สื่อ CGTN ของจีน ทำแบบสำรวจพบผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกกว่า 7 พันคนพบ 80% ประณามตำราประวัติศาสตร์ฉบับใหม่ของญี่ปุ่นที่บิดเบือนประวัติศาสตร์จริง

2024-04-23 12:17:03 | CMG
Share with:

รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติบทเรียนประวัติศาสตร์ฉบับใหม่ที่บิดเบือนความโหดร้ายทารุณของทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่ผู้คนในหลายประเทศในเอเชีย การสำรวจที่จัดทำโดย  CGTN สื่อสังกัด CMG หรือสถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางของจีนแสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกมากกว่า 80% (82.45%) ประณามอย่างรุนแรงในทัศนคติและแนวปฏิบัติของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์

แหล่งข่าวแจ้งว่า บทเรียนประวัติศาสตร์ฉบับใหม่ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลญี่ปุ่น มีหลายข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมถึงการปฏิเสธการบังคับนางบำเรอในพื้นที่ถูกยึกครอง ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกมากถึง 95.35% คัดค้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง โดยเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเคารพข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และชี้ว่า ควรระมัดระวังปฏิบัติการปกปิดและตกแต่งประวัติศาสตร์การรุกรานเป็นอย่างยิ่ง ชาวเน็ต CGTN กล่าวว่า ประเทศที่เคยสร้างประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยใหม่ควรเขียนข้อเท็จจริงลงในหนังสือตามกฎหมายระหว่างประเทศ ควรบอกเล่าประวัติศาสตร์ตามข้อเท็จจริง แทนที่จะให้บรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินใจ"

ในการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก 91.82% เน็นว่าญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่เคยก่อสงครามรุกรานประเทศอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ ควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในตำราประวัติศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก 90.26% เห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นควรขอโทษและชดเชยในกรณีบังคับหญิงบำเรอและปัญหาบังคับใช้แรงงานในอดีต ชาวเน็ต CGTN แสดงความคิดเห็นว่า ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเรียนรู้จากเยอรมนี โดยยอมรับความโหดร้ายทารุณในสงครามทั้งหมด จ่ายค่าชดเชยให้กับจีน ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ พร้อมยอมรับสิ่งชั่วร้ายทั้งหมดของตนในหนังสือตำราเรียน

ในการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถาม 89.19% เห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติปรับปรุงตำราประวัติศาสตร์หลายครั้งเพื่อปกปิดอาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองกระทบถึงความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับเอเชีย โดย 69.47% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ประเด็นทางประวัติศาสตร์เป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ญี่ปุ่นไม่น่าเชื่อถือในประชาคมโลก ชาวเน็ตชี้ให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์ของทุกประเทศควรเป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ มิฉะนั้นจะนำไปสู่ข้อผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง

การสำรวจดังกล่าวเผยแพร่บนแพลตฟอร์มภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อารบิก และรัสเซีย ของ CGTN โดยภายใน 24 ชั่วโมง มีชาวเน็ตทั้งหมด 7,431 คนร่วมลงคะแนนและแสดงความคิดเห็น


Ying/Ldan/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)