2020-11-13 14:09CMG
วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2013 นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดินทางไปตรวจเยี่ยมหมู่บ้านโป๋โฮ่ว เมืองซานย่า มณฑลไหหลำเขากล่าวฝากความปรารถนาดีด้วยความเมตตากรุณาว่า “จะถึงมาตรฐานเหลือกินเหลือใช้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน” ซึ่งอัดฉีดพลังขับเคลื่อนอันเข้มแข็งต่อการขจัดความยากจนและมุ่งสู่การเหลือกินเหลือใช้ พร้อมทั้งยังทำให้เกษตรกรจีนหลายร้อยล้านคนรู้สึกอุ่นใจด้วย
เปลี่ยนจากชาวนาเป็นเจ้าของโฮมสเตย์
ในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีแขกเข้าพักที่หมู่บ้านโป๋โฮ่ว นายผู่ เฉาซาน เจ้าของห้องพักแบบโฮมสเตย์ ยิ้มแย้มขับรถไป-กลับสนามบินเพื่อรับ-ส่งลูกค้า “ถ้าใช้บริการบ้านผมก็รับ-ส่งสนามบินฟรี”
นายผู่ เฉาซานซึ่งปกติไม่ค่อยช่างพูดแบ่งปันเรื่องราวของตัวเองว่า
อ่าวย่าหลงวานเป็นเขตทัศนียภาพชายหาดเขตร้อนที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ชานเมืองทางทิศตะวันออกของซานย่า มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ของจีน นานมาแล้วที่ “ความเจริญและคึกคักด้านการท่องเที่ยว” ที่อ่าวย่าหลงวานไม่เคยขยายมาสู่หมู่บ้านโป๋โฮ่วซึ่งอยู่ติดกับอ่าว นายผู่ เฉาซานก็ไม่ต่างจากชาวบ้านที่นี่ที่ต้องทำไร่ไถนาหรือสมัครเป็นพนักงานโรงแรมที่พักต่าง ๆ ในเขตอ่าวหย่าหลงวานซึ่งมีรายได้ไม่มาก
ปี 2009 บริษัทด้านอุตสาหกรรมวัฒนธรรมแห่งหนึ่งเข้ามาเจรจากับหมู่บ้านเพราะสนใจลงนามสัญญาเช่าพื้นที่เกษตรราว 416.67 ไร่ สำหรับปลูกกุหลาบโดยเฉพาะ ซึ่งต่อมาหุบเขากุหลาบที่บริษัทแห่งนี้สร้างขึ้นกลายเป็นเสาหลักในการบรรเทาความยากจนและสร้างความร่ำรวยของชาวบ้านท้องถิ่น
“ที่ดินถูกเช่าไปแล้วก็ไม่ต้องทำนา ค่าเช่าที่ดินแต่ละปีอยู่ที่หลายพันหยวน ผมจึงคิดจะทำอย่างอื่นด้วย” ตอนนั้น นายผู่ เฉาซานทำทุกอย่างทั้งเป็นคบขับมอเตอร์ไซค์รับ-ส่งลูกค่า เลี้ยงสุกร ขับเรือท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ แต่รายได้กลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเท่าที่ควร
ปี 2017 โป๋โฮ่วเริ่มต้นสร้างหมู่บ้านสวยงาม ปรับปรุงถนนให้กว้างและยาวขึ้น ทิวทัศน์ในหมู่บ้านจึงสวยขึ้น เมื่อเห็นชาวบ้านบางคนมีรายได้ดีจากการเปิดธุรกิจโฮมสเตย์ นายผู่ เฉาซานจึงอยากลองทำตาม ภายใต้ความช่วยเหลือจากคณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน เขาใช้เงินกู้ก้อนแรกที่ได้รับต่อเติมบ้านของตนเองและน้องสาวเพื่อทำเป็นโฮมสเตย์ที่มีชื่อว่า “ซานหลินโป๋ต๋า”
“ปี 2019 เพียงปีเดียวมีรายได้กว่า 300,000 หยวน” ในไม่ช้า นายผู่ เฉาซานจะชำระเงินกู้คืนได้หมด แถมยังซื้อรถคันหนึ่งใช้รับ-ส่งแขกที่มาพักโดยเฉพาะ “เมื่อก่อนผมรับงานเป็นลูกจ้างมาตลอด ตอนนี้ผมเป็นเฒ่าแก่แล้ว รู้สึกว่าตนเองมีกำลังแบบใช้ไม่หมด” เขาเล่าให้ฟังพร้อมรอยยิ้ม
พัฒนาธุรกิจสู่ชีวิตเหลือกินเหลือใช้
“รวยคนเดียวใช่ว่ารวย ทุกคนรวยพร้อมกันจึงเรียกว่าความมั่งคั่งที่แท้จริง” ที่หมู่บ้านโป๋โฮ่ว ใต้ร่มบังแดดหน้าโฮมสเตย์ “ไห่น่าเจี๋ย” นายถัน จงเซียนดื่มน้ำมะพร้าวพลางเล่าเรื่องโฮมสเตย์ในหมู่บ้านให้ผู้สื่อข่าวฟัง
นายถัง จงเซียน คือ “คนที่ได้เงินเยอะจากการเปิดธุรกิจโฮมสเตย์” ในสายตาของนายผู่ เฉาซาน และเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจนี้ในหมู่บ้านโป๋โฮ่วเป็นคนแรก
คนในหมู่บ้านเห็นพ้องกันว่า นายถัน จงเซียนเป็น “ผู้มีความสามารถ” เขาทั้งฉลาด ช่างเจรจา และช่างคิดช่างทำ เมื่อครั้งยังหนุ่ม เขาพยายามสู้ชีวิตในเมืองกว่างโจวและมีรายได้ดี แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2016 นายถัน จงเซียนรู้สึก “ฝังใจ” กับเรื่องหนึ่ง
“หมู่บ้านเราเป็นทางที่จำเป็นต้องผ่านเพื่อไปยังเขตทัศนียภาพย่าหลงวาน ช่วงตรุษจีนปีนั้น รถนักท่องเที่ยวจำนวนมากติดยาวจนถึงประตูทางเข้าหมู่บ้านแต่กลับไม่มีสักคันยอมเข้ามาจอดในหมู่บ้าน” นายถัน จงเซียนแอบคิดในใจว่า หากนักท่องเที่ยวเหล่านี้ส่วนหนึ่งเข้ามาใช้จ่ายในหมู่บ้าน พวกเราจะยังคงต้องลำบากไปหาเงินที่อื่นอีกไหม
หลังทำการศึกษาอย่างรอบด้าน นายถัน จงเซียนจึงตัดสินใจเปิดธุรกิจโฮมสเตย์ดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังหมู่บ้านและพักที่บ้านของเขา ปี 2016 เขาลงทุนปรับปรุงตกแต่งบ้านหลังเก่าพัฒนาเป็นห้องพักโฮมสเตย์รุ่นแรกที่เปิดให้บริการ
ห้องพักโฮมเตย์ที่ชื่อว่า “ไห่น่าเจี๋ย” เป็นบ้านเก่าทรงพื้นเมืองที่มีสไตล์การตกแต่งอันสดชื่น มีส่วนเกื้อกูลกับโรงแรมหรูในเขตทัศนียภาพย่าหลงวาน ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไกลมีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตและประเพณีชนบท ธุรกิจนี้จึงบูมขึ้นทันที “ปีแรกหลังเปิดกิจการเราทำเงินได้เกิน 800,000 หยวน แถมยังสร้างงาน 17 ตำแหน่งแก่ชาวบ้าน โดยมีเงินเดือนพนักงานสูงกว่า 3,600 หยวน” นายถัน จงเซียน กล่าวอย่างภาคภูมิใจ
หลังจากนั้นจึงมีชาวบ้านมากขึ้นใช้วิธีลงทุนทำธุรกิจเองหรือเปิดระดมทุนเพื่อประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ ทุกวันนี้ หมู่บ้านโป๋โฮ่วมีห้องพักโฮมสเตย์กว่า 40 ชุด มีเตียงนอนกว่า 1,000 เตียง ห้องพักโฮมสเตย์เหล่านี้แตกต่างจากโรงแรมระดับติดดาวในพื้นที่รอบข้างเพราะให้ความสำคัญกับความเป็นพื้นเมือง ความใกล้ชิด และกระแสแฟชั่น โดยห้องพักหลายชุดกลายเป็น “โฮมสเตย์สไตล์เน็ตไอดอล”
หนทางเดินหน้าสู่ชีวิตเหลือกินเหลือใช้
ที่หมู่บ้านโป๋โฮ่วมักพบผู้ชายตัวสูงคนหนึ่งขี่จักรยานไฟฟ้าไปมา เขาคือนายหลี่ เหรินตา บัณฑิตปริญญาเอกจากโรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีนของคณะกรรมการพรรคคอมมิวสต์จีนประจำไห่หนาน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมงานฟื้นฟูความเจริญของหมู