ส่งเสริมการนําร่องปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ--เส้นทางสี จิ้นผิง (104)

2024-07-15 07:42:41 | CMG
Share with:

ช่วงหลังปีใหม่ ค.ศ.1992 บ่ายวันหนึ่ง นายเฉิน หมิงเซิน ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งสถาบันสังคมศาสตร์ฝูเจี้ยนได้เดินเข้าไปในที่ทำการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจว เมื่อมาที่ห้องทำงานของนายสี จิ้นผิง เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจวในขณะนั้น เห็นนายสี จิ้นผิงกำลังพูดคุยกับสหายที่เป็นผู้บริหารศูนย์วิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองฝูโจว เขายังไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่นายสี จิ้นผิงเชิญให้มาพบในครั้งนี้

นายเฉิน หมิงเซิน ยัง“สวมหมวกอีกใบ”ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงต้นปี 1984 นายเฉิน หมิงเซินได้เริ่มมีส่วนร่วมการวิจัยในสาขานี้ และเขียนบทความชุดหนึ่ง ตามคำเชิญของบริษัทกระจกฝูเย่าจำกัดซึ่งเป็นวิสาหกิจเอกชน เขาได้วางแผนเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯโดยอ้างอิงข้อมูลของบริษัทที่ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้

“ผมสนใจการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯของบริษัท กระจกฝูเย่าจำกัดมาโดยตลอด จุดประสงค์ในการเชิญพวกคุณมาก็คือเพื่อศึกษาและเรียนรู้วิธีปฏิบัติของบริษัทฝูเย่าฯในการเข้าตลาดหุ้น เพื่อส่งเสริมการนําร่องปรับโครงสร้างธุรกิจของรัฐวิสาหกิจ” นายสี จิ้นผิงกล่าวอย่างตรงประเด็น

ในเวลานั้น ยังไม่มีตัวอย่างการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจในเมืองฝูโจว นายสี จิ้นผิง กล่าวว่า “เพื่อส่งเสริมให้มีวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจจำนวนมากขึ้นปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องให้การสนับสนุนทางนโยบายและยกระดับการปฏิรูป จึงจะสามารถเพิ่มความมีชีวิตชีวาของรัฐวิสาหกิจได้”

ตลอดช่วงบ่าย นายสี จิ้นผิงได้ปรึกษาหารืออย่างจุใจในทุกแง่มุมเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์------

การปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯควรดำเนินการอย่างไร?

 ราคาหุ้นควรกำหนดอย่างไร?

จะเพิ่มหุ้นที่มีอยู่ได้อย่างไร?

จะออกส่วนเพิ่มได้อย่างไร?

การเสนอขายหุ้นจะประสบปัญหาอะไรบ้าง?

...................

คำบรรยายภาพ : ผู้จัดการโรงงานและผู้จัดการบริษัท 55 คนที่ร่วมลงชื่อในจดหมายวิงวอน ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับผู้นำคณะกรรมการเศรษฐกิจและสมาคมการจัดการวิสาหกิจประจำมณฑลฝูเจี้ยน (ภาพจากแฟ้นภาพโดยหอจดหมายเหตุมณฑลฝูเจี้ยน)

“ท่านถามทุกข้ออย่างละเอียด ผมก็ตอบท่านทีละข้อ ระหว่างนั้น ท่านยังจดบันทึกไปด้วย” นายเฉิน หมิงเซินเล่าย้อนหลังให้ฟัง

หลังการหารือครั้งนี้ไม่นาน นายสี จิ้นผิงได้ตัดสินใจให้บริษัทก่อสร้างเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีฝูโจว (ต่อไปจะเรียกว่า “เจี้ยนจ่ง”) “นำร่อง” การปรับโครงสร้างการถือหุ้น

ในช่วงทศวรรษ 1980 แห่งศตวรรษที่ 20 การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจของจีนเริ่มขึ้น

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งมีประเด็นหลักคือ “การเพิ่มอำนาจและกระจายผลประโยชน์” และ “การแยกอำนาจทั้งสองออกจากกัน”(หมายถึงการแยกอำนาจในกรรมสิทธิ์และอำนาจในการบริหารวิสาหกิจออกจากกัน)นั้น มณฑลฝูเจี้ยนเคยแสดงบทบาทสำคัญ

เดือนมีนาคม ค.ศ. 1984 หนังสือพิมพ์ฝูเจี้ยนเดลี่ได้ตีพิมพ์จดหมายวิงวอนที่มีหัวข้อว่า“โปรด‘แก้เชือกมัดมือ’ให้เรา” จาก 55  คนที่เป็นผู้จัดยการโรงงานหรือผู้จัดการบริษัทที่สำคัญในมณฑลฝูเจี้ยน จดหมายฉบับนี้เรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มเติมแก่รัฐวิสาหกิจ  “จดหมายวิงวอน”ฉบับนี้มีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปฏิรูปและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงแก่ทั่วประเทศ

ในเดือนพฤษภาคมของปีนั้น คณะรัฐมนตรีจีนได้ออก “ระเบียบชั่วคราวว่าด้วยการเพิ่มอำนาจของรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอีกระดับ” เพื่อกระจายอำนาจเพิ่มเติม เดือนตุลาคม ที่ประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 12 ครั้งที่ 3 ได้มีมติรับรอง “การตัดสินใจของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกี่ยวกับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ” โดยเสนอว่า “การเสริมสร้างความมีชีวิตชีวาของวิสาหกิจคือประเด็นหลักในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ” มีความจำเป็นต้อง“สร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างรัฐกับวิสาหกิจที่ประชาชนทั้งปวงเป็นเจ้าของและให้อิสระแก่วิสาหกิจมากขึ้น”

การแยกอำนาจในกรรมสิทธิ์กับอำนาจในการบริหารออกจากกันนั้น ทำให้เกิดรูปแบบการประกอบธุรกิจที่หลากหลายเพื่ออัดฉีดพลังความมีชีวิตชีวาให้กับวิสาหกิจซึ่งส่วนใหญ่ต่างใช้ระบบการรับเหมาดำเนินธุรกิจตามความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในสัญญา

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 1990 แห่งศตวรรษที่ 20 การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเริ่มมุ่งไปสู่ “การสร้างระบบวิสาหกิจสมัยใหม่” ในเวลาเดียวกัน ด้วยการเผยแพร่ “สุนทรพจน์ในภาคใต้”ของท่านเติ้ง เสี่ยวผิงและความก้าวหน้าของการปฏิรูปและการเปิดประเทศ เศรษฐกิจที่ไม่ใช่ของรัฐซึ่งมีเศรษฐกิจภาคเอกชนเป็นหลักและเศรษฐกิจทุนต่างชาติได้ผุดขึ้นมากมายเหมือนหน่อไม้หลังฝนตกในฤดูใบไม้ผลิ

นับถึงปี 1992 เมืองฝูโจวได้นำเข้าบริษัททุนต่างชาติ 1,800 บริษัท ซึ่งได้สร้างมูลค่าผลผลิตคิดเป็นหนึ่งในสามของมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมของทั้งเมือง เมื่อเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมากขึ้น รัฐวิสาหกิจจำนวนไม่น้อยได้แสดงให้เห็นถึงความเหนื่อยล้าและการดิ้นรนอย่างชัดเจนอันเนื่องมาจากข้อบกพร่องในระบบและกลไกของตนเอง

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ บางคนตระหนักว่าการปฏิรูปจากแง่อำนาจในกรรมสิทธิ์เท่านั้นจึงสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนายสี จิ้นผิงก็เป็นหนึ่งในนั้น


IN/LU

 

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)