ในอวกาศไม่มีอากาศ แต่มีโอกาส (2)

2024-04-18 10:36:19 | CRI
Share with:

ในช่วงที่หลิว หยางไปปฏิบัติงานบนอวกาศเป็นครั้งที่ 2  ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2022  เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานีอวกาศเทียนกงอย่างเต็มที่  จีนได้ร่วมมือกับอาเซียนได้จัดกิจกรรมในหัวข้อว่า นักเรียนอาเซียนพูดคุยกับนักบินอวกาศจีน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2022 โดยถ่ายทอดสัญญาณจากยานอวกาศ “เสินโจว14”   และมีเยาวชนจากประเทศกลุ่มอาเซียนซึ่งรวมถึงไทย บรูไน มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รับสัญญาณและร่วมกิจกรรมพร้อมกันในประเทศของตนเอง  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนหลายร้อยคนจากจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนได้ถามคำถามที่พวกเขาสนใจใคร่รู้  อย่างนักบินอวกาศสามารถท่องอินเทอร์เน็ตบนอวกาศได้หรือไม่ หากนักบินอวกาศป่วยต้องทำอย่างไร หากอยากเป็นนักบินอวกาศต้องทำอย่างไร และสิ่งที่น่าประทับใจที่สุดบนอวกาศคืออะไร ฯและฯ นักบินอวกาศจีนทั้ง 3 ที่อยู่บนยานอวกาศ “เสินโจว14” ได้ตอบคำถามทีละข้อ ๆ  และให้กำลังใจแก่เยาวชนอาเซียนในการสำรวจความลึกลับของอวกาศ  พร้อมกล่าวสนับสนุนเยาวชนศึกษาเทคโนโลยีอวกาศและเดินหน้าบ่มเพาะอาชีพนักบินอวกาศต่อไป

ระหว่างการถ่ายทอดสดครั้งนี้  นักบินอวกาศทั้ง 3ได้แสดงสภาพการใช้ชีวิตและการทำงานในโมดูลทดลอง “เวิ่นเทียน” ของสถานีอวกาศ สาธิตการดื่มน้ำในห้วงอวกาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ และโครงการวิจัยการเติบโตของพืชด้วย

จัดเป็นครั้งแรกที่เด็กไทยได้มีโอกาสพูดคุยกับนักบินอวกาศโดยตรง  ด.ช.ศิวัชติณณ์ ศิวเวทกุล เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  เป็นหนึ่งในนักเรียนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับโอกาสร่วมสนทนาผ่านระบบวิดีโอกับหลิว หยาง โดยศิวัชติณณ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นอยู่และวิธีการดื่ม กิน และนอนบนอวกาศ

เมื่อถูกถามว่า  นักบินอวกาศหญิงต้องใช้เวลาฝึกฝนกี่ชั่วโมงจึงจะมีโอกาสได้ทำงานบนอวกาศ หลิว หยาง ตอบว่ามาตรฐานการฝึกของนักบินอวกาศชายและหญิงนั้นเหมือนกัน แต่ผู้หญิงต้องฝึกฝนหนักกว่าและต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ

การสอนสดจากนอกโลกครั้งนี้ทำให้บรรดานักเรียนไทยรู้สึกตื่นเต้น ถือเป็นประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิต ซึ่งช่วยจุดประกายความฝันด้านอวกาศให้นักเรียนจำนวนมาก และกระตุ้นให้พวกเขาอยากสำรวจอวกาศ ขณะเดียวกัน  หลิว หยาง ได้ตำแหน่งอีกตำแหน่งหนึ่งว่า  คุณครูในอวกาศ

พูดถึงความร่วมมือทางอากาศระหว่างประเทศ หลิว หยาง ในฐานะเป็นทูตอวกาศของจีนระบุว่า  ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังสุภาษิตจีนที่ว่า เมื่อทุกคนเก็บฟืน คุณจะก่อไฟได้ครั้งใหญ่

หลิว หยาง เคยเขียนในบันทึกประจำวันว่า หากมีแค่ฉันส่องแสงเพียงลำพัง ฉันจะไม่สามารถทำให้ทั้งโลกสว่างไสวได้  แต่หากเราทุกคนพยายามส่องแสงสว่าง เมื่อเราแต่ละคนกลายเป็นดวงดาวที่มีแสงสว่างในจักรวาลอันกว้างใหญ่  ท้องฟ้าก็จะกลายเป็นท้องฟ้าสว่างไสวที่เต็มไปด้วยดวงดาวอันงดงาม   โลกและสังคมจะมีความรัก ความอบอุ่นและมีพลังมากยิ่งขึ้น

ด้วยความทุ่มเทของบรรดานักบินอวกาศอย่างหลิว หยาง  ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์อวกาศมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การพัฒนานี้ในทางตรงทำให้มนุษย์ก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดต่างๆในอดีต ผู้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโลกได้สะดวกและรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์กว่าแต่ก่อนอันเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการต่อยอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆที่มนุษย์นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อความสะดวกแม่นยำในการขนส่ง การเดินทางและการใช้ประโยชน์ในการเตือนภัยเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติจากธรรมชาติได้ทันท่วงที ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลพื้นฐานให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่างๆทั้งบนโลก ระบบสุริยะ และจักรวาลของเรา ส่งผลให้เกิดการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ นำไปสู่ความเข้าใจ


  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)