ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่อาเซียนกล่าวว่า ต้องแก้ไขข้อพิพาททะเลจีนใต้ผ่านการเจรจา

2024-06-09 11:04:27 | CMS
Share with:

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2024 นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เรียกร้องให้แก้ไขข้อพิพาททะเลจีนใต้ผ่านการเจรจาทางการทูต โดยเน้นว่า การแทรกแซงจากอิทธิพลภายนอกมีแต่จะทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลง นักวิเคราะห์ระบุว่า คำแถลงของนายอันวาร์แสดงให้เห็นถึงปณิธานร่วมกันของประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนที่จะรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้และภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ กำลังปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งและความแตกแยกในภูมิภาค เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่ฟิลิปปินส์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ พยายามกระตุ้นให้เกิดความวุ่นวายในทะเลจีนใต้  

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวที่ประชุมโต๊ะกลมเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 37 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียว่า  มาเลเซีย ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ในการจัดการกับปัญหาทะเลจีนใต้ทางการทูต เพราะมาเลเซียรักษาความเป็นกลางอย่างแท้จริง  

นายอันวาร์ อิบราฮิมย้ำว่า ประเด็นนี้จะต้องได้รับการแก้ไขระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน โดยไม่มีการแทรกแซงจากภายนอก เพราะการแทรกแซงจากภายนอก จะทำให้เรื่องนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น

นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า  ความเจริญรุ่งเรืองของเอเชียได้รับประโยชน์อย่างมากจากสันติภาพและเสถียรภาพในระยะยาวในภูมิภาค และประเทศอาเซียนไม่อยากเห็นเกิดความวุ่นวายในทะเลจีนใต้

นายอึ้ง เอ็ง เฮน (Ng Eng Hen) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ กล่าวในการประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogue ปี 2024 ว่า  ข้อความหลักของการประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogueในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีความสอดคล้องกัน และในปีนี้ก็ไม่มีความแตกต่างกันใด  คือ ต้องหลีกเลี่ยงเกิดการปะทะในเอเชีย

นายปราโบโว ซูเบียนโต ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกของอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน กล่าวในการประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogue ครั้งที่ 21 ว่า ความมั่นคงที่แท้จริงเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน นี่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเอเชีย  เราต้องมีความใกล้ชิดและเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน

นายบุย ถั่น เซิน (Bui Thanh Son )รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม กล่าวระหว่างการเยือนจีนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า เวียดนามยินดีทำงานร่วมกับจีน เพื่อปฏิบัติตามฉันทามติระดับสูงระหว่างทั้งสองประเทศ จัดการกับความเห็นต่างอย่างเหมาะสม ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลและการปรึกษาหารือในหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้ และปกป้องสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้  

นายคิน เพีย (Kin Phea) ผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา กล่าวว่า  ความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างจีนกับอาเซียน และระหว่างจีนกับแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องไม่ถูกกระทบจากประเด็นทะเลจีนใต้    

นายโคห์ คิง คี (Koh King Kee) ประธานศูนย์ New Inclusive Asia ซึ่งเป็นองค์กรมันสมองภาคเอกชนมาเลเซีย กล่าวว่า  สหรัฐฯ กำลังพยายามปิดล้อมจีนด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรในภูมิภาค

ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่รู้เห็นชัดเจนต่อเจตนาและผลที่ตามมาของการกระทำของสหรัฐฯ และไม่ต้องการกลายเป็นเบี้ยของสหรัฐฯ

นายเกา คิม โหรน (Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะไม่เข้าข้างฝายใดฝ่ายหนึ่งในการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน นายลอเรนซ์ หว่อง  (Lawrence Wong) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์กล่าวหลายครั้งว่า  นโยบายต่างประเทศของสิงคร์จะมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ของสิงคโปร์แทนที่จะเลือกข้างระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา  

นายอันวาร์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ทำไมมาเลเซียจะต้องไปผูกติดอยู่กับผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  มาเลเซียไม่เห็นด้วยกับอคติต่อจีน  ไม่เห็นด้วยความหวาดกลัวจีน

ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอาเซียนยังได้วิพากษ์วิจารณ์การยั่วยุของฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้ด้วย

นายมูฮัมหมัด ชาโรนี โรฟี อาจารย์จากคณะวิชายุทธศาสตร์และโลกศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียกล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการโดยฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา และพันธมิตรของพวกเขาได้ทำลายความมั่นคงในอาเซียน ทำให้ความตึงเครียดในภูมิภาคทวีความรุนแรงขึ้น

นายโคห์ คิง คี (Koh King Kee) ประธานศูนย์ New Inclusive Asia กล่าวว่า แนวทางเผชิญหน้าของฟิลิปปินส์สอดคล้องเป็นอย่างดีกับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในการยับยั้งจีน กิจการทางทหารของสหรัฐฯ ในทะเลจีนใต้บ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค และเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศในภูมิภาค

นายโกห์ ชุน คัง (Goh Choon Kang) อดีตสมาชิกรัฐสภาสิงคโปร์ แสดงความคิดเห็นในบทความว่า  ฟิลิปปินส์คิดว่าการเลือกข้างสหรัฐฯโดยสมบูรณ์จะทำให้เขามีพันธมิตร แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นเบี้ยไว้ใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่ขัดแย้งกับยุทธศาสตร์การทูตทั่วไปของอาเซียนด้วย


(ying/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-07-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-07-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-07-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-07-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-07-2567)