40 ปีการปฏิรูปเปิดประเทศจีน-ความอัศจรรย์แห่งยุคสมัย (1)

2018-12-03 10:36CRI

图片默认标题_fororder_1

ประวัติศาสตร์มักจะมอบสติปัญญาและกำลังใจที่จะก้าวต่อไปให้กับเราเสมอ

“ปี 2018” ก็เป็นปีที่มีความพิเศษทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ เพราะเป็นปีครบรอบ “40 ปีแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีน”

เนื่องจากเมื่อปี 1978 ภายใต้การริเริ่มของนายเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเป็นผู้นำจีนสมัยนั้น จีนเริ่มใช้นโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ โดยเริ่มต้นจากชนบทและค่อยๆใช้ในตัวเมืองต่าง ๆ เริ่มต้นจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจพัฒนาเป็นการปฏิรูปอย่างรอบด้าน การปฏิรูปและเปิดประเทศ เป็นนโยบายเปลี่ยนชะตากรรมของจีน ช่วง 40 ปีมานี้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยกระดับสู่การมีกินมีใช้ และค่อยๆร่ำรวยขึ้น

ปี 2018 จีดีพีของจีนคาดว่าจะทะลุ 13.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สูงเกินจีดีพีทั้งหมดของ 19 ประเทศยูโรโซน ซึ่งอยู่ที่ 12.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนซึ่งมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคนพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ และก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ผู้คนจึงเรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์แห่งประเทศจีนในประวัติการพัฒนาของสังคมมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงของจีน

เมื่อเปรียบเทียบสถิติปี 1978 กับปี 2017 จากกรมสถิติแห่งชาติจีน จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจและสังคมจีน ซึ่งได้มาจากการปฏิรูปและเปิดประเทศ

  • จีดีพีของจีนเติบโตจาก 0.3645 ล้านล้านหยวนเมื่อปี 1978 เป็น 82.7 ล้านล้านหยวนในปี 2017

- จีดีพีเฉลี่ยต่อคนเติบโตจาก 385 หยวนเมื่อปี 1978 เป็น 59,660 หยวนในปี 2017 เฉลี่ยแล้วเติบโตปีละ 9.5%

- อัตราความยากจนในชนบทลดลงจาก 97.5% เมื่อปี 1978 เป็น 3.1% ในปี 2017 เป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับโดยเฉลี่ยของโลกอย่างมาก

- อัตราได้รับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการดำเนินนโยบายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีอย่างกว้างขวาง อัตราการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในปี 2017 อยู่ที่ประมาณ 45.7% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์

- สุขภาพของชาวจีนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชาชนอยู่ที่ 76.7 ปีในปี 2017 สูงกว่าระดับเฉลี่ยของโลก

- จีนได้สร้างเครือข่ายทางด่วน เครือข่ายรถไฟความเร็วสูง และอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก มีประชากรรายได้ระดับปานกลางจำนวนมากที่สุดของโลก สร้างเครือข่ายประกันสังคมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก เศรษฐกิจจีนเป็น 15% ของเศรษฐกิจโลก มีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากกว่า 30% กลายเป็นแรงกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิสาหกิจจีนคนหนึ่งกล่าวปราศรัยในที่ประชุมฟอรั่มนักวิสาหกิจจีนว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน คงไม่มีใครคาดการณ์ได้ถึงว่า จีนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงเช่นนี้

ในอดีตเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ปี 1978 เติ้ง เสี่ยวผิง เดินทางเยือนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จากกรุงโตเกียวถึงเมืองเกียวโต ระยะทาง 370 กิโลเมตร เติ้ง เสี่ยวผิง โดยสารรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของโลก เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นถามถึงความรู้สึกของเติ้งเสี่ยวผิง ท่านตอบว่า “รู้สึกว่าเร่งให้คนเราต้องวิ่ง ซึ่งขณะนี้เราต้องการนั่งรถไฟแบบนี้พอดี”

สมัยนั้น ทั่วโลกมีทางรถไฟความเร็วสูงเพียง 2 สาย ซึ่งเป็นของญี่ปุ่นทั้งสิ้น และจีนในสมัยนั้นราวช่วงทศวรรษที่ 1980 รถไฟของจีนส่วนใหญ่วิ่งได้เพียง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น และมีทางรถไฟให้บริการเพียง 50,000 กิโลเมตร

40 ปีผ่านไป สถิติเมื่อเดือนมกราคมปี 2018 แสดงว่า เส้นทางรถไฟให้บริการของจีนยาวถึง 127,000 กิโลเมตรแล้ว ซึ่งทางรถไฟความเร็วสูงมีความยาวถึง 25,000 กิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของทางรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดของโลก กลายเป็นเครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ขยับจากไล่ไม่ทัน เป็นไล่ตามคนอื่น และมาถึงทุกวันนี้ที่ขึ้นนำหน้าโลก รถไฟความเร็วสูงของจีนใช้เวลา 40 ปีจนมาถึงจุดนี้

มีอีกเรื่องหนึ่งที่คล้ายกับเรื่องข้างต้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1979 เติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ ได้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตรถยนต์ของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ซึ่ง CBS ได้รายงานข่าวว่า ช่องว่างด้านอุตสาหกรรมระหว่างจีนกับสหรัฐฯ สรุปได้ว่า ในโรงงานผลิตรถยนต์นี้ กรรมกรสหรัฐฯแต่ละคนสามารถผลิตรถยนต์ได้ปีละ 50 คัน ขณะที่กรรมกรจีนผลิตได้เพียง 1 คันเท่านั้น

