บทวิเคราะห์ : จีนใช้เวลา 3 ปีจัดการน้ำหนักประชากร

2024-10-28 17:04:17 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการสาธารณสุขและสุขภาพแห่งชาติจีนร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกีฬาแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ เปิดตัวกิจกรรม “ปีแห่งการจัดการน้ำหนัก  “ โดยกำหนดว่า จีนจะใช้เวลา 3 ปีตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป  ในการเผยแพร่วิทยาศาสตร์ด้านการจัดการดูแลควบคุมน้ำหนักในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่สังคมจีนในการจัดการดูแลควบคุมน้ำหนักอย่างถูกต้อง

ผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนมีระดับสูงขึ้น  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต  สุขภาพของประชาชนจีนก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทว่าปัญหาโรคอ้วนและน้ำหนักเกินก็ตามมาด้วย จากข้อมูลพบว่าอัตราการเป็นโรคอ้วนของประชากรจีนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 16.4% และอัตราการเป็นโรคอ้วนของเด็กและเยาวชนจีนในวัย 6-17 ปีอยู่ที่ 7.9% ดังนั้น  จีนจึงให้ความสําคัญอย่างมากกับการป้องกันและควบคุมโรคอ้วน และจะใช้มาตรการหลายประการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน  โดยจัดให้น้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญ และออกมาตรการเพื่อกำหนดให้น้ำหนักเป็นตัวบ่งชี้สําคัญในการประเมินโภชนาการและสุขภาวะของมนุษย์ 

น้ำหนักที่สูงหรือต่ำเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ น้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง ตลอดจนมะเร็งบางชนิด โรคผอมเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตช้า  การทํางานของภูมิคุ้มกัน  ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ  และการมวลกระดูกลดลง  ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในโลกเพื่อประเมินความอ้วน  ความผอมและสุขภาพร่างกายมนุษย์ โดยค่าดัชนีมวลกาย ที่สูงกว่า 24 ถือว่ามีน้ำหนักเกิน และค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 ถือว่าเป็นโรคอ้วน

ทางการจีนเรียกร้องให้ประชาชนจีนทุกคนรักษาและดูแลน้ำหนักตลอดชีวิตนับตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ และวัยชรา เพราะความผิดปกติของน้ำหนักในช่วงเวลาใดก็ตามอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่นโรคอ้วนในวัยเด็กจะส่งผลต่อความสามารถทางการเคลื่อนไหวและพัฒนาการกระดูกของเด็ก และยังมีผลเสียต่อพฤติกรรม ความรู้ความเข้าใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันโรคอ้วนในวัยเด็กและวัยรุ่นสามารถคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่  อีกทั้งจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายโรค จีนยึดหลักป้องกันมาก่อน โดยจะป้องกันการเกิดน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และน้ำหนักน้อยผ่านวิถีการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม  และการออกกําลังกายตามหลักวิทยาศาสตร์

วิธีการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องไม่เพียงแต่จะล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายการลดน้ำหนัก แต่ยังสามารถนําไปสู่การกลับไปอ้วนอีก  และความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากขึ้น เมื่อตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักแล้ว ควรทำในสิ่งที่ทําได้และไม่เร็วเกินไป ความเร็วของการลดน้ำหนักตามปกติต่อหนึ่งสัปดาห์คือ 0.5 กิโลกรัม และภายในเวลา 3-6 เดือน จะลดน้ำหนักตัวได้ 5%-10% หรือตั้งเป้าหมายที่สมเหตุสมผลภายใต้คําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อควบคุมน้ำหนักตามหลักวิทยาศาสตร์

ในอีก 3 ปีข้างหน้า  พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนจะรณรงค์ให้ครอบครัว  ชุมชน  โรงเรียน  ธุรกิจ  และสถาบันต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดการดูแลน้ำหนัก แนะนําให้สาธารณชนใช้วิถีการดำเนินชีวิตและปฏิบัติการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ   เพื่อให้ทุกคนรู้ถึงน้ำหนักมาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของตน  และวิธีการจัดการควบคุมดูแลน้ำหนักตามหลักวิทยาศาสตร์

พร้อมกันนี้  ทุกภาคส่วนของจีนจะประชาสัมพันธ์การดูแลน้ำหนักร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดือนแห่งการประชาสัมพันธ์วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพแห่งชาติ เดือนแห่งสุขอนามัยเพื่อรักชาติ สัปดาห์โภชนาการแห่งชาติ วันฟิตเนสแห่งชาติ สัปดาห์เพื่อประชาสัมพันธ์กีฬา  สัปดาห์เพื่อการศึกษาในครอบครัวแห่งชาติ วันโภชนาการของนักเรียนจีน และเดือนแห่ง “มารดาจีนที่มีสุขภาพดี” เพื่อจัดการกับปัญหาน้ำหนักต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง เด็กอ้วน (Little Fat Dun)  อ้วนขึ้นหลังเทศกาลและการหยุดพัก

นอกจากนี้  พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนยังจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้เครื่องชั่ง สายวัดเอว และปฏิทินจัดการน้ำหนักเป็นประจำ โดยให้ครอบครัว สถาบันทางการแพทย์และสุขภาพ โรงเรียน โรงแรม และสถานที่อื่นๆ ติดตั้งและให้บริการเครื่องชั่ง และให้บริการเพื่อสนับสนุนการควบคุมดูแลน้ำหนักให้มากขึ้น  โดยให้ชุมชนต่าง  ๆ ตั้งกระท่อมสุขภาพ  สวนสนุกเพื่อสุขภาพ ทางวิ่งจ๊อกกิ้ง  และติดตั้งอุปกรณ์ออกกําลังกายในสวนสาธารณะต่าง ๆ  ส่งเสริมการพัฒนาโรงอาหารเพื่อสุขภาพ  และร้านอาหารเพื่อสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงการขายอาหารที่มีเกลือมาก น้ำตาลสูง และไขมันสูงในมหาวิทยาลัย  นอกจากนี้  พื้นที่ต่าง ๆ ต้องประกันให้นักเรียนมีเวลาออกกําลังกายหนึ่งชั่วโมงในวิทยาเขตและนอกโรงเรียนทุกวันตามลำดับ จัดกิจกรรมฟิตเนสและชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การเดิน “หมื่นก้าว” อีกทั้งพัฒนาชุมชนและตำบลตัวอย่างของการดูแลน้ำหนัก

เชื่อว่า  ด้วยการใช้เวลา 3ปีในการจัดการดูแลน้ำหนักดังกล่าว สุขภาพของประชากรจีนจะดียิ่งขึ้น(IN/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)