บทวิเคราะห์ : นาโตใช้จีนเป็นข้ออ้างก็ยากที่จะสมหวังในเอเชียแปซิฟิก

2024-07-10 14:36:51 | CMG
Share with:

การประชุมสุดยอดนาโตจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 9 กรกฎาคมตามเวลาท้องถิ่น ก่อนการประชุม นายสโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโตแถลงข่าวว่า “เราต้องการร่วมมือกับหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับจีนและบางประเทศ” สื่อมวลชนเห็นว่า คำพูดแบบนี้คือนาโตเอาจีนเป็นข้ออ้าง เพื่อแทรกแซงเอเชียแปซิฟิก รักษาอำนาจความเป็นใหญ่ของสหรัฐฯ

 แม้ว่า สหรัฐฯยังคงพยายามสร้าง “นาโตฉบับเอเชียแปซิฟิก” แต่ที่จริงแล้ว นาโตในปัจจุบัน เผชิญกับความยากลำบากทั้งในและนอก จึงยากที่จะสร้างวงปิดล้อมจีนในเอเชีย ยิ่งไม่สามารถสร้างโครงสร้างความมั่นคงใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

ก่อนอื่น ประเทศส่วนใหญ่ของเอเชียแปซิฟิกไม่ยินดีและไม่ยอมรับ นาโตเรียกตนเองว่าเป็นพันธมิตรแห่งค่านิยม แต่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีระบอบและอารยธรรมหลากหลาย แต่สหรัฐฯถือนาโตเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่รักษาอำนาจความเป็นเจ้าโลก ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ของเอเชียแปซิฟิกไม่ชอบและคัดค้านการใช้อำนาจบาตรใหญ่ ไม่ยอมรับนาโตที่ถือตนเป็นเจ้าโลกเข้าครอบงำเอเชียแปซิฟิก 

นอกจากนี้ ภายในนาโตก็มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่คัดค้าน “นำนาโตเข้าเอเชียแปซิฟิก” ประเทศสมาชิกในยุโรปของนาโตหวังว่า นาโตจะให้ความสำคัญต่อปัญหาความมั่นคงภายในยุโรป โดยเห็นว่า ถ้าเอาทรัพยากรของประเทศตนไปใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คงจะทำให้ความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงในยุโรปของนาโตอ่อนลง 

ขณะเดียวกัน แม้ว่านาโตพยายามเผยแพร่คำว่า “ภัยคุกคามจีน” แต่สมาชิกส่วนใหญ่ของนาโตยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับจีน ประเทศส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็เห็นด้วยว่าจีนเป็นกำลังสำคัญในการรักษาความมั่นคงและความเจริญของภูมิภาคและทั่วโลก 

นาโตพยายามสร้างบรรยากาศว่ามีภัยคุกคามจากบางประเทศ แต่สภาพที่เป็นจริงคือ นาโตเองเป็นต้นกำเนิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของทั่วโลก สิ่งที่ว่ายุทธศาสตร์นาโตฉบับเอเชียแปซิฟิกนั้น เป็นแผนการที่ยั่วยุให้เกิดการแตกแยก การปะทะ กระทั่งสงคราม เพื่อรักษาสถานะครองความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯ 

  • เกาะกระแสจีน (07-09-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (07-09-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-09-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-09-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (06-09-2567)