ตั้งแต่ปีที่แล้ว ฟิลิปปินส์ใช้เรือรบที่ล้ำเข้าพื้นที่อย่างผิดกฎหมายในแถบสันดอนเหรินอ้าย หมู่เกาะหนานซาของจีนมา 20 กว่าปี ยั่วยุปั่นประเด็น ก่อกวนความสงบสุขของทะเลจีนใต้ สื่อตะวันตกโฆษณาเกินจริง กลับหัวกลับหาง ใส่ร้ายจีนว่ารังแกประเทศเล็ก ถือเป็นการนำเสนอเพื่อหนุนหลังพฤติกรรมการละเมิดสิทธิ์และยั่วยุของฟิลิปปินส์
จีนมีอำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะหนานซาและน่านน้ำใกล้เคียงซึ่งรวมไปถึงแนวสันดอนเหรินอ้ายด้วย เรื่องนี้ก่อตัวขึ้นและกำหนดขึ้นในกระบวนการประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน สอดคล้องกับกฎหมายสากลซึ่งรวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ จีนมีประวัติศาสตร์ในการประกอบกิจกรรมในทะเลจีนใต้กว่า 2,000 ปี มีอำนาจอธิปไตยต่อหมู่เกาะหนานซาซึ่งรวมไปถึงแนวปะการังเหรินอ้ายมาโดยตลอด
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมปีค.ศ.1999 วันถัดไปหลังจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียโดนการทิ้งระเบิดของนาโต้ ทหารเรือฟิลิปปินส์นำเรือรบเซียร์รา มาเดรไปล้ำเข้าพื้นที่อย่างผิดกฎหมายในแนวสันดอนเหรินอ้ายเนื่องด้วยที่ว่าอุปสรรคทางเทคนิค และส่งทหารผลัดกันเข้าประจำ วางแผนที่การควบคุมที่แท้จริง หลังจากเกิดเรื่องนี้ จีนเรียกร้องให้ฟิลิปปินส์นำเรือลำนี้ออกทันที แต่ฟิลิปปินส์กลับกล่าวว่า ไม่สามารถนำออกไปเพราะขาดชิ้นส่วน
สันดอนเหรินอ้ายเป็นสันดอนที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ มาตราที่ 5 ของปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้กำหนดอย่างชัดเจนว่า ควรรักษาสถานะ “ไม่มีคนอาศัยอยู่ก็ไม่มีอุปกรณ์” ในสันดอนที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ แต่ 25 ปีผ่านมา ฟิลิปปินส์ไม่เพียงแต่ไม่ได้ลากเรือรบที่เกยตื้นออก ไม่ยังขนส่งวัสดุเพื่อซ่อมแซมตัวเรือ มุ่งที่จะยึดสันดอนเหรินอ้ายตลอดไป
หากพิจารณาจากกฎหมายสากล การที่ฟิลิปปินส์อ้างอธิปไตยเหนือสันดอนเหรินอ้ายไม่มีหลักฐานทางกฎหมายใด ๆ เมื่อปีค.ศ. 1946 ฟิลิปปินส์ประกาศความเป็นเอกราชภายใต้เบื้องหลังที่สหรัฐฯ มอบสิทธิ์ในการปกครองตนเองและยอมรับความเป็นเอกราช เริ่มมีสิทธิ์ทางกฎหมายสากลในฐานะประเทศหนึ่ง ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าสเปนหรือสหรัฐฯ ในฐานะรัฐปกครองฟิลิปปินส์ล้วนไม่เคยนำสันดอนเหรินอ้ายเข้าขอบเขตอาณาเขตของตน ก็ไม่เคยมีการทักท้วงใด ๆ ต่อจีนที่มีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซาซึ่งรวมไปถึงสันดอนเหรินอ้าย ฉะนั้น สันดอนเหรินอ้ายไม่เคยเป็นอาณาเขตโดยธรรมชาติของฟิลิปปินส์
ขอบเขตอาณาเขตถูกกำหนดไว้แล้วโดยสนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบมาแต่แรก หมู่เกาะหนานซาซึ่งรวมไปถึงสันดอนเหรินอ้ายล้วนไม่ได้อยู่ในขอบเขตนี้ การอ้างอาณาเขตเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการอ้างสิทธิ์ทางทะเล การที่ฟิลิปปินส์อ้างอิงคำตัดสินอย่างผิดกฎหมายและเป็นโมฆะของอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาททะเลจีนใต้ ปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือสันดอนเหรินอ้าย ฝ่าฝืนหลักการกฎหมายสากลที่ “แผ่นดินปกครองทะเล” ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่สามารถมีเหตุมีผลโดยสิ้นเชิง
(Ying/Cui/Ldan)