เมืองหนานผิงตั้งอยู่บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหมิ่นเจียงทางตอนเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน เป็นเมืองที่มีการบุกเบิกพัฒนาแรกสุด มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด และมีทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในฝูเจี้ยน ตั้งแต่สมัยโบราณ เมืองนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ยุ้งฉางแห่งฝูเจี้ยน ทะเลป่าทางตอนใต้ และแหล่งกำเนิดต้นไผ่ในประเทศจีน” โดยแต่ละปีเมืองนี้ได้จำหน่ายธัญพืชที่คิดเป็นสองในสามของมณฑลให้กับประเทศ ด้วยเหตุนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 เศรษฐกิจโดยรวมของหนานผิงจึงอยู่ในระดับหัวแถวของมณฑล
แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวเศรษฐกิจการเกษตรของหนานผิงได้ทิ้งร่องรอยที่ลึกมากไว้สองประการ ได้แก่ “เศรษฐกิจชาวนาขนาดเล็ก(Small-scale peasant economy)”ที่ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และเศรษฐกิจเชิงวางแผนที่โครงสร้างการปลูกพืชขาดความหลากหลาย
ช่วงกลางถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้เปลี่ยนจากการขาดแคลนอย่างยาวนานมาสู่การมีส่วนเกินสัมพัทธ์ และเปลี่ยนจากตลาดของผู้ขายมาเป็นตลาดของผู้ซื้อ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านนโยบาย ตลาด และสังคม ข้อได้เปรียบของเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมทางเหนือของฝูเจี้ยนก็ค่อยๆ ลดลง ปัญหา“3 เกษตร”(หมายถึงเกษตรกรรม ชนบท และเกษตรกร) นับวันยิ่งโดดเด่นมากขึ้น
“เกษตรกรทางตอนเหนือของฝูเจี้ยนปลูกธัญพืชมาเป็นเวลานาน พวกเขาคุ้นเคยกับระบบ'ส่งมอบให้รัฐให้ครบ เก็บไว้ให้ส่วนรวมให้เพียงพอ และส่วนที่เหลือเป็นของตนเอง' เมื่อต้องเผชิญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรในตอนนั้น พวกเขาทำอะไรไม่ถูกเลย ------ จะปลูกอะไรดี? จะปลูกอย่างไร? ปลูกแล้วจะขายอย่างไรดี? ------ ล้วนเป็นคำถาม! นายพัน เจี้ยนไฉ รองเลขาธิการเมืองหนานผิงในขณะนั้นกล่าว
ปี ค.ศ.997 ผลผลิตเฉลี่ยต่อโหม่ว(1 โหม่วเท่ากับ 0.417 ไร่)ของที่ดินเพาะปลูกในเมืองหนานผิงคิดอยู่ที่เพียง 1,185 หยวนเท่านั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งมณฑลในขณะนั้น ซึ่งอยู่ที่ 1,592 หยวน และเป็นเพียงประมาณหนึ่งในสามของจางโจว ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของฝูเจี้ยน
เกษตรกรรมที่ประสิทธิภาพการผลิตต่ำสามารถให้ผลผลิตที่พื้นๆเท่านั้น ปี ค.ศ.1997 ในตลาดหนานผิงราคาเฉลี่ยของส้มที่เป็นผลผลิตของท้องถิ่นอยู่ที่ 5 เซ็นต์(100 เซ็นต์เท่า 1 หยวน)ต่อชั่ง(เทียบเท่าครึ่งกิโลกรัม) และยังขายไม่ออก แต่เวลานั้น ราคาของแอปเปิ้ลฟูจิสีแดงที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอยู่ที่ 6 หยวนต่อชั่ง กลับมีความต้องการที่มากเกินอุปทาน
นี่คือสถานการณ์ “3 เกษตร” ของหนานผิงในขณะนั้น
คำบรรยายภาพ : ในช่วงบ่ายของวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2021 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนออกตรวจเยี่ยมเมืองหนานผิง มณฑลฝูเจี้ยน (ภาพโดยสำนักข่าวซินหัว)
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 นายสี จิ้นผิงสรุปปัญหา“ 3เกษตร”ของหนานผิงในบทความหัวข้อ“มุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมกลไกการทำงานในชนบท-การสำรวจและการไตร่ตรองเกี่ยวกับการส่งเจ้าหน้าที่ไปยังพื้นที่ชนบทของเมืองหนานผิงมณฑลฝูเจี้ยน” ซึ่งตีพิมพ์ใน “นิตยสารฉิวซื่อ”โดยระบุว่า “การเกษตรที่ยึดการปลูกธัญพืชมายาวนาน โครงสร้างอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ไม่สมเหตุสมผลและยากที่จะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดได้ ปัญหาการขายสินค้าเกษตรยากนั้นโดดเด่น ราคาตลาดอยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน และการเติบโตของเศรษฐกิจในชนบทก็ช้า เกษตรกรส่วนใหญ่หวังว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรสามารถช่วยพวกเขาเดินบนหนทางสู่ความมั่งคั่งได้โดยเร็ว แต่เครือข่ายส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชนบทในปัจจุบันนั้นอยู่ในสภาวะที่ขาดตกบกพร่องและประสบความยากลำบากอยู่มาก------”
จะหลุดพ้นจากปัญหาได้อย่างไร? สิ่งสำคัญที่สุดยังคงขึ้นอยู่กับการทำให้ปัจจัย”มนุษย์”มีความคล่องตัว
ปี ค.ศ. 1997 ขณะนายสี จิ้นผิงสำรวจประเด็น “3 เกษตร “ ในเมืองหนานผิง ได้เสนออย่างเฉียบคมว่าในกระบวนการขจัดความยากจนสู่ความพอกินพอใช้นั้น ต้องกำหนดให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในจุดที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการพัฒนา
“การบรรลุความทันสมัยทางการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาเกษตรกรที่มีคุณภาพสูง หากคุณภาพเกษตรกรต่ำ ทำอะไรก็จะยากไปหมด และก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ความคาดหวังและความกังวลของเราต่างก็อยู่ที่คุณภาพของเกษตรกรจะได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นหรือไม่! ”นายสี จิ้นผิง กล่าว
ปี ค.ศ. 1998 ฝนตกหนักติดต่อกัน 11 วันทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มแม่น้ำหมิ่นเจียงซึ่งไม่เคยประสบมาก่อนในรอบร้อยปี ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรในพื้นที่ทางเหนือของฝูเจี้ยนแย่ลงไปอีก
น้ำท่วมครั้งนี้ก่อให้เกิดความสูญเสียเกือบ 7,600 ล้านหยวน เทียบเท่ารายได้ทางการคลังรวมห้าปีของ 10 อำเภอ (เมือง เขต) ของเมืองหนานผิงในขณะนั้น ในจำนวนนี้ความสูญเสียทางการเกษตรอยู่ที่ 3,251 ล้านหยวน ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ โครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรที่สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
การเปลี่ยนแปลงของยุคตามการคาดการณ์และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คาดไม่ถึงผลักดันให้หนานผิงมาถึง “ทางแยก” ที่มิอาจเลี่ยงได้
วันที่ 20 - 30 ตุลาคม ค.ศ. 1998 นายสี จิ้นผิงเดินทางเยือนหนานผิงอีกครั้งเพื่อตรวจเยี่ยมการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ
“สหายสี จิ้นผิง ได้เยือนเมืองอู่หยีซาน เมืองเจี้ยนหยาง เมืองเจี้ยนโอว และเขตเหยียนผิงตามลำดับ จากการตรวจเยี่ยมครั้งนี้เขาพบว่าในกระบวนการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ ปัญหาต่างๆทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงระดับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในพื้นที่ทางเหนือของฝูเจี้ยนยังไม่สูง การส่งเสริมพันธุ์พืชใหม่และเทคโนโลยีใหม่ล้าหลัง และต้องยกระดับคุณภาพของเกษตรกรโดยด่วน เป็นต้น” นายพัน เจี้ยนไฉ กล่าว
ในระหว่างการตรวจเยี่ยม ขณะร่วมการประชุมสัมมนาว่าด้วยการประสารงานแบบจับคู่เพื่อสร้างสรรค์เขต(อำเภอ)สาธิตการหลอมรวมการเกษตร วิทยาศาสตร์และการศึกษาของทั้งมณฑลซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเจี้ยนหยาง นายสี จิ้นผิงชี้ให้เห็นว่า “ทางออกพื้นฐานสำหรับการเกษตรอยู่ที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา ต้องถือการสร้างความเจริญของภาคเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแหล่งที่มาของพลังเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของเศรษฐกิจการเกษตรและพัฒนาการเกษตรให้ทันสมัย”
“การเติบโตของเศรษฐกิจการเกษตรและชนบทจำเป็นต้องเปลี่ยนไปสู่หนทางที่พึ่งพาอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการยกระดับคุณภาพของคนงาน!” “ใบสั่งยา”ที่นายสี จิ้นผิงออกให้หลังจากได้ “ตรวจวินิจฉัยอาการ” ของหนานผิงนี้ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการเกษตร ซึ่งได้ปลุกผู้มีอำนาจตัดสินใจในหนานปิง
“เมล็ดพันธุ์”แห่ง“เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิเศษ” จึงเริ่มถูกนำมาหว่านตั้งแต่นั้นมา
IN/LU