บทวิเคราะห์ : โศกนาฏกรรมเผาตัวประท้วงความไร้มโนธรรมของนักการเมืองชาวอเมริกัน

2024-03-01 16:11:00 | CMG
Share with:

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 67 ตามเวลาท้องถิ่น ทหารอากาศชาวอเมริกัน แอรอน บุชเนล เดินทางมาถึงหน้าประตูสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอิสราเอลโดยลำพัง จากนั้นได้ราดเชื้อเพลิงบนตัวและจุดไฟเผาตัวเอง จนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต

ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2566 เป็นต้นมา การปะทะกันระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลรอบใหม่ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 30,000 คน และประชาชนจำนวนประมาณ 2 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย การปะทะกันครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์และอิสราเอล และสะท้อนให้เห็นถึงผลร้ายที่สหรัฐอเมริกาใช้นโยบายเข้าข้างอิสราเอล ตลอดจนความเสแสร้งและสองมาตรฐานของ “หลักสิทธิมนุษยชนสหรัฐ” ด้วย

ภายหลังปาเลสไตน์และอิสราเอลเกิดการปะทะกันรอบใหม่แล้ว ประชาคมโลกแสดงความห่วงใยต่อการทวีความรุนแรงของสงครามนับวันมากยิ่งขึ้น และมีเสียงเรียกร้องให้ยุติการปะทะกันนับวันมากยิ่งขึ้น

การกระทำของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ส่งกำลังทหารไปยังตะวันออกกลาง จนถึงเสนอความช่วยเหลือให้กับอิสราเอลจำนวนมากมาย และกีดขวางไม่ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติผ่านข้อตกลงเกี่ยวกับการหยุดยิงในฉนวนกาซา เสมือนการเติมเชื้อเพลิงลงในกองไฟ ทำให้สภาพสิทธิมนุษยชนในฉนวนกาซาเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง และผลักสถานการณ์ในฉนวนกาซาสู่ความอันตรายมากยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญตะวันออกกลางจำนวนไม่น้อยชี้ว่า สหรัฐอเมริกาคำนึงถึงการเมืองภายในประเทศและพิทักษ์ความเป็นมหาอำนาจ เข้าข้างและปล่อยให้อิสราเอลกระทำตามใจ ทำให้ตะวันออกกลางเกิดความวุ่นวาย รัฐบาลสหรัฐอเมริกาชุดปัจจุบันกล่าวว่า สนับสนุนแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์และอิสราเอลด้วย “แผนการสองประเทศ” แต่ไม่เคยปฏิบัติจริง จนนำไปสู่การปะทะกันระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลรอบใหม่นี้

นายเดวิด คอร์ตไรต์ เลขาธิการสันนิบาตประเทศอาหรับวิจารณ์ว่า การกระทำของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สหรัฐอเมริกามีความรับผิดชอบทางการเมืองและทางศีลธรรมต่อสงครามที่ต่อเนื่องในฉนวนกาซา


Zhou/Dan/Yim

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)