เรื่องราวขจัดความยากจนของหมู่บ้านมณฑลเสฉวน

2020-10-24 09:24CMG

สภาพในอดีตก่อนพ้นความยากไร้ของหมู่บ้านหัวผู่ (ถ่ายภาพเมื่อ ก.ค. 2016)

เรื่องราวขจัดความยากจนของหมู่บ้านมณฑลเสฉวน_fororder_图片1

สภาพในปัจจุบันที่เจริญขึ้นของหมู่บ้านหัวผู่ (ถ่ายภาพเมื่อ พ.ค. 2020)

เรื่องราวขจัดความยากจนของหมู่บ้านมณฑลเสฉวน_fororder_图片3

ครูโรงเรียนอนุบาลในหมู่บ้านหัวผู่ กำลังสอนหนังสือเด็ก ๆ (ถ่ายภาพเมื่อ มี.ค. 2019)

เรื่องราวขจัดความยากจนของหมู่บ้านมณฑลเสฉวน_fororder_图片4

ชาวบ้านหมู่บ้านหัวผู่ กำลังตากหัวไชเท้า (ถ่ายภาพเมื่อ พ.ค. 2020)

เรื่องราวขจัดความยากจนของหมู่บ้านมณฑลเสฉวน_fororder_图片5

โรงเรือนเพาะเห็ดมอเรลในหมู่บ้านหัวผู่ (ถ่ายภาพเมื่อ เม.ย. 2020)

พื้นที่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน ช่วงระหว่างแม่น้ำจินซาเจียงกับแม่น้ำต้าตู้เหอ ที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก เป็นเทือกเขาต้าเหลียงซานที่กว้างใหญ่ไพศาล ในช่วงเวลานับพันปีที่ผ่านมา ชนเผ่าอี๋หนึ่งในชนชาติส่วนน้อยของจีนได้รวมตัวตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่นี่ยาวนานรุ่นแล้วรุ่นเล่า เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขาลึก จึงมีความทุรกันดารและล้าหลังมาเป็นเวลายาวนาน ความเปลี่ยนแปลงของ “หมู่บ้านหัวผู่”  ถือเป็นตัวอย่างการพัฒนาของหมู่บ้านยากจนในบริเวณเทือกเขาต้าเหลียงซานแห่งนี้

“หมู่บ้านหัวผู่” เป็นหมู่บ้านที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 2,700 เมตร ข้อมูลเมื่อปี 2014 หมู่บ้านแห่งนี้มีประชากร 187 ครัวเรือน 780 คน ในจำนวนนี้ มี 74 ครัวเรือน 203 คน ถูกขึ้นทะเบียนเป็นครอบครัวยากจน อัตราความยากจนสูงถึงร้อยละ 26

นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความห่วงใยเขตชนเผ่าอี๋ตามเทือกเขาต้าเหลียงซานมาโดยตลอด ก่อนเทศกาลตรุษจีนปี 2018 สี จิ้นผิงเคยเดินทางไปเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่และประชาชนที่นั่น และหวังให้พี่น้องร่วมชาติชนเผ่าอี๋พ้นความยากจนมีชีวิตที่ดีขึ้นเร็ววัน ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปเขตชนเผ่าอี๋แห่งนี้ และรู้สึกซาบซึ้งยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การนำของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่มีนายสี จิ้นผิงเป็นแกนกลาง เจ้าหน้าที่และประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมแรงร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและลงมือทำอย่างจริงจัง เพื่อเอาชนะสงครามขจัดยากจนในเขตเทือกเขาเหลียงซาน ทำให้หมู่บ้านหัวผู่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่

การย้ายถิ่นฐานพำนักภายใต้การช่วยเหลือจากรัฐบาล

คำว่า “หัวผู่” ในภาษาชนเผ่าอี๋ หมายถึง “ยอดเขาสูง” ที่นี่มีอากาศหนาวเย็นและออกซิเจนน้อย ดินไม่อุดมสมบูรณ์จึงมีผลผลิตน้อย ด้วยเงื่อนไขและสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตร ชาวบ้านจึงมีชีวิตอย่างยากลำบากมาเป็นเวลายาวนาน ในอดีต ชาวบ้านที่นี่อาศัยอยู่ในบ้านดิน อาหารมีแต่มันฝรั่ง ผักดองและขนมปังนึ่งที่ทำจากแป้งบักวีต (Buckwheat)  แค่พอประทังชีวิตไปวัน ๆ 

