วันที่ 8 ตุลาคม ที่กรุงปักกิ่ง ในการแถลงข่าวที่จัดขึ้นโดยสำนักงานสารนิเทศแห่งชาติของจีน นายเจิ้ง ซานเจี๋ย ประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรีจีนได้ทําการตกลงตามหลักวิทยาศาสตร์ว่า นอกจากการดําเนินการตามนโยบายที่มีอยู่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ จะมุ่งเน้นไปที่การออกนโยบายแบบส่วนเพิ่มที่รวมศูนย์อยู่ใน 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การปรับเพิ่มนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบต่อต้านวัฏจักร ขยายอุปสงค์ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการช่วยเหลือและการสนับสนุนต่อธุรกิจ ขับเคลื่อนให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังชลอตัวและฟื้นฟูเสถียรภาพ กระตุ้นตลาดเงินทุน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและพัฒนาด้วยดีอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนการปรับเพิ่มนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบต่อต้านวัฏจักร จําเป็นต้องเสริมสร้างการประสานงานโดยรวมและการบูรณาการระบบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งรวมถึงภาษีอากรทางการคลัง การเงินและเงินตรา การลงทุน การบริโภค และการกระจายรายได้ เป็นต้น เสริมสร้างนวัตกรรมของเครื่องมือนโยบาย ขณะที่ดำเนินนโยบายต่าง ๆ ต้องควบคุมให้ตรงเวลา มีความพอเหมาะและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งขยายผลของนโยบายในภาพรวม สนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นเปลี่ยนหนี้เพื่อขจัดความเสี่ยงด้านหนี้ ลดอัตราส่วนเงินสํารอง ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมีพลัง สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของรัฐเพิ่มเติมเงินทุนระดับแกน และสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่ดีขึ้นสําหรับการลงทุนและการรวบรวมเงินทุนของธุรกิจและการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
ในส่วนการลงทุนมุ่งเน้นไปที่การขยายการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ นายเจิ้ง ซานเจี๋ย ระบุว่าจากการสำรวจพบว่ามีความต้องการเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง การจัดให้เกษตรกรเปลี่ยนเป็นชาวเมือง การก่อสร้างพื้นที่เพาะปลูกที่มีมาตรฐานสูง การก่อสร้างเครือข่ายท่อใต้ดิน และการอัพเกรดของเมือง ในปีหน้าจีนจะยังคงออกพันธบัตรรัฐบาลพิเศษระยะยาวพิเศษและปรับทิศทางการลงทุนให้เหมาะสม
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการขาดอุปสงค์ภายในประเทศ จะใช้นโยบายขยายอุปสงค์ภายในประเทศให้มุ่งเน้นไปที่การเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนและส่งเสริมการบริโภค
นายเจิ้ง ซานเจี๋ย ระบุว่าในแง่ของการบริโภค จุดเน้นคือการรวมการส่งเสริมการบริโภคเข้ากับการดําเนินชีวิตของประชาชน เพิ่มรายได้ของกลุ่มชนที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ใช้ปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มการสนับสนุนต่อกลุ่มเฉพาะ ก่อนเดือนตุลาคม พื้นที่ต่างๆ ได้แจกเบี้ยยังชีพให้แก่คนจนขั้นรุนแรงและเด็กกําพร้า 2) ด้วยการอัพเกรดอุปกรณ์ขนาดใหญ่และส่งเสริมการใช้สินค้าบริโภคเก่าแลกใหม่ ส่งเสริมการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ และ 3) ขยายการบริโภคด้านการบริการซึ่งรวมถึงการดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็ก นอกจากนี้พัฒนาการบริโภคแบบใหม่ เช่น การบริโภคดิจิทัล และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นายเจิ้ง ซานเจี๋ย ยังสรุปว่าปัจจัยพื้นฐานและเงื่อนไขที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนไม่ได้เปลี่ยนแปลง จีนมีความมั่นใจในการบรรลุเป้าหมายและภารกิจของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดทั้งปี
(BO/ZHOU)