2020-09-26 19:42CMG
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ผู้นำสหรัฐฯ ใส่ร้ายจีนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร โดยจะถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส พร้อมทั้งประกาศว่า สหรัฐฯ เองเป็นผู้สร้างคุณูปการต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก คำกล่าวกลับขาวเป็นดำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า นักการเมืองบางคนของสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศทั่วโลก
ในประเทศจีน คำว่า “อารยธรรมทางระบบนิเวศ” ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แนวคิดการพัฒนา “เขาเขียวน้ำใสเปรียบดั่งภูเขาเงินภูเขาทอง” กลายเป็นฉันทามติของประชาชนจีน ในปี 2018 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนต่อหน่วย GDP ลดลง 45.8% เมื่อเทียบกับปี 2005 ในการประชุมปีนี้ นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีน ระบุอย่างชัดเจนว่า จีนจะพยายามทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดก่อนปี 2030 พยายามบรรลุซึ่งความสมดุลของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนปี 2060 ซึ่งประชาคมโลกให้การยอมรับโดยทั่วไป วันที่ 23 กันยายน กระทรวงสิ่งแวดล้อมของเยอรมนี ระบุว่า เป้าหมายปี 2060 ของจีนนั้น ถือเป็นแรงขับเคลื่อนให้ประเทศต่าง ๆ มีแรงผลักดันในการเข้าร่วมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
ในฐานะประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมมากที่สุดในโลกนั้น สหรัฐฯ ไม่ได้ให้สัตยาบันใน "พิธีสารเกียวโต" หรือ ถอนตัวจาก "ข้อตกลงปารีส" ซึ่งทำลายความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่ส่งออกขยะมูลฝอยใหญ่ที่สุดและประเทศบริโภคพลาสติกเฉลี่ยต่อคนมากที่สุดในโลก การที่สหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันในอนุสัญญาบาเซลและส่งขยะจำนวนมากไปยังประเทศกำลังพัฒนา หนังสือพิมพ์ “เดอะนิวยอร์กไทมส์” รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบัน ลดทอนการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า 100 รายการ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้สหรัฐฯ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอีก 1,800 ล้านตันภายใน 2035
การทะนุถนอมโลกเป็นทางเลือกเดียวสำหรับมนุษยชาติ หากนักการเมืองอเมริกันยังคงใช้ปฏิบัติการตามอำเภอใจ ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบต่ออนาคตของทั่วโลก นักการเมืองอเมริกันจะแบกรับรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์นี้ได้หรือไม่
Tim/LR/ZDan