ค้นหาแนวทางหลุดพ้นความยากลำบากให้กับวิสาหกิจ -- เส้นทางสี จิ้นผิง (111)

2024-08-19 12:58:25 | CMG
Share with:

ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แห่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงเกิดวิกฤตการเงินเอเชีย วิกฤตที่อู่ต่อเรือหมาเหว่ยเผชิญนั้นจึงมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกรณี การจะให้รัฐวิสาหกิจโดยรวมบรรลุเป้าหมายหลุดพ้นจากความยากลำบากได้อย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่นายสี จิ้นผิงคิดมาโดยตลอด

การมาถึงของวันขึ้นปีใหม่ของปี 2000 นั้น หมายความว่า“การฟันฝ่าต่อสู้สามปีเพื่อเอาชนะความยากลำบาก”ของรัฐวิสาหกิจได้เข้าสู่ปีสุดท้ายที่สำคัญ

ก่อนวันหยุดปีใหม่จะสิ้นสุดลง นายสี จิ้นผิงได้รีบเดินทางไปยังเมืองซานหมิงเพื่อสำรวจข้อมูลประกอบการวิจัยด้วยความใส่ใจเกี่ยวกับการปฏิรูปและพัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางที่ดีในการหลุดพ้นจากความยากลำบากให้กับวิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางที่รัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมโดยรัฐ 

หลังทำความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่วิสาหกิจต่างๆ เผชิญและได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ นายสี จิ้นผิงได้เสนอ “มาตรการ 2 ประการ”เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับอัตราส่วนหนี้สินที่สูงเกินและความยากลำบากด้านสภาพคล่อง คือ “ประการแรก ยื่นคำขออนุมัติเพื่อดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนอย่างจริงจัง วิสาหกิจสามารถขอแปลงเงินกู้ธนาคารให้เป็นทุนของธนาคาร (บริษัทบริหารสินทรัพย์ทางการเงิน) ในวิสาหกิจได้ เมื่อถึงเวลาที่ผลประกอบการทางเศรษฐกิจดีขึ้นก็สามารถซื้อคืนหุ้นที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ทางการเงินถืออยู่ได้ ซึ่งมาตรการนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาความต้องการเร่งด่วนของวิสาหกิจได้ และส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการอัพเกรดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจอย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประการที่สอง วิสาหกิจดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบภายในและปรับโครงสร้างสินทรัพย์  วิสาหกิจต่างๆ มีผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและตลาด ที่สามารถใช้เป็นทุนในการแสวงหาความร่วมมือกับบริษัทหรือกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาด้านเงินทุน ขณะเดียวกันภาครัฐทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆก็ต้องพิจารณาจากสภาพความเป็นจริง ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาและความยากลำบากของวิสาหกิจ”

หนึ่งปีต่อมา การแปลงหนี้เป็นทุนสามารถ “กู้ชีพ”อู่ต่อเรือหมาเหว่ยได้ สองปีต่อมา ด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐ บริษัทหวาหมิ่นก็ได้พลิกฟื้นคืนชีพผ่านการปรับโครงสร้างสินทรัพย์

บริษัทหวาหมิ่นถือเป็น“บริษัทหน้าต่าง”ของมณฑลฝูเจี้ยนที่ประจำอยู่ในฮ่องกง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1980 ภายใต้การอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยมีธุรกิจหลักคือการค้า การเงิน อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว การขนส่งทางเรือ ฯลฯ

คำบรรยายภาพ : เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2001 นายสี จิ้นผิง ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนกำลังตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรหมาเหว่ยในมณฑลฝูเจี้ยน (ภาพจากแฟ้มภาพ)

ปี 1997 เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตการเงินเอเชียและปัญหาการบริหารจัดการของบริษัทเอง บริษัทหวาหมิ่นจึงขาดทุนมหาศาลและตกอยู่ในสภาวะที่สินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สินอย่างมาก 

การจัดการกับวิกฤตหนี้ของ “บริษัทหน้าต่าง” ในฮ่องกงอย่างไรนั้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของฝูเจี้ยนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของเงินทุนต่างประเทศและเงินทุนในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ส่งผลต่อการขยายการปฏิรูปและเปิดประเทศต่อไป กระทั่งส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของฮ่องกงที่เพิ่งกลับคืนสู่มาตุภูมิอีกด้วย

รัฐบาลกลางให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องนี้และได้แต่งตั้งทีมประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีที่ขับเคลื่อนผ่านกระทรวงที่นำโดยกระทรวงความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจต่างประเทศและมี 6 กระทรวงและคณะกรรมาธิการเข้าร่วม เพื่อให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ หลังการพิจารณาสถานการณ์อย่างละเอียดแล้ว คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและมณฑลฝูเจี้ยนได้ตัดสินใจให้ดำเนินการปรับโครงสร้างสินทรัพย์บริษัทหวาหมิ่นและให้ความช่วยเหลือ

เวลานั้นบริษัทหวาหมิ่นขาดทุนมากถึง 4,400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เกี่ยวข้องกับธนาคาร 81 แห่งในฮ่องกง ในขณะที่รายรับทางการคลังของทั้งมณฑลฝูเจี้ยนในขณะนั้นมีเพียง 27,000 กว่าล้านหยวนเท่านั้น

เนื่องจากบริษัทหวาหมิ่นมีสถานะเป็น “บริษัทหน้าต่าง” ของฝูเจี้ยนในฮ่องกง เจ้าหนี้ต่างประเทศมองหนี้ของบริษัทหวาหมิ่นเป็นหนี้ภาครัฐ และเป้าหมายท้ายสุดในการติดตามหนี้จึงพุ่งไปยังทางการมณฑลฝูเจี้ยน

“ด้วยความรักชาติรักบ้านเกิดและเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ของมณฑล ประชาชนในฮ่องกงใจจดใจจ่อคาดหวังว่าทางการมณฑลฝูเจี้ยนจะให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม บางหน่วยงานและเจ้าหน้าที่จำนวนไม่น้อยในมณฑลมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็น สมควรให้ความช่วยเหลือหรือไม่  ช่วยเหลืออย่างไร  ใครจะช่วยเหลือ และช่วยเหลือด้วยอะไร บางคนถึงกับถามว่า 'ภายใต้ระบบทุนนิยมโดยสมบูรณ์ รัฐวิสาหกิจจะอยู่รอดได้หรือไม่? บทเรียนของบริษัทหวาหมิ่นยังไม่ลึกซึ้งพอหรือ?'” นายเฉา เต๋อกั้น รองผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบงานปรับโครงสร้างสินทรัพย์ของบริษัทหวาหมิ่น เขารู้สึกว่างานนี้ยากมากและก็อดไม่ได้ที่จะวิตกกังวล

นายสี จิ้นผิงปลอบใจเขาว่า “คุณเฉา ไม่ต้องกังวล เรามาร่วมกันหาทางแก้ไข ”

หากจะปรับโครงสร้างสินทรัพย์ใหม่ก็จำเป็นต้องนำสินทรัพย์คุณภาพดีออกมาจำนองกับธนาคารเพื่อขอสินเชื่อ ต้องยื่นขอโควต้าการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับคณะรัฐมนตรี และต้องมีทีมเจรจาที่เข้มแข็ง ในเวลานั้นยังไม่มีประสบการณ์ที่จะนำมาใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น จึงทำได้แค่ “คลำหินข้ามแม่น้ำ”

IN/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)