จนเมื่อปี 2016 หมู่บ้านหัวผู่ได้เสร็จสิ้นกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐาน ชาวบ้านยากจนได้ย้ายเข้าไปอาศัยในบ้านใหม่ทั้งหมด และทั้งหมู่บ้านได้หลุดพ้นความยากจนเมื่อปี 2018 ทุกวันนี้ เมื่อเดินเล่นในหมู่บ้าน จะเห็นบ้านใหม่ที่ฉาบผนังภายนอกเป็นสีขาวและหลังคาปูด้วยกระเบื้องสีเทาตั้งเรียงรายอย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่าง ๆ ที่ครบครัน เช่น ห้องพยาบาล ห้องเรียนรู้วัฒนธรรม โรงเรียนอนุบาล บ่อกักเก็บน้ำ ถนนยางมะตอย และโคมไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ตามสองข้างถนน เป็นต้น

ชี๋ปี่จื่ออามู่ ซึ่งเคยถูกขึ้นทะเบียนเป็นชาวบ้านยากจน เป็นคุณป้าชนเผ่าอี๋ที่รักความสะอาด เธอบอกกับผู้สื่อข่าวว่า “เมื่อก่อนอยากรักษาความสะอาดแต่ไม่มีเงื่อนไข บ้านดินจะกวาดทำความสะอาดยังไงก็เปล่าประโยชน์ ทุกวันนี้บ้านใหม่ได้ปูกระเบื้องทั้งพื้นและผนัง ทำความสะอาดง่ายมาก บ้านก็สว่างขึ้นมากด้วย”

การพัฒนาธุรกิจตามเงื่อนไขท้องถิ่น

ในสมัยก่อน การผลิตในเขตเทือกเขาเหลียงซานมีสภาพที่ล้าหลังมาก โดยเฉพาะในบางพื้นที่ยังคงทำเกษตรกรรมแบบโบราณที่แผ้วถางเผาป่า ปัจจุบัน ทุกคนต่างก็ตระหนักแล้วว่า การพัฒนาธุรกิจเป็นทางออกให้ตนเองหลุดพ้นความยากไร้และก้าวสู่ความมั่งคั่ง

หมู่บ้านหัวผู่มีพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้และทุ่งหญ้าไม่น้อย  แสงแดดก็มีเพียงพอ แต่ปัญหาหลักคือความหนาวเย็นของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณการผลิตมันฝรั่ง ข้าวบักวีตและธัญญาหารอื่น ๆ ต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ภายใต้การชี้แนะของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลเสฉวน หมู่บ้านหัวผู่ได้นำเข้าพันธุ์มันฝรั่งที่ปริมาณการผลิตสูงและมีศัตรูพืชน้อย โคพันธุ์ซิมเมนทอลที่ปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์สูง ซึ่งถือเป็นการเปิดหนทางสู่การขจัดความยากจนและแสวงหาความร่ำรวยให้แก่ชาวบ้านยากจนในหมู่บ้าน นอกจากนี้ เพื่อค้นพบธุรกิจที่เหมาะสมกับสภาพเงื่อนไขของหมู่บ้าน ในช่วงปีหลัง ๆ ที่ผ่านมา ทางหมู่บ้านยังได้ทดลองปลูกเห็ดมอเรล สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่และสายน้ำผึ้งตามลำดับ ในขณะเดียวกันยังก่อตั้งสหกรณ์เพาะปลูกมืออาชีพโดยประสานให้ครัวเรือนที่ยากจนเข้าร่วมถือหุ้นด้วยที่ดินหรือเงินทุน มีการจัดเตรียมโรงเรือนเพาะปลูก พันธุ์พืชและให้การแนะนำทางเทคนิคอย่างเป็นเอกภาพ

นอกจากธุรกิจเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่มีเอกลักษณ์แล้ว หมู่บ้านหัวผู่ยังใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพธรรมชาติและวิถีชีวิตประจำชนเผ่า บุกเบิกธุรกิจท่องเที่ยวชนบท โดยประสานภาคการเกษตรกับการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน โม่เซ่อเอ๋อร์หั่ว วัย 23 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านยากจนเคยไปทำงานที่โรงงานอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากทางหมู่บ้าน ทุกวันนี้เธอกำลังประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ในหมู่บ้าน เมื่อถึงช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว เธอทำรายได้หลายพันหยวนต่อเดือน เธอบอกผู้สื่อข่าวว่า “เดี๋ยวนี้ไม่ต้องออกไปไกลก็สามารถทำเงินได้ รู้สึกพอใจมาก หวังว่าวันข้างหน้าธุรกิจท่องเที่ยวจะคึกคักยิ่งขึ้น มีคนแห่มาท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น”

การช่วยเหลือผู้ยากไร้โดยให้การศึกษาเป็นที่นิยมของชาวบ้าน

ในอดีต ชาวบ้านหมู่บ้านหัวผู่ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา พวกเขาเห็นว่าการส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือ สู้ให้เด็กมาช่วยทำไร่ทำนาหรือไปเป็นแรงงานรับจ้างเพื่อสร้างรายได้แต่เนิ่น ๆ ไม่ได้ แต่ช่วงปีหลัง ๆ นี้ ปฏิบัติการขจัดความยากจนด้วยการศึกษา ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากขึ้นตระหนักแล้วว่า มีแต่การเรียนหนังสือเท่านั้น จึงจะสามารถแก้ไขต้นเหตุแห่งความยากจนและเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ ปัจจุบัน เด็ก ๆ ในวัยเรียนทั้งหมด 137 คน ต่างได้เข้าเรียนหนังสือตามปกติแล้ว นอกจากนั้น ทางหมู่บ้านยังได้สร้างโรงเรียนอนุบาล 2 แห่ง เพื่อประกันให้เด็ก ๆ สามารถพูดภาษาจีนกลางได้ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา

เจี๋ยไหลจื่อเซีย เป็นนักศึกษาคนแรกที่มาจากครอบครัวยากจนของหมู่บ้านหัวผู่ กำลังศึกษาปริญญาตรีอยู่ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยการแพทย์ซีหนาน เมื่อหวนนึกถึงอดีต เธอรู้สึกว่าเด็ก ๆ ในทุกวันนี้โชคดีจริง ๆ เธอบอกผู้สื่อข่าวว่า เมื่อก่อนในหมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียนอนุบาล ตนเองอายุ 9 ขวบแล้วเพิ่งเข้าเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลานั้น หมู่บ้านยังไม่มีถนนลาดยาง จากบ้านไปโรงเรียนต้องเดินเท้า 3-4 กิโลเมตร เมื่อฝนหรือหิมะตก ถนนจะกลายเป็นถนนดินโคลน แค่จะดึงเท้าขึ้นจากดินโคลนยังยากลำบากเลย เด็กในวัยเดียวกันกับตนเองมีน้อยคนมากที่ไปเรียนหนังสือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ปัจจุบันนี้ เจี๋ยไหลจื่อเซียกลายเป็นแบบอย่างของเด็ก ๆ ทั้งหมู่บ้านไปแล้ว เธอวางแผนไว้ว่าหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะกลับมาทำงานบริการบ้านเกิด ช่วยสร้างบ้านเกิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้น

เจ้าหน้าที่บริหารหมู่บ้านหัวผู่กล่าวว่า การให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษานั้นถือเป็นการลงทุนให้แก่อนาคต ย่อมคุ้มค่าแน่นอน อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อหมู่บ้านมีเงินเพียงพอจากการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม ทางหมู่บ้านจะตั้งกองทุนการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นกำลังใจให้เด็กจำนวนมากขึ้น สามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาได้

ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติตามยุค ยกเลิกค่านิยมที่ล้าสมัย

เนื่องด้วยอารยธรรมทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อก่อนหมู่บ้านแห่งนี้มีค่านิยมและประเพณีที่ล้าสมัยอยู่ไม่น้อย เช่น การจัดงานเลี้ยงใหญ่เกินควร ใช้ชีวิตปกติอย่างประหยัดมัธยัสถ์แต่กลับจัดงานศพอย่างสิ้นเปลือง เรียกค่าสินสอดสูง และอื่น ๆ ซึ่งสร้างภาระทางเศรษฐกิจอย่างหนักแก่คนในหมู่บ้านด้วยกัน อีกทั้งกลายเป็นโซ่ตรวนทางจิตใจของการหลุดพ้นความยากจนอีกด้วย เจ้าหน้าที่บริหารและทีมงานขจัดความยากจนประจำหมู่บ้านตระหนักว่า ถ้าไม่ดำเนินการปฏิวัติความคิดและค่านิยมของชาวบ้าน จะให้ความช่วยเหลือมากเพียงไรก็อาจจะ “กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ในชั่วข้ามคืน”

