เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา การสัมมนาปีใหม่ระหว่างทูตประจำประเทศจีนและผู้ประกอบการธุรกิจประจำปี 2024 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง แขกผู้มีเกียรติจากกว่า 50 ประเทศและภูมิภาคเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ นายโภคิน พลกุลชี้ อดีตประธานรัฐสภา อดีตนายกฯ นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เข้าร่วมงานและให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว เขากล่าวว่า เขาชื่นชมจุดยืนและการปฏิบัติของจีนในการแสดงหาความร่วมมือที่เอื้อผลประโยชน์ต่อกัน และชี้ว่า การติอต่อแลกเปลี่ยนด้านบุคลากรระหว่างไทย-จีนมีความแน่นแฟ้นนับวันยิ่งขึ้น ความผูกพันทางใจระหว่างประชาชนสองประเทศได้รับการส่งเสริมากยิ่งขึ้นด้วย ความร่วมมือไทย-จีนมีอนาคตกว้างขวางมาก
เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ข้อตกลงการยกเว้นวีซ่าระหว่างจีน-ไทยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นายโภคิน พลกุลเห็นว่า มาตรการยกเว้นวีซ่านี้จะช่วยส่งเสริมาการไปมาหาสู่กันและความรู้ความเข้าใจระหว่างประชาชนสองฝ่าย ปัจจุบัน มีชาวไทยจำนวนมากยิ่งขึ้นอยากเดินทางไปเที่ยวประเทศจีน สัมผัสวัฒนธรรมจีน
"จีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล จากทางใต้จนถึงภาคเหนือ จากตะวันออกไปยังตะวันตก ล้วนมีทิวทัศน์ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมาก"
การแลกเปลี่ยนอย่างแน้นแฟ้นด้านบุคลากรระหว่างไทย-จีนนั้น ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเท่านั้น นายโภคิน พลกุลกล่าวว่า แต่ละปี รัฐบาลไทยก็จะจัดส่งข้าราชการไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่ประเทศจีน โดยกล่าวว่า “ข้าราชการไทยศึกษาภาษาจีน สนใจวัฒนธรรมจีน กลายเป็นทูตสันถวไมตรีแห่งการติดต่อด้านวัฒนธรรมของสองประเทศ ” นายโภคิน พลกุลเน้นว่า การไปมากาสู่กันด้านบุคลากรเป็นสะพานสำคัญ ๆ ในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจระหว่างประชาชน “ผมมีเพื่อนมากมายในจีน พวกเขามักจะเยี่ยมผมในประเทศไทยอยู่เสมอ และเชิญชวนผมไปประเทศจีนด้วย ทั้งนี้ ผมจึงได้รู้จักกับชาวจีนมากยิ่งขึ้น เป็นเพราะความไว้วางใจซึ่งกันและกันนั่นเอง เราสามารถร่วมมือกันทำเรื่องมากมายยิ่งขึ้น ความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความร่วมมือระหว่างประชาชนเป็นสิ่งสําคัญมาก”
เมื่อพูดถึงข้อริเริ่มการร่วมวสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โภคิน พลกุลกล่าวว่า การยึดมั่นในการเปิดกว้างและครอบคลุม จะส่งบทบาทเชิงบวกต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ แม้จะเผชิญกับรอยเปื้อนและความสงสัย จีนก็ยังคงแสดงจุดยืนและท่าทีในการแสวงหาความร่วมมือที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์ต่อกันด้วยการปฏิบัติที่เป็นจริงมาตลอด เข้าเห็นด้วยที่ประเทศจีนเสนอแนวคิดการร่วมสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ โดยเห็นว่า นี่เป็นตัวแทนเสียงเรียกร้องท่ามกลางยุคสมัยของโลกที่จะแสวงหาความก้าวหน้าและการพัฒนา
(Yim/Zi)