บทวิเคราะห์ : จีนระบุ เมื่อจีน-อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับเสียงรบกวน ทั้งสองฝ่ายควรเสริมสร้างความร่วมมือให้มากขึ้นอย่างไร

2024-10-13 17:37:09 | CMG
Share with:

เมื่อเร็วๆ นี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 44 และ 45 ปิดฉากลงที่กรุงเวียงจันทร์ ของ สปป.ลาว ในระหว่างการประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 27 ที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายประกาศว่า การเจรจาเพื่ออัพเกรดเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนให้เป็นเวอร์ชั่น 3.0 นั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว นับเป็นมาตรการสำคัญที่ยกระดับความเป็นหนึ่งเดียวกันของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจที่สนับสนุนกลไกพหุภาคีและการค้าเสรีของทั้งสองฝ่าย 

โดยนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้เสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือจีน-อาเซียนให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น 3 ข้อเรียกร้องให้สร้างเครือข่ายสามมิติขึ้น ขยายความร่วมมือทางอุตสาหกรรมใหม่ให้มากยิ่งขึ้น กระชับการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้น จีนยินดีที่จะกระชับความร่วมมือฉันมิตรกับประเทศในภูมิภาคนี้ให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น

ภายนอกสังเกตได้ว่าก่อนหน้าและภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้เคยมีเสียงรบกวนบ้าง เช่น มีนักการเมืองญี่ปุ่นประกาศแนวคิด “นาโต้แบบเอเชีย” สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์สร้างหัวข้อเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ในระหว่างการประชุมโดยมุ่งจะก่อให้เกิดการเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การกระทำเหล่านี้ล้วนแต่ฝ่าฝืนความปรารถนาต่อการพัฒนาอย่างสันติในภูมิภาคของอาเซียน นายโมหะหมัด ฮาซัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกล่าวอย่างชัดเจนว่าอาเซียนไม่ต้องการนาโต้ นายทองลุน สีสุลิด ประธานาธิบดีของ สปป.ลาวซึ่งเป็นประเทศประธานของการประชุมในครั้งนี้กล่าวเน้นว่าอาเซียนควรยืนหยัดเป้าหมายร่วมที่มีสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยืนหยัดกลไกพหุภาคีที่เสมอภาคและอำนวยผลประโยชน์แก่กัน

การขจัดเสียงรบกวนจับตามองผลประโยชน์ร่วม แก้ไขความขัดแย้งอย่างเรียบร้อยนั้น เป็นประสบการณ์อันมีค่าของความร่วมมือจีน-อาเซียน สามารถมอบให้ฝ่ายต่างๆ ศึกษาและนำไปใช้ได้


Zhou/Dan/Bo

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)