บทวิเคราะห์ : จีนชี้ฟิลิปปินส์ใช้แผนการเมืองซ่อนไว้ใน “กฎหมายที่เลวร้าย” ของฟิลิปปินส์

2024-11-10 16:45:08 | CMG
Share with:

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 67 นายบองบอง มาร์กอส ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ลงนามใน “กฎหมายว่าด้วยน่านน้ำทะเล” และ “กฎหมายว่าด้วยเส้นทางเดินหรือในหมู่เกาะ” โดยจัดเกาะหวงเอี๋ยนและเกาะและหินโสโครกส่วนใหญ่ของหมู่เกาะหนานซาตลอดจนน่านน้ำในทะเลที่ใกล้เคียงของจีนอยู่ในน่านน้ำในทะเลของฟิลิปปินส์อย่างผิดกฎหมาย การกระทำเช่นนี้ของฟิลิปปินส์เป็นความมุ่งหมายที่จะทำให้ข้อตัดสินที่ผิดกฎหมายของมติเกี่ยวกับทะเลจีนใต้เป็นความจริงรูปแบบการร่างกฎหมายภายในประเทศ และเป็น “อาวุธลับ” ทางการเมืองภายในภูมิหลังทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งประเทศใหม่และนโยบายทางการทูตของรัฐบาลชุดนี้

 การที่ฟิลิปปินส์ประกาศใช้กฎหมายสองฉบับดังกล่าวภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงวันเดียว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันมิชอบ 3 ข้อได้แก่ 1. แสวงหาผลประโยชน์โดยฉวยโอกาสความวุ่นวาย ซึ่งในกรณีที่สถานการณ์สากลผันผวนและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพิ่งสิ้นสุดลงนั้น ลดแรงกดดันสื่อมวลชนในภูมิภาคและทั่วโลกในการประกาศใช้กฎหมายให้เบาลง 

2. ต้องการให้กฎหมายฉบับนี้ฟอกการกระทำที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ของฟิลิปปินส์ ก่อให้เกิด “ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้ว”  เพื่อใช้แรงกดดันให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดต่อไปให้การสนับสนุนเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้กับฟิลิปปินส์ต่อไป ขณะเดียวกันยังเป็นการโยนหินถามทางกับรัฐบาลสหรัฐและแสดงความจงรักภักดีกับรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ

จีนมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำทางทะเลและสิทธิประโยชน์ทางทะเลของทะเลจีนใต้ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และกฎหมายที่อุดมสมบูรณ์ และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้ง “สนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลแห่งสหประชาชาติ” และประกาศว่าการประกาศใช้ “กฎหมายว่าด้วยน่านน้ำทะเล” ของฟิลิปปินส์จะไม่ส่งผลกระทบต่อจีน


Zhou/Dan/Bo

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)