“โมเดลจิ้นเจียง”--เส้นทางสี จิ้นผิง (118)

2024-09-16 19:29:39 | CMG
Share with:

ในช่วงเริ่มต้นการปฏิรูปและเปิดประเทศ  ชาวบ้านในตำบลเฉินไต้ เมืองจิ้นเจียงรู้ซึ้งถึงสัจธรรม“หากไม่มีเกษตรกรรมสังคมก็ไม่มั่นคง หากไม่มีอุตสาหกรรมประเทศก็ไม่มั่งคั่ง หากไม่มีการค้าขายชีวิตของประชาชนก็ไม่คึกคัก(เป็นสำนวนจีนที่หมายถึงสังคมขาดงานสาขาใดก็ไม่ได้)” จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่ว่า “ตำบลยังคงขาดเงินทุนแม้จะมีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในระดับสูงก็ตาม”และ“หมู่บ้านยังคงยากจนแม้มีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรสูงก็ตาม"

“ความยากจน” ทำให้ต้องแสวงหาการเปลี่ยนแปลง

พวกเขาพยายามทำลายพันธนาการของแนวคิด”ซ้าย”ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และพิจารณาจากเอกลักษณ์“การมีของเหลือใช้สามประการ”ในพื้นที่ที่เป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลเป็นจำนวนมากอันได้แก่ “มีบ้านเรือนเหลือใช้ มีเงินทุนเหลือใช้ มีแรงงานเหลือใช้”  ได้ก่อตั้งวิสาหกิจในชนบท ดำเนินการผลิตของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ไม้ขีดไฟ ฯลฯ ซึ่งขาดแคลนในสังคมจีนในเวลานั้น จนก่อรูปขึ้นเป็นโมเดล “ตลาด-เทคโนโลยี-วัตถุดิบ”

ปี ค.ศ.1984 เฉินไต้กลายเป็นตำบลแรกที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวม 100 ล้านหยวนในมณฑลฝูเจี้ยน และได้รับการยกย่องว่าเป็น“ดอกไม้แห่งวิสาหกิจชนบท”จากนายเซี่ยงหนาน เลขาธิการลำดับที่หนึ่งคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลฝูเจี้ยนในขณะนั้น

การผงาดขึ้นของตำบลเฉินไต้ได้ดึงตำบลอื่นๆ ให้เรียนรู้และเลียนแบบ นำมาซึ่งกระแสนิยมในการจัดตั้งวิสาหกิจชนบทในเมืองจิ้นเจียง ถึงช่วงปลายทศวรรษ 1980 แห่งศตวรรษที่ 20 สินค้าหลากหลายประเภท เช่น เสื้อผ้า รองเท้า หมวก และของใช้ประจำวันที่ผลิตในจิ้นเจียงถูกจำหน่ายไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศกระทั่งไปไกลถึงต่างประเทศ ก่อให้เกิดโมเดลการพัฒนาแบบจิ้นเจียงโดยรวม

ปี ค.ศ. 1989 มูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของเมืองจิ้นเจียงสูงถึงหลายพันล้านหยวน และรายรับทางการคลังเกิน 100 ล้านหยวนเป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ. 1992 จิ้นเจียงได้รับการยกระดับเขตบริหารจากอำเภอเป็นเมือง ผลิตภัณฑ์มวลรวมยังคงสามารถรักษาไว้ซึ่งอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเกือบร้อยละ 30 ต่อไป

ควบคู่ไปกับกระแสลมฤดูใบไม้ผลิแห่งการปฏิรูปและการเปิดกว้างทั่วประเทศ ทั้งประเทศเปี่ยมไปด้วยความมีชีวิตชีวา คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและทางการเมืองจิ้นเจียงส่งเสริมให้บรรดาวิสาหกิจเอกชนสร้างระบบวิสาหกิจสมัยใหม่ และฟันฝ่าต่อสู้ในโลกธุรกิจอย่างไร้พันธนาการ

คำบรรยายภาพ : การสัมมนาว่าด้วยหนทางการพัฒนาชนบทจีน (จี้นเจียง)ระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม ค.ศ.1994

ปี ค.ศ. 1994 เมืองจิ้นเจียงเริ่มเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของมณฑลฝูเจี้ยน เรือสำปั้นลำเล็กที่ง่อนแง่นในตอนแรกได้กลายเป็นเรือขนาดยักษ์ที่ฝ่าลมและคลื่นไปข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม ค.ศ.1994 มีการจัดสัมมนาว่าด้วยหนทางการพัฒนาชนบทจีน(จิ้นเจียง)ซึ่งมีสมาคมสังคมวิทยาแห่งประเทศจีน(Chinese Sociological Association-CSA)เป็นเจ้าภาพหลัก และร่วมจัดโดยสถาบันสังคมศาสตร์มณฑลฝูเจี้ยน  โรงเรียนพรรคคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลฝูเจี้ยน สถาบันวิจัยทางการเมืองคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลฝูเจี้ยน และสมาคมสังคมวิทยามณฑลฝูเจี้ยน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจาก 9 มณฑลและกว่า 10 กระทรวงและคณะกรรมาธิการส่วนกลางร่วมการประชุม ที่ประชุมได้รับรายงานการวิจัย 27 ฉบับ โดย 16 ฉบับได้วิเคราะห์และอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ “โมเดลจิ้นเจียง”

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า “โมเดลจิ้นเจียงแตกต่างจากทั้งโมเดลเจียงซูตอนใต้ โมเดลเวินโจว และโมเดลจูเจียง”  

“โมเดลเจียงซูตอนใต้” หมายถึงแนวทางที่ซูโจว อู๋ซี ฉางโจวและหนานทงซึ่งล้วนเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในมณฑลเจียงซูตอนใต้ใช้ปฏิบัติให้บรรลุการพัฒนานอกภาคเกษตรผ่านการพัฒนาวิสาหกิจชนบทในยุคเศรษฐกิจแบบวางแผน  “โมเดลเวินโจว” หมายถึงเมืองเวินโจวพัฒนาธุรกิจนอกภาคเกษตรด้วยรูปแบบอุตสาหกรรมครอบครัวและตลาดเฉพาะทาง นำมาซึ่งโครงสร้างการพัฒนาแบบ“สินค้าเล็ก ตลาดใหญ่”  “โมเดลจูเจียง” หมายถึงภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงที่อยู่ติดกับฮ่องกงและมาเก๊านั้นเดินบนหนทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเงินทุน เทคโนโลยี อุปกรณ์ และตลาดจากนอกดินแดนชั้นใน

สำหรับ“โมเดลจิ้นเจียง” ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในที่ประชุมสรุปว่าเป็นหนทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ “ถือการปรับตัวด้วยกลไกตลาด ระบบความร่วมมือด้วยการร่วมหุ้น และเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการพัฒนาร่วมกันของเศรษฐกิจประเภทต่างๆด้วย”

ในเวลานั้น นายสี จิ้นผิง เห็นชอบ “โมเดลจิ้นเจียง”ที่เสนอขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการดังกล่าว ในบทความเรื่อง “การศึกษาประสบการณ์จิ้นเจียงเพื่อเร่งสร้างยุทธศาสตร์สามช่องทาง - การสำรวจและการกลั่นกรองเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจิ้นเจียงอย่างรวดเร็วและยั่งยืน”ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฝูเจี้ยนเดลี่เมื่อ ค.ศ.2002 นายสี จิ้นผิงได้กล่าวถึงโมเดลนี้ว่า ด้านหนึ่งมันเริ่มต้นจากความสัมพันธ์ทางการผลิต พยายามทำลายอุปสรรคเชิงระบบที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนากำลังการผลิต อีกด้านเริ่มต้นจากการยกระดับการพัฒนากำลังการผลิต นำเข้าเทคโนโลยีการผลิต อุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการที่ทันสมัยอย่างแข็งขัน ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมดั้งเดิม เพิ่มคุณภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจและผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ปลดปล่อยและพัฒนากำลังการผลิตของสังคมเป็นอย่างมาก และมีบทบาทสะท้อนการพัฒนากำลังการผลิตขั้นสูงได้ดีขึ้น

เนื่องจาก “โมเดลจิ้นเจียง” เหมาะสมเป็นพิเศษกับระดับการพัฒนากำลังการผลิตในเวลานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเมืองจิ้นเจียงเป็นอย่างมาก จึงได้รับความสนใจอย่างสูงจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ เช่น นายเฟ่ย เซี่ยวทง , นายลู่ เสวี่ยอี้ เป็นต้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “โมเดลจิ้นเจียง” ก็ค่อยๆ เป็นที่รู้จัก และได้รับการขนานนามว่าเป็น“โมเดลเศรษฐกิจสำคัญสี่ประการ”ในการพัฒนาชนบทของจีนร่วมกับ “โมเดลเวินโจว” “โมเดลเจียงซูตอนใต้”และ“โมเดลจูเจียง”ที่มีขึ้นในเวลาต่อมา


IN/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)