2020-10-16 17:37CRI
นายอู๋ กว่านฟู่ ชาวนาในครอบครัวยากจนของอำเภอจื่อหยูน ซึ่งอยู่ท่ามกลางภูเขาหมาซาน ไม้คานเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันในอดีต แต่ปัจจุบันกลายเป็นของที่ระลึก เขาเล่าว่า สมัยก่อนช่วงเช้ามืดก่อนฟ้าสาง เขาต้องเดินทาง 7 - 8 กิโลเมตรเพื่อไปหาบน้ำดื่ม
ช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวใช้ความพยายามแก้ไขปัญหาน้ำดื่ม โดยระดมเจ้าหน้าที่รัฐบาลและประชาชนทั่วไปดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทาน สร้างอ่างเก็บน้ำตามแม่น้ำลำคลอง วางท่อส่งน้ำไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ประวัติศาสตร์การขาดแคลนน้ำของมณฑลกุ้ยโจวจึงกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง
ที่หมู่บ้านอิงจ้าย สมัยก่อน บนหลังคาของทุกครัวเรือนมักจะมีท่อเก็บน้ำฝนเพื่อใช้เป็นน้ำดื่ม แต่ปีนี้ ชาวบ้านทุกคนล้วนมีน้ำประปาให้ดื่มแล้ว
กำนันตำบลไต้ฮั่ว ในอำเภอฉางซุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ยากจนพิเศษ ก่อนปี 2014 ที่นี่ไม่มีการผลิตใด ๆ แต่ปัจจุบัน มีการสร้างอ่างเก็บน้ำในท้องถิ่น น้ำประปาเข้าถึงทุกครัวเรือน ชาวนาในท้องถิ่นเลี้ยงหมู 50,000 ตัว ปลากว่า 600,000 ตัว และไก่ 80,000 ตัว กลายเป็นพื้นที่ปศุสัตว์ของเมืองกุ้ยหยาง เมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว
อำเภอเวยหนิงเป็นอำเภอที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากและมีจำนวนประชากรมากที่สุด ช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา ทางการลงทุน 820 ล้านหยวนก่อสร้างโครงการชลประทาน วางท่อส่งน้ำยาวกว่า 5,000 กิโลเมตร สร้างพื้นที่ปลูกผักกว่า 30,000 ไร่ นอกจากนี้ ยังสร้างตลาดค้าส่งผักสดขนาดใหญ่ เพื่อส่งออกไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกษตรกรจำนวนกว่า 200,000 คนพ้นจากความยากจน
ตลอดช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา ทางการมณฑลกุ้ยโจวลงทุนกว่า 280,000 ล้านหยวนพัฒนาโครงการชลประทาน โดยสามารถจ่ายน้ำได้ปีละ 12,370 ล้านลูกบาศก์เมตร รองรับพื้นที่การเกษตรกว่า 1.8 ล้านไร่
(Tim/Lin/Zhou)