN)