บทวิเคราะห์ : โลกตะวันตกควรเลิกกังวลต่อสถานการณ์ “แพ้-แพ้(Lose-Lose)” ควรรับฟังความคิดเห็นของจีนดีกว่า

2024-02-20 13:00:02 | CMG
Share with:

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ตามเวลาท้องถิ่น การประชุมว่าด้วยความมั่นคงมิวนิกครั้งที่ 60 ได้ปิดฉากลงที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน ภายใต้ประเด็นวิกฤตยูเครนยังไม่สิ้นสุดลง และการปะทะระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล บรรยากาศของการประชุมครั้งนี้เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกกังวลและไม่ปลอดภัย ควรรับมือกับการท้าทายระดับโลกอย่างไร? ผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมพากันแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ โดยนายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เน้นย้ำขณะกล่าวในที่ประชุมว่า จีนจะทำตัวเป็นขุมพลังที่มุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพในโลกที่ปั่นป่วน ซึ่งได้รับการชื่นชมจากหลายๆฝ่าย

การประชุมว่าด้วยความมั่นคงมิวนิกเป็นฟอรั่มด้านนโยบายความมั่นคงระดับสูงที่สุดของโลก สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่มีต่อสถานการณ์ความมั่นคงและแนวโน้มการพัฒนาของโลกตะวันตก โดยเฉพาะประเทศยุโรป ที่ประชุมปีนี้ประกาศ “รายงานความมั่นคงมิวนิกประจำปี 2024” โดยเลือกใช้คำว่า “แพ้-แพ้?(Lose-Lose?)” เป็นธีมนั้น สื่อสารถึงอารมณ์แบบมองโลกในแง่ร้าย ( pessimism  )

หลายปีมานี้ เมื่อเผชิญหน้ากับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงกับความปั่นป่วนสลับกันเกิดขึ้น จีนยืนหยัดมุมมองที่รักษาผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศต่าง ๆ นำเสนอข้อริเริ่มและแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ ในที่ประชุมความมั่นคงมิวนิกหลายครั้งที่ผ่านมา ความคิดเห็นของจีนล้วนได้รับความสนใจในระดับสูง

หากทบทวนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็จะพบว่าการเลือกสรรค์หนทางที่ถูกต้องจะนำสู่ความเจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าเลือกเดินหนทางที่ผิดก็จะก่อเกิดความพินาศและความหายนะ ดังนั้น ควรจะพ้นจากภาวะยากลำบากด้านความมั่นคงอย่างไรนั้น อันที่จริงก็มีคำตอบที่กระจ่างชัด นั่นก็คือ ต้องเปิดตัวสู่ภายนอก และไม่ปิดตัวหรือปิดล้อมผู้อื่น ต้องรักษาความสามัคคี และไม่สร้างความโดดเดี่ยวขึ้นมา ต้องจัดการเจรจาและดำเนินความร่วมมือกัน และไม่แข่งกันแย่งชิงนักการเมืองจากโลกตะวันตกแทนที่จะกังวลต่อสถานการณ์ “แพ้-แพ้” มารับฟังความคิดเห็นของจีนไม่ดีกว่าหรือ


LFyingcui

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)