ภายใต้สถานการณ์โควิด หาหมอในปักกิ่งยากมั้ย

图片默认标题_fororder_20200518-1

ตามปกติ ชาวจีนจะบ่นกันว่า หาหมอยาก ซึ่งการหาหมอยากนั้น ไม่เพียงแต่อยู่ในกรุงปักกิ่งเท่านั้น เมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองใหญ่ อาทิ นครเซี่ยงไฮ้ เมืองกวางเจา นครฉงชิ่ง เป็นต้น ล้วนมีผู้ป่วยมาก โดยเฉพาะกรุงปักกิ่ง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการเมือง ยิ่งเป็นสถานที่ที่รวบรวมทรัพยากรที่ดีที่สุดทุกอย่างด้วย ฉะนั้น หากมีใครป่วยหนักหรือป่วยโรคซับซ้อน ก็จะพยายามเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเพื่อรอดชีวิต

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ใครๆ ที่อยากจะไปหาหมอ จะมีหลายช่องทางในการลงทะเบียน ตากปกติ ผู้ป่วยจะไปลงทะเบียนที่โรงพยาบาลได้ขณะไปถึงโรงพยาบาล แต่จะเสี่ยงกับการหมดเลขคิว ฉะนั้น ทางโรงพยาบาลจึงเสนอให้คนที่จะไปหาหมอพยายามนัดกับหมอหรือมองคิวจากช่องทางอื่น รวมทั้งวิธีโทรศัพท์ “114” ฮอทไลน์อำนวยความสะดวกแก่ชีวิตประจำวันเพื่อจองคิวและนัดกับหมอล่วงหน้า หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาลเพื่อลงทะเบียนก่อน ซึ่งวิธีนี้มีความสะดวกที่สุดในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ของหมอและแผนกให้บริการของโรงพยาบาล

ช่วงหลังๆ แอพลิแคชั่นของอาลีบาบา ก็คือ “จือฟู่เป่า(Alipay)” ก็โยนเข้าไปเชื่อมกับหลายโรงพยาบาลแล้ว ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งการลงทะเบียนจองคิวและชำระเงินด้วย การพัฒนาของเทคโนโลยีนี้ ทำให้การหาหมอสะดวกขึ้น และค่อยๆ ปรับสภาพที่มี “หวงหนิว” ก็คือคนกลางที่มุ่งขายโอกาสการหาหมอผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง โดยบางทีค่าลงทะเบียนจองคิวเพียง 10 หยวน แต่สามารถนำไปขายต่อในราคาสูงถึงหลายร้อยหยวนให้กับผู้ต้องการ

ขณะเผชิญกับโควิด-19 ช่วงแรกๆ ที่ยังไม่ได้นึกว่าโควิดจะร้ายแรงถึงขนาดไหน เพียงรู้ว่าเป็นไวรัสที่แพร่ได้ง่าย ทางโรงพยาบาลของกรุงปักกิ่งก็มีการปรับนโยบายการออกใบสั่งยาและให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุนั้น สามารถซื้อยามากกว่าปกติเพื่อลดจำนวนครั้งที่เดินทางมาโรงพยาบาล อย่างเช่น ยารักษาโรคบางชนิดที่แต่ก่อนกำหนดให้ซื้อได้ทีละ 1 กล่อง หลังจากหมอเช็คดูประวัติการใช้ยาแล้วอาจอนุญาตให้ซื้อทีละ 2 ตลับในช่วงพิเศษ

图片默认标题_fororder_20200518-2

แล้วจนถึงช่วงหลังๆ ที่โควิดรุนแรงขึ้น โรงพยาบาลเริ่มมีการปิดบริการของบางแผนกเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัส เช่น แผนกตรวจปาก จมูกและลำคอ แผนกทันตกรรม ซึ่งเป็นแผนกที่ต้องสัมผัสกับช่องทางแพร่เชื้อโดยตรง ส่วนแผนกอื่นๆ ก็ยังให้บริการอยู่แต่ต้องจองคิวล่วงหน้าไม่ว่าโทรด้วยฮอทไลน์หรือจองผ่านอินเตอร์เน็ต มิเช่นนั้นทางโรงพยาบาลจะไม่รับตรวจโรคให้

แต่สิ่งแปลกที่เกิดขึ้นคือ ไม่เกิดกรณีฟ้องร้องหรือประท้วงการหาหมอยาก ชาวบ้านกลับได้พิจารณาตนเองก่อนจะตัดสินใจไปหาหมอว่า ตัวเองป่วยจริงหรือเปล่า ใช้วิธีรักษาสุขภาพแบบธรรมชาติหรือเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงจนไม่ต้องไปหาหมอ นี่เป็นสิ่งดีที่เกิดขึ้นจนกล่าวได้ว่า โควิดได้สร้างวิถีชีวิตใหม่ให้ชาวจีนจนกระทั่งชาวโลก

จนถึงปัจจุบัน จีนได้ผลดีในการปราบโควิดและชาวจีนเริ่มฟื้นฟูการทำงานและการใช้ชีวิตตามปกติแล้ว ล่าสุดนี้ ไปโรงพยาบาล ได้พบว่า เรื่องหาหมอมีความสะดวกสบายเมื่อเทียบกับอดีต

โรงพยาบาลยังปฏิบัติตามนโยบายต้องนัดหมายก่อนด้วยการจองผ่านอินเตอร์เน็ตล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน แต่ก็อนุญาตให้คนที่ไม่มีความเสี่ยง(วิธีตรวจเช็คคือสแกนคิวอาร์ตรวจสอบการเดินทาง) มาโรงพยาบาลโดยไม่ได้นัดหมายได้ และหากหมอเห็นว่าสมควรที่จะตรวจโรคให้ก็จะให้ไปลงทะเบียนคิวตรวจพิเศษของวันนั้น

图片默认标题_fororder_20200518-3

อีกอย่างเพื่อลดการติดต่อกัน โรงพยาบาลต่างๆ มีการตั้งตู้เอทีเอ็มหรือเครื่องบริการอัตโนมัติตลอดจนหุ่นยนต์มาให้บริการกับผู้ป่วย ผู้ที่มาหาหมอสามารถใช้บริการด้วยตนเองหลายอย่างจากเครื่องเหล่านี้ โดยเริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน จ่ายค่ายาหรือค่าตรวจ รับผลการตรวจสุขภาพทั้งเป็นแผ่นกระดาษตรวจโลหิตและฟิล์มจากรายการตรวจสุขภาพประเภทซีทีหรือเอกซเรย์ และพิมพ์ใบเสร็จจ่ายเงิน เป็นต้น

ยกเว้นขั้นตอนวินิจฉัยโรคด้วยคุณหมอและการตรวจร่างกายด้วยพยาบาล แล้วเนื่องจากคนที่มีโรคประจำตัวลดจำนวนครั้งไปโรงพยาบาล และคนที่อาจจะเพียงสงสัยว่าตนเองป่วยหรือเปล่าก็ไม่ได้เดินทางไปโรงพยาบาลเนื่องด้วยกลัวติดเชื้ออีก จึงทำให้ผู้ป่วยลดน้อยลงและการหาหมอในปัจจุบันง่ายขึ้น

การโทรจองคิวหรือนัดหมายกับหมอผู้เชี่ยวชาญไม่ยากเท่าสมัยก่อนที่อาจจะต้องรอคิวเป็นเดือนกว่าจะได้โอกาสเจอกับคุณหมอตัวจริง และเมื่อหมอเสนอให้ดำเนินการตรวจบางอย่างก็ไม่ต้องจองคิวนานอีก เช่น การตรวจกระเพาะอาหารด้วยกล้อง gastroscope นั้น แต่ก่อนอาจจะต้องรอคิวเป็น 1-2 เดือนหากคุณหมอไม่ได้คิดว่าผู้ป่วยเป็นอาการด่วน แต่ตอนนี้ หากคุณหมอเสนอให้ตรวจ ก็จองกับพยาบาลอย่างรวดเร็วและตรวจในวันที่ 2 ได้เลย

โควิด สร้างวิถีชีวิตใหม่ให้กับมนุษย์ และหวังว่า ทุกคนจะให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและชีวิตมากขึ้น ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีความปลอดภัยและความสุขตลอดเวลา

Yim/Ping/Ping

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx/1.26.1