เจี๋ยตี้เอ๋อร์จื่อ เล่าเรื่องอดีตให้ฟังว่า เมื่อก่อนเวลาที่บ้านจัดงานศพ จะมีญาติและเพื่อนที่มาร่วมงานมากถึง 800-900 คน แค่วัวอย่างเดียวก็ต้องฆ่าถึง 10 กว่าตัว บวกค่าบุหรี่ เหล้าและอื่น ๆ แล้วจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เขาจำต้องไปหายืมเงินมา หลังจากนั้นเขากับน้องชายและน้องสาวต้องช่วยกันออกไปหางานทำเพื่อใช้หนี้ แต่ “หนี้สินที่ติดค้าง 10 กว่าปีก็ไม่สามารถสะสางได้” ทุกวันนี้ ทางหมู่บ้านได้กำหนดกฎระเบียบปฏิบัติของหมู่บ้านโดยเฉพาะว่า ไม่ว่าจัดงานแต่งหรืองานศพ ต่างก็ต้องยึดหลักความเรียบง่ายไม่ฟุ่มเฟือย ได้ช่วยลดภาระทางการเงินของชาวบ้านอย่างมาก

นอกจากนี้   การปรับเปลี่ยนประเพณีตามยุคสมัยและยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติที่ล้าสมัยของหมู่บ้านแห่งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นได้ในอีกหลายด้าน เช่น การรับประทานอาหาร นิสัยที่ถูกสุขอนามัยและ “การปฏิวัติห้องน้ำ” เป็นต้น

ทีมงานขจัดความยากจนประจำหมู่บ้านสร้างผลงานมากมาย

ในหมู่บ้านหัวผู่มีชายหนุ่มกลุ่มที่ทำงานอย่างกระตือรือร้น ชาวบ้านชนเผ่าอี๋เรียกพวกเขาอย่างเป็นกันเองด้วยภาษาอี๋ว่า “มู่จี๋มู่ซี” ซึ่งมีความหมายว่า “ญาติ” คนกลุ่มนี้ก็คือทีมงานขจัดความยากจนประจำหมู่บ้านนั่นเอง พวกเขามีทั้งหมด 7 คน มี 4 คนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป มีอายุเฉลี่ย 33 ปี

ลั๋ว อีถี่ ซึ่งผิวคล้ำสุดเพราะตากแดดเยอะ เป็นคนแรกที่มาทำหน้าที่ประจำหมู่บ้านแห่งนี้ เขากล่าวว่า เหตุผลที่เลือกมาทำงานในหมู่บ้านหัวผู่ ก็เพื่อช่วยพี่น้องชาวเผ่าอี๋ให้มีชีวิตที่ดี ทุกครั้งที่นึกถึงเวลาไปพูดคุยเพื่อช่วยแก้ไขความยากจนอย่างจริงใจกับชาวบ้าน ก็จะมีรู้สึกว่าหลายปีที่ผ่านมาตนเองไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเปล่าประโยชน์

ขณะสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวรู้สึกได้ว่า ช่วงหลายปีที่ทีมงานขจัดความยากจนมาประจำในหมู่บ้านแห่งนี้ พวกเขาได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนท้องถิ่นด้วยการทำงานที่เปี่ยมด้วยความจริงใจ คุณป้าชาวเผ่าอี๋คนหนึ่งกล่าวว่า “ทีมงานขจัดความยากจนประจำหมู่บ้านเสมือนลูกชายของตนเอง ไม่อยากให้พวกเขาจากไปไหนเลย” เลออู๋จื่อปู้ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านหัวผู่กล่าวว่า “เดี๋ยวนี้เมื่อชาวบ้านจะฆ่าหมูเชือดไก่ มักจะเชิญทีมงานนี้มารับประทานด้วยกัน ท่านเลขาธิการใหญ่สีจิ้นผิงคิดถึงพวกเรา ได้จัดส่งทีมงานดีขนาดนี้มาให้เรา ประชาชนชาวเผ่าอี๋ขอบคุณพรรคคอมมิวนิสต์จีนและจะก้าวไปข้างหน้าตามการนำของพรรคตลอดไป ”

YIM/LU

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)