วัฒนธรรมชาติพันธุ์อี๋

2024-08-19 14:40:59 | CRI
Share with:

กลุ่มชาติพันธุ์อี๋มีประชากรทั้งหมดกว่า 9.8 ล้าน เป็นชนชาติน้อยใหญ่อันดับที่ 6 ของจีน มณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่มีประชากรชนชาติอี๋มากที่สุด โดยมีกว่า 5 ล้านคน

จังหวัดปกครองตนเองชนชาติอี๋ฉู่สงของมณฑลหยุนหนาน เป็นหนึ่งในแหล่งรวบรวมชาวอี๋ใหญ่ ทุกวันนี้ ที่นี่เน้นการพัฒนาสีเขียว การเกษตรทันสมัย และแพทยศาสตร์ (ด้านชีวภาพ)

- การเย็บปักถักร้อยดั้งเดิมชนชาติอี๋

ชาวอี๋มีชุดประจำชนชาติของตน ส่วนใหญ่เป็นผ้าสีดำ และประดับด้วยการเย็บปักถักร้อยที่ประณีต การเย็บปักถัดร้อยชนชาติอี๋ เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน มีประวัติกว่า 1,700 ปี หรือก่อนสมัยสามก๊ก งานปักชนชาติอี๋ส่วนใหญ่มีสีจัด ลายที่ปักจะเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น เขาแกะ เขาควาย ดวงตาของสัตว์ พืชไม้ ดอกไม้ เมล็ดพันธุ์ ภูเขา สายน้ำ สายฟ้า เป็นต้น สะท้อนถึงความเชื่อ ความเคารพ และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของชนชาติอี๋ เนื่องจากเครื่องปักทันสมัยเยอะขึ้น สาวๆที่มีทักษะทำการเย็บปักแบบดั้งเดิมนั้นน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้วัฒนธรรมเก่าแก่นี้เสี่ยงที่จะสูญหายไป จากการส่งเสริมของทางการท้องถิ่น ชาวโลกรู้จักงานปักชนชาติอี๋มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลายปีมานี้ งานปักชนชาติอี๋ปรากฏบนเวทีโลกมากขึ้น จนมีรายการสั่งซื้อจากประเทศยุโรปหลายประเทศด้วย เนื่องจากต้องเย็บมือ งานปักชนชาติอี๋จึงต้องใช้เวลานาน และขายในราคาสูง นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกแบบหนึ่ง

ปัจจุบัน งานปักชนชาติอี๋เป็นที่รู้จักและชื่นชอบมากขึ้นในโลก เนื่องจากผลงานออกแบบเสื้อผ้าที่มีปัจจัยเย็บปักอี๋ได้เข้าร่วมกิจกรรมแฟชั่นวีคระดับโลกหลายอย่าง เช่น แฟชั่นวีคที่ปารีส นิวยอร์ค มิลาน เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ รายการสั่งซื้อจากยุโรปมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

- เทศกาลคบเพลิง (หัวป่าเจี๋ย)

เทศกาลคบเพลิงเป็นเทศกาลดั้งเดิมและยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติอี๋ ตรงกับวันแรม 9 ค่ำเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เพื่อบูชาไฟ แต่ละพื้นที่จะเชิญผู้มีฐานะหรือพ่อหมด ที่เรียกกันว่า “ซูหนี” จุดกองไฟ ให้ทุกคนในหมู่บ้านจุดคบเพลิงติดต่อกันเพื่อขอพร โดยมีที่มาว่า ผู้คนเชื่อกันว่า ไฟจะช่วยขับไล่แมลง และปกป้องธัญญาหาร

- เทศกาลทาหน้าดำ (ฮวาเหลี่ยนเจี๋ย)

เทศกาลทาหน้าดำเป็นเทศกาลคึกคักมากที่สุดของชาติพันธุ์อี๋ เป็นเทศกาลในจังหวัดปกครองตนเองเหวินซาน มณฑลหยุนหนาน โดยเฉพาะชาวอี๋ในเขตผูเจ่อเฮย มีความหมายดั้งเดิมว่า รับไฟและรับความศิริมงคล โดยในอดีต ผู้คนจะใช้ผงถ่านสีดำใต้หม้อหรือในเตา ทาหน้ากัน ใครยิ่งหน้าดำ ก็ยิ่งจะมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและโชคดี ในอดีตถ้าผู้ชายมาทาหน้าดำผู้หญิงเป็นการแสดงความรักด้วย ถ้าฝ่ายผู้หญิงไม่มีใจก็จะหลบเลี่ยงไม่ยอมให้ทา ปัจจุบัน ผงที่ใช้ทาก็ได้ปรับปรุงสารประกอบ โดยใช้หญ้าพื้นเมืองที่ชื่อ “เซียงกู่” ทำแทน เพื่อดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน เทศกาลคบเพลิงและเทศกาลทาหน้าดำต่างกลายเป็นกิจกรรมคึกคักดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาย เพื่อร่วมกันสัมผัสกับสีสันวัฒนธรรมดั้งเดิมชองชาติพันธุ์อี๋ และแบ่งปันความสุข


Yim/Ldan

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)