กุ้ยโจวขุดพบชั้นดินใหม่ ย้อนประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เมื่อกว่า 5 หมื่นปีก่อน

2024-01-17 18:33:04 | CMG
Share with:


เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยโบราณคดีมณฑลกุ้ยโจว สถาบันวิจัยสัตว์กระดูกสันหลังโบราณและมนุษย์ดึกดำบรรพ์แห่งสภาวิทยาศาสตร์จีนประกาศผลงานวิจัยโบราณคดีล่าสุดโดยระบุว่าผลการค้นขุดและสำรวจประวัติล่าสุดแสดงว่า กองโบราณคดีชวนต้ง อำเภอผู่ติ้ง พบชั้นดินใหม่ใต้พื้นดินที่ขุดครั้งก่อน โดยข้ามระยะเวลาตั้งแต่ตอนปลายของระยะกลางของสมัยยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ จึงย้อนประวิติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ไปถึง 55000 ปีก่อน

ผลงานการวิจัยนั้นไม่เพียงแต่เป็นส่วนเพิ่มเติมต่อประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์ในมณฑลกุ้ยโจวได้เท่านั้น หากยังมีความหมายสำคัญในการเข้าใจ "มนุษย์ชวนต้ง" ที่ดำรงชีวิตเมื่อ 55000 ปีก่อน วิจัยสภาพและสถานการณ์ทางวัฒนธรรมในตอนกลางและตอนปลายของยุคหินเก่าบนที่ราบสูงกุ้ยโจว ค้นหาต้นกำเนิดของมนุษย์ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์สำหรับการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะสมกับบรรยากาศในระยะเริ่มแรกของมนุษย์ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้น

ในพื้นที่ขุดค้นประมาณ 40 ตารางเมตร ที่ดินที่มีอารยธรรมมีความหนาเกิน 6 เมตร ได้ขุดพบวัตถุที่ทำจากหินจำนวนกว่า 10,000 ชิ้น วัตถุที่ทำจากกระดูกสัตว์และเขาสัตว์จำนวนกว่า 2,500 ชิ้น กระดูกสัตว์กว่า 100,000 ชิ้น เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยยุคหินเก่าที่พบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดูกทั้งจำนวนและประเภทมากที่สุดในจีนตลอดจนเอเชียตะวันออกในปัจจุบัน สามารถตอบสนองข้อมูลทางโบราณคดีที่เป็นระบบและสมบูรณ์แบบเป็นพิเศษต่อการค้าหาต้นกำเนิดของกระดูก กรรมวิธีและแผนที่การกระจายของจีนในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนการวิจัยทางการเปรียบเทียบข้อมูลทางโบราณคดีที่มีประเภทเดียวกันระหว่างเอเชียอาคเนย์ ยุโรปตลอดจนแอฟริกา

นอกจากนั้นยังได้พบที่ฝังในตอนปลายของยุคหินเก่าและตอนต้นของยุคหินใหม่ 3 แห่ง ซึ่งพบกระดู 2 ชิ้น เบ็ดตกปลา 1 ชิ้น ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญของการวิจัยลักษณะร่างกายของมนุษย์และขนบธรรมเนียมประเพณีการฝังก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนการฝังครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 12,000 ปี ก่อนนั้น ก็เป็นเบาะแสสำคัญของการวิจัยการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการฝังในภาคใต้ของจีนด้วย

"ชวนต้ง" ห่างจากเมืองอำเภอผู่ติ้งของมณฑลกุ้ยโจวประมาณ 5 กิโลเมตร พบเมื่อปี 1978 และดำเนินการค้นขุดสองครั้งตั้งแต่เมื่อปี 1979-1982 ภายใต้การดูแลของนายจาง เซินสุ่ย นักโบราณคดียุคหินเก่าชื่อดังของจีน เคยพบเครื่องหิน กระดูก ฟอสซิลสัตว์และฟอสซิลมนุษย์ทั้งหมดกว่า 10,000 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดูกสัตว์และเขาสัตว์จำนวนกว่า 1,000 ชิ้น นับเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่พบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดูกสัตว์จำนวนมากที่สุดของจีนในสมัยนั้น และเป็นที่หายากทั่วโลก


Chu/Dan/Bo

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)