ช่วงหลายปีมานี้ จีนกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น เป็นระดับปานกลางและระดับสูงในโลก ตั้งแต่ปี 1953 – 2021 ประชากรอายุ 65 ปีและอายุมากกว่า 65 ปี เพิ่มขึ้นจาก 26.32 ล้านคนถึง 200 ล้านคน มีสัดส่วน 4.4% เพิ่มขึ้นถึง 14.2% จนถึงปลายปี 2023 ประชากรอายุ 65 ปีและอายุมากกว่า 65 ปีเกิน 210 ล้านคน คาดว่าในปี 2030 จีนจะเข้าสู่ซุปเปอร์สังคมผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนมากกว่า 20%
เพราะฉะนั้น หนุ่มสาวจีนก็เริ่มกังวลว่า เมื่ออายุสูงแล้ว ตัวเองจะทำอย่างไร จะมีคนมาช่วยดูแลบ้างไหม เมื่อถึงตอนนั้น จะมีชีวิตอย่างไร ไปร้องเพลงและออกกำลังกายกับเพื่อนๆ ในสวน หรือว่า ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในบ้านเก่า หรือว่า อายุ 60 หรือ 70 ปีแล้วยังต้องทำงานเพื่อหาเงินบำนาญให้ตัวเอง ทุกคนจะแก่ชราอย่างช้าๆ แต่ว่าความกังวลเรื่องวัยเกษียณกลายเป็นปัญหาของหลายๆคน
ในช่วงหลายปีมานี้ คำว่า “ธนาคารเวลา” เป็นที่นิยมในประเทศจีน ซึ่งเป็นการบริการด้านการดูแลผู้สูงอายุ ที่ได้รับการกำกับดูแลจากรัฐบาล การปรับปรุงจากสังคม เนื้อหามีทั้งหมด 48 รายการใน 10หมวดหมู่ ได้แก่ การดูแลรักษาที่บ้าน การช่วยเหลือทางชีวิตประจำวัน และการปรับปรุงสภาพทางอารมณ์เป็นต้น แต่ละรายการมี “ราคา” ซึ่งมูลค่าก็คือ "เหรียญเวลา" ประชาชนที่ต้องการบริการสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ตามความต้องการ และอาสาสมัครจะให้บริการที่บ้านหรือองค์การดูแลผู้สูงอายุ ส่วนเวลาให้บริการของอาสาสมัครจะแปลงเป็น "เหรียญเวลา" และสามารถแลกการบริการในอนาคต
พูดง่ายๆก็คือ อาสาสมัครใช้เวลาว่างในการให้บริการผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การไปพบแพทย์ การพูดคุย การซื้อของ การทำความสะอาด ฯลฯ เวลาให้บริการเหล่านี้จะถูกบันทึกและจัดเก็บไว้ เมื่ออาสาสมัครแก่ตัวและต้องการความช่วยเหลือในอนาคต ก็สามารถแลกเปลี่ยนเป็นบริการดูแลผู้สูงอายุให้กับตัวเอง
เฉิน ซินอี๋ สาววัย 23 ปี เป็นหนึ่งในอาสาสมัคร เมื่ออยู่โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คุณแม่และคุณปู่ก็เสียชีวิตเนื่องจากอาการป่วยตามลำดับ หลังจากได้เห็นความไม่แน่นอนในชีวิตมากเกินไปแล้ว เธอจึงตัดสินใจเข้าร่วม "ธนาคารเวลา"
ความตั้งใจเดิมของเธอนั้นเรียบง่ายมาก คุณย่าของเธอป่วย เธอกังวลว่า ในอนาคต หากตัวเองไม่ได้อยู่กับคุณย่า ก็สามารถแลกเวลาการดูแลผู้สูงอายุและการบริการให้กับคุณย่า
ดังนั้น เมื่อมีเวลาว่างเธอก็ตัดผม ช่วยทำความสะอาด นวด วัดน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและอื่น ๆ ให้กับผู้สูงอายุกึ่งพิการ แต่สิ่งที่เธอทำมากกว่านั้นคือ การอยู่เป็นเพื่อน
เธอรู้ดีว่า เมื่อเข้าสู่วัยชรา สิ่งที่กลัวที่สุดคือความเหงา การถูกลืม การไม่มีใครสนใจ และความรู้สึกที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น การมีคนเอาใจใส่และการมีคนมาเยี่ยม มาทักทาย จึงเป็นความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุ
นางไฉ่ ลี่หยิ่ง ก็เป็นหนึ่งในอาสาสมัครธนาคารเวลา จนถึงปัจจุบัน ได้ให้บริการผู้สูงอายุเป็นเวลา 353 ชั่วโมง ผู้ได้รับการบริการคือผู้สูงอายุมากกว่า 150 คนในอาคารพักอาศัยที่เธออาศัยอยู่ เธอจะไปเยี่ยมผู้สูงอายุเหล่านี้เกือบทุกวัน เธอตัดสินใจว่า จะทำต่อไป จนถึงเวลาที่ตัวเองต้องใช้บริการเช่นกัน
หลี่ เหว่ยเปา มีเวลาในธนาคารเวลานานมากว่า ซึ่งมีกว่า 520 ชั่วโมงแล้ว เขากล่าวว่า ตอนที่ไปเยี่ยมแม่ที่บ้านพักคนชรา ผู้สูงอายุที่นั่นรู้ว่าเขาฝึกไทเก๊ก จึงขอให้เขาสอนบ้าง เขาจึงกลายเป็นอาสาสมัครคนหนึ่ง และไปเกือบทุกวัน เมื่ออากาศดี เขาก็สอนในสวนเล็กๆ ถ้าฝนตกหนักก็จะสอนในห้อง และเขาจะสอนเก็บเวลาไปถึงตอนที่เขาต้องการบริการดูแลเช่นกัน
ในธนาคารเวลา ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ผู้สูงอายุช่วยเหลือกัน ซึ่งผู้ที่มีอายุน้อยกว่าช่วยดูแลผู้ที่มีอายุมากกว่า นายจัน หนิงฮุย อายุ 62 ปี เคยช่วยเหลือคนชราเกือบ 100 คน ในจำนวนนี้ นางรุ่ย เสียงหยุน อายุ 79 ปี ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ นางรุ่ย เสียงหยุน มีลูกชายคนหนึ่งและลูกสาวคนหนึ่ง เมื่อโตขึ้น ทั้งลูกชายและลูกสาวก็ออกจากบ้านเพื่อทำงาน ดังนั้น ตั้งแต่สามีเสียชีวิตในปี 2010 เธอจึงใช้ชีวิตคนเดียว ซึ่งไม่เพียงต้องทนกับความเหงาตลอดเวลา ยังต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวานอีกด้วย
จนกระทั่งได้พบกับจัน หนิงฮุย ซึ่งไม่เพียงส่งอาหารเท่านั้น ยังพาเธอไปรับยาและไปพบแพทย์อีกด้วย บางที เธอมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ข้างนอกและเดินไม่ไหว ก็โทรถึงจัน หนิงฮุย เขาจึงขับรถมารับเธอกลับบ้าน ทำให้ชีวิตของรุ่ย เสียงหยุน มีคนที่พึ่งพาได้
สำหรับจัน หนิงฮุย แล้ว ตอนนี้เขามีสุขภาพที่ดีและยังมีเวลาว่างอีกมาก การมาอยู่เป็นเพื่อนกับผู้สูงอายุ ไม่เพียงทำให้ชีวิตในตอนนี้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยังได้ช่วยเก็บสะสมเวลาได้รับการบริการฟรีในอนาคตให้กับตัวเองอีกด้วย