เมื่อได้ชมกระบวนการการผลิตรถยนต์ของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์แล้ว เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวปราศรัยด้วยท่าทีผู้นำประเทศที่กำลังรอการพัฒนากิจการทุกอย่าง และพยายามพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมว่า จีนต้องเรียนรู้จากสหรัฐฯ และพยายามพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีน เขาคาดว่าอีก 20 ปีจะได้เห็นผลสำเร็จ

นายจอห์น ไนส์บิทต์ (John Naisbitt) นักวิชาการชื่อดังของสหรัฐฯ ได้รับฟังคำปราศรัยของเติ้งเสี่ยวผิง และหลังจากนั้นอีก 30 ปี เขาทบทวนว่า คำปราศรัยของเติ้งเสี่ยวผิงในขณะนั้น เป็นเรื่องที่ชาวสหรัฐฯรวมถึงตัวเขาเองมองไม่เห็นความเป็นไปได้เลย เพราะยอดการผลิตรายเดือนของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ในขณะนั้น เท่ากับยอดการผลิตรถยนต์ทั้งปีของจีน ทว่า สิ่งที่นายเติ้งกล่าวนั้นได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นแล้ว เขาเปรียบได้กับนักพยากรณ์ผู้ยิ่งใหญ่

图片默认标题_fororder_2

สถิติจากเว็บไซต์ธนาคารโลกพบว่า ปี 2015 ยอดมูลค่าการผลิตอุตสาหกรรมโลกอยู่ที่ 12.157 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยอดมูลค่าการผลิตอุตสาหกรรมของจีนอยู่ที่ 3.25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับหนึ่งและคิดเป็น 26.7% ของโลก รองไปเป็นสหรัฐฯอยู่อันดับสอง ญี่ปุ่นอยู่อันดับสาม และเยอรมนีอยู่อันดับสี่

สถิติจากสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์จีนแสดงว่า ยอดการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของจีนอยู่ที่ 29.02 ล้านคัน และ 28.88 ล้านคันตามลำดับ ยอดจำหน่ายสูงเป็นประวัติการณ์ ครองอันดับหนึ่งของโลกต่อเนื่องกัน 9 ปี  โดยเฉพาะในวงการรถยนต์พลังงานใหม่ ซึ่งเป็นวงการที่อุตสาหกรรมรถยนต์โลกแข่งขันกันอย่างดุเดือด ยอดจำหน่ายของจีนอยู่อันดับหนึ่งของโลก เป็น 45% ของทั่วโลก

ย้อนกลับไปวันที่ 18 เมษายน ปี 1984 เติ้งเสี่ยวผิงเคยกล่าวขณะพบกับแขกต่างประเทศว่า เมื่อเทียบกับเป้าหมายใหญ่ของจีนแล้ว การพัฒนาในช่วงหลายปีมานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เมื่อจีนพัฒนาเป็นประเทศมีกินมีใช้ จีนจะพัฒนาให้มีความทันสมัยเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วในช่วง 30-50 ปีในศตวรรษหน้า

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา ในปี 2017 จีดีพีของจีนอยู่ที่ 12.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังลดช่องว่างจากสหรัฐฯลงเรื่อยๆ

และในช่วง 40 ปีที่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ เคยมีช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์หลายครั้ง ซึ่งช่วง 5 ปีตั้งแต่จัดการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 นับเป็นการปฏิรูปเชิงประวัติศาสตร์ในรอบ 5 ปีที่สำคัญยิ่ง การปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนมีแนวโน้มก้าวกระโดดเกินคาด เพราะคณะกรรมการกลางฯ ซึ่งมีสีจิ้นผิงเป็นแกนนำมีความกล้าหาญทางการเมือง และมีความรับผิดชอบสูงในการแก้ปัญหาตกค้างหลายประการ และเดินหน้าในแผนการใหญ่ที่เคยอยากทำแต่ไม่สามารถทำได้ พร้อมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปเชิงลึก

การปฏิรูปเชิงลึกประการแรก-การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดและรูปแบบการพัฒนา

หลังการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 จีนเผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ปัจจัยและสถานการณ์ที่ซับซ้อนและไม่เอื้ออำนวยต่างๆ เช่น การพัฒนาไม่สมดุลและไม่ต่อเนื่อง คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีสีจิ้นผิงเป็นแกนนำเห็นว่า การพัฒนาของเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะปรับความสมดุลใหม่ นำเสนอแนวคิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ประสานงานกัน เป็นสีเขียว เปิดกว้างและแบ่งปันกัน เร่งปรับปรุงกลไกให้ตลาดแสดงบทบาทชี้นำในการจัดสรรทรัพยากรและให้รัฐบาลแสดงบทบาทที่เหมาะสม ปรับปรุงการควบคุมทางมหภาคที่สอดคล้องกับการพัฒนาของเศรษฐกิจจีน

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้การปฏิรูปด้านการอุปโภคเป็นโครงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน ผลักดันการเติบโตอย่างมั่นคง ส่งเสริมการปฏิรูป ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ อำนวยประโยชน์กับประชาชน  และป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ยืนหยัดยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ โดยนำเสนอยุทธศาสตร์สำคัญต่างๆ เช่น การสร้างสรรค์ตามข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ประสานการพัฒนาของกรุงปักกิ่งกับนครเทียนสินและมณฑลเหอเป่ย การพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี และกระตุ้นการพัฒนาด้วยการสร้างสรรค์

อีกทั้งเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และปรับพลวัตเก่าให้เป็นพลวัตใหม่ พยายามผลักดันการลดความยากจน ยืนหยัดยุทธศาสตร์การทำงานและมีทัศนะประเมินผลงานทางการเมืองที่ถูกต้อง มาตรการเหล่านี้ผลักดันให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปที่ลึกซึ้ง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นการพัฒนาประเทศใหม่

(Yim/cici/cici)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx