รายงานการวิจัยการท่องเที่ยวล่าสุดของโลกจากฟอรั่มเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum:WEF) ระบุว่าการท่องเที่ยวของทั่วโลกในปี 2024 นี้ ได้รับอานิสงส์จากการยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาด ความต้องการการท่องเที่ยวอันมหาศาล จํานวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศและความสำคัญของการท่องเที่ยวมีต่อจีดีพีของทั่วโลก คาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ฟอรั่มเศรษฐกิจโลกและมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ของอังกฤษได้ร่วมกันเผยแพร่รายงานดัชนีการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำปี 2024 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยวิเคราะห์สภาพการพัฒนาและแนวโน้มของการท่องเที่ยวของ 119 ประเทศทั่วโลก
รายงานดังกล่าวระบุว่า ประเทศที่มีรายได้สูงในยุโรปและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นผู้นําในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลก ในบรรดา 30 ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด ปรากฏว่า 26 ประเทศเป็นประเทศที่มีรายได้สูง เป็นประเทศในยุโรป 19ประเทศ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 7 ประเทศ ในทวีปอเมริกา 3 ประเทศ และอีก 1 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งอยู่ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ นอกจากนี้ ประเทศ 10อันดับแรกในดัชนีการพัฒนาการท่องเที่ยวในปี 2024 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สเปน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ประเทศที่มีรายได้สูงโดยทั่วไปยังคงรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว รวมถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อ ตลาดแรงงานที่มีชีวิตชีวา นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เปิดกว้าง โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง และสถานที่ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รายงานดังกล่าวยังระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกคาดว่าจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงการแพร่ระบาดและสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาด สาเหตุหลักมาจากความต้องการเดินทางทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น และจํานวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปิดกว้างมากขึ้น ความสนใจและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมก็เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศฟื้นตัว
รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่าแม้จะฟื้นตัวจากผลกระทบของวิกฤตสาธารณสุขทั่วโลก แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจมหภาคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ภูมิรัฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังไม่ได้รับการแก้ไข ปริมาณการขนส่งทางอากาศ การลงทุน ประสิทธิภาพการผลิต และอุปทานอื่น ๆ ยังไม่ทันกับการเติบโตของอุปสงค์ ประกอบกับผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก ความไม่สมดุลเหล่านี้ก่อให้เกิดการขึ้นราคา และสร้างปัญหาด้านการบริการมากขึ้น
รายงานฉบับนี้เน้นย้ำว่า แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมาก แต่ประเทศกําลังพัฒนายังคงจําเป็นต้องลงทุนจํานวนมากเพื่อปิดช่องว่างกับประเทศที่มีรายได้สูงในแง่ของสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยว และส่วนแบ่งการตลาด ด้วยเหตุนี้แนวทางที่เป็นไปได้คือการใช้ทรัพย์สินทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เทียบกับปัจจัยอื่น ทรัพย์สินทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์น้อยกับระดับรายได้ประชาชาติ ทําให้ประเทศกําลังพัฒนามีโอกาสพึ่งพาการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ
รายงานฉบับนี้ยังได้ระบุความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งรวมถึงความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อและสภาพอากาศที่รุนแรง นอกจากนี้ การท่องเที่ยวมีลักษณะฤดูกาลที่เด่นชัด ความแออัดยัดเยียดตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และการปล่อยมลพิษมีความเป็นไปได้จะคืนสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด ประเด็นเหล่านี้สร้างความตระหนักว่า ความสมดุลระหว่างการเติบโตกับความยั่งยืนยังคงเป็นประเด็นสําคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยว
รายงานฉบับนี้แนะนําว่า ผู้กําหนดนโยบายของประเทศต่าง ๆ ควรใช้ปฏิบัติการในด้านต่อไปนี้ก่อน 1)ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ไปผลักดันงานการอนุรักษ์ธรรมชาติ 2)ลงทุนพัฒนาแรงงานที่มีทักษะที่ยืดหยุ่นและครอบคลุม 3)จัดการพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีกลยุทธ์ 4)ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนท้องถิ่น 5)ใช้การท่องเที่ยวในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล
บุคคลในแวดวงการท่องเที่ยวของจีนระบุว่า ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีส่วนต่อจีดีพีของทั่วโลกร้อยละ 10 โลกและได้สร้างโอกาสการจ้างงานของทั่วโลกร้อยละ 10 มาโดยตลอด ในอนาคต การท่องเที่ยวพร้อมที่จะเป็นกําลังสําคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองของโลก และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนทุกแห่งและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
(IN/ZHOU)