ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียปราโบโว ซูเบียนโต ได้เยือนประเทศจีน ต่อจากนั้น นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของสปป.ลาว นายบุย ธาน ซอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม และนายเบนดิโต้ ฟรายตัส รัฐมนตรีต่างประเทศติมอร์ ตะวันออก ได้เยือนจีนตามลำดับตั้งแต่วันที่ 2 - 5 เมษายน นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเยือนจีนระหว่างวันที่ 4-10 เมษายน การเยือนฉันมิตรเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับจีน อีกด้านหนึ่ง ภายใต้เบื้องหลังที่ฟิลิปปินส์อาศัยการสนับสนุนจากอิทธิพลภายนอก ก่อปัญหาทะเลจีนใต้บ่อยครั้ง ประเทศในภูมิภาคอาเซียนกลับมีกระแสเยือนจีน แสดงถึงการปฏิเสธความเป็นปรปักษ์ด้วยปฏิบัติการที่เป็นจริง
เป็นที่น่าสังเกตคือ เมื่อเร็วๆนี้ นายดาโต๊ะ สรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แสดงท่าที 3 ครั้งภายในหนึ่งเดือนว่า มาเลเซียไม่สนใจ "การเลือกข้าง" ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เขายังได้วิพากษ์วิจารณ์ประเทศตะวันตกบางประเทศว่าเป็น "โรคกลัวจีน" จีนเน้นย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า การพัฒนาเป็นประเด็นถาวรของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แนะนำบางประเทศอย่าก่อปัญหาและทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ การเยือนจีนติดต่อกันของบุคคลสำคัญจากหลายประเทศในอาเซียนได้ส่งสัญญาณอันชัดเจนของการกระชับความร่วมมือกับจีน รักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
เมื่อปีที่แล้ว จีนและอาเซียนได้เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกันเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ปัจจุบันการเจรจาเพื่อยกระดับ 3.0 ของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน กำลังดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ และปีนี้ยังเป็น "ปีการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมระหว่างจีนและอาเซียน" โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันจัดกิจกรรมมากกว่า 200 ครั้งในตลอดทั้งปี ความร่วมมือจีน-อาเซียนยังคงจะลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นกำลังสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ความร่วมมือแบบ "สองทิศทาง" ระหว่างจีนและอาเซียนได้ยืนยันอีกครั้งว่า เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคของความร่วมมือและการพัฒนา ไม่ใช่เกมหมากรุกของภูมิรัฐศาสตร์
Yim/LR/Cui