สุขุมทุกครั้งแม้มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้น - เส้นทางสี จิ้นผิง (72)

2024-01-23 08:27:18 | CMG
Share with:

บ่ายวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1992 นายสี จิ้นผิงเดินทางมาที่เกาะจงโจว เมืองฝูโจวเป็นครั้งที่สาม หลังปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยนานกว่า 10 ชั่วโมง ได้อพยพประชาชนส่วนใหญ่ออกจากเกาะจงโจวอย่างปลอดภัยแล้ว แต่ยังเหลืออีกกว่า 100 คนที่ติดอยู่ชั้นบนของบ้าน พวกเขาโบกผืนผ้าสีแดงเพื่อขอความช่วยเหลือ

กระแสน้ำเชี่ยวกรากและเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ เรือกู้ภัยถูกคลื่นขนาดใหญ่ซัดกลับซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่สามารถเข้าใกล้ผู้ที่ติดอยู่บนเกาะได้

ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่กระแสน้ำบริเวณตอนล่างของแม่น้ำหมิ่นเจียงเชี่ยวกรากมากที่สุด บันทึกทางอุทกวิทยาระบุว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันนั้น สถานีอุทกวิทยาจู๋ฉีในอำเภอหมิ่นโหวซึ่งตั้งอยู่ที่ตอนบนของเกาะจงโจวมีระดับน้ำท่วมสูงสุดนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ที่ระดับ 16.51 เมตร เกินเส้นเตือนภัย 5.51 เมตร อัตราการไหลสูงสุดถึง 30,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

“ควรทำอย่างไรดี?” เจ้าหน้าที่กู้ภัยร้อนใจสุดๆ เรือยนต์และเรือยางต่างไม่สามารถเข้าถึงเกาะได้ หากลงน้ำแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยเองก็จะตกอยู่ในอันตรายทันที

นายสี จิ้นผิง ได้รีบส่งคนไปยังสหกรณ์อุปทานและการตลาดเพื่อจัดหาเชือก แต่จะต้องใช้เวลาหากจะทำราวเชือกจากฝั่งเพื่ออพยพคนบนเกาะ วิธีที่เร็วที่สุดในขณะนั้นคือการระดมเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ

นายสี จิ้นผิง ตัดสินใจทันทีโดยสั่งให้รีบติดต่อหน่วยงานของกองทัพอากาศประจำเมืองฝูโจว เมื่อหน่วยงานกองทัพอากาศได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก็ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปที่เกิดเหตุและเริ่มเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากเกาะทีละกลุ่ม ในระหว่างนี้ก็ได้มีการทำราวเชือกเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยไต่เชือกขึ้นเกาะช่วยอพยพผู้คนทั้งหมดออกมาได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นโดยไม่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว

บ่ายวันที่ 8 กรกฎาคม นายสี จิ้นผิงเดินทางมาที่เกาะจงโจวเป็นครั้งที่ 4เพื่อปลอบขวัญประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติที่รอดพ้นจากอันตราย

คำบรรยายภาพ : ปี ค.ศ.1998 ทหารและพลเรือนเมืองฝูโจวผนึกกำลังรวมแรงร่วมใจต้านภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 150 ปี โชคดีที่เมืองฝูโจวปลอดภัยจากน้ำท่วมครั้งนี้โดยไม่มีผู้เสียชีวิต

ตั้งแต่การวางแผนกู้ภัย การตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับป้องกันน้ำท่วม ไปจนถึงการบัญชาการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่บนเกาะจงโจว กระทั่งถึงการบริหารจัดการเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมของทั้งเมือง นายสี จิ้นผิงไม่ได้กลับบ้านเป็นเวลาสามวันสามคืน

เวลานั้น นางเผิง ลี่หยวน ภรรยาของนายสี จิ้นผิงกำลังคลอดบุตรอยู่ที่โรงพยาบาล นายสี จิ้นผิงซึ่งกำลังบัญชาการบรรเทาอุทกภัยและช่วยเหลือประชาชนอยู่แนวหน้า ไม่สามารถสละเวลาเพื่อไปเยี่ยมภรรยาและลูกสาวแรกเกิดที่โรงพยาบาลได้เลย

สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับผู้นำที่ทำงานในมณฑลฝูเจี้ยนนั้น การป้องกันน้ำท่วมและการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นถือเป็น “หลักสูตรวิชาบังคับ”

ฝูเจี้ยนมีภูเขาอยู่ด้านหลังและหันหน้าไปทางทะเลโดยมีเครือข่ายสายน้ำที่หลากหลาย โดยทั่วไปแม่น้ำต่างๆ มีความสามารถในการระบายน้ำได้ไม่ดี ปริมาณน้ำฝนมากเป็นพิเศษในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ฝูเจี้ยนถือเป็นหนึ่งในมณฑลที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ เช่น พายุไต้ฝุ่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม และคลื่นพายุซัดฝั่ง  ภายหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน มณฑลนี้มักได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นทุกปีและปีละหลายครั้ง โดยเฉลี่ยทุกสามปีจะมีน้ำท่วมใหญ่สองครั้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองฝูโจว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำหมิ่นเจียง ยิ่งได้รับทั้งประโยชน์และความเดือดร้อนจากแม่น้ำ สุภาษิตในท้องถิ่นที่ว่า “น้ำจากหยานผิงมักทำให้จมน้ำแม้แต่ภูเขากู่ซาน” หมายความว่าน้ำท่วมฉับพลันมักเกิดขึ้นทางตอนต้นของแม่น้ำหมิ่นเจียง ภายในหนึ่งวันน้ำในแม่น้ำก็จะไหลเชี่ยวกรากอย่างรวดเร็ว จนไปถึงเมืองฝูโจวทางตอนปลายแม่น้ำ

ปี ค.ศ. 1990 ซึ่งเป็นปีที่นายสี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว ฝูโจวถูกโหมกระหน่ำโดยตรงหรือได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงหลายลูกอย่างต่อเนื่อง เช่น พายุไต้ฝุ่นหมายเลข 9,12,18 ฯลฯ  ทำให้เกือบทุกเขตและอำเภอประสบภัยพิบัติและได้รับความเสียหายอย่างหนัก

 “ฝูเจี้ยนเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อพายุไต้ฝุ่น สหายสี จิ้นผิงมาจากดินแดนชั้นใน เวลานั้น กรรมการในคณะกรรมการพรรคฯประจำเมืองฝูโจวทุกท่าน  ต่างก็มีอายุมากกว่าเขา เขาจึงเป็นกรรมการประจำที่มีอายุน้อยที่สุด” เหลียง เจี้ยนหย่ง รองเลขาธิการเทศบาลและผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการเมืองฝูโจวกล่าวว่าทุกครั้งที่เกิดพายุไต้ฝุ่น นายสี จิ้นผิงจะสั่งการด้วยความสุขุมและมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เช่น ก่อนพายุไต้ฝุ่นจะมาถึงควรระดมกำลังป้องกันอย่างไร  จะต้องทำอะไรบ้างเมื่อไต้ฝุ่นขึ้นฝั่ง  ควรดำเนินงานอย่างไรหลังพายุไต้ฝุ่นผ่านพ้นไปแล้ว ...........สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึง“ท่วงทำนองแห่งนายพลใหญ่”ซึ่ง“สุขุมทุกครั้งแม้มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้น”  


IN/LU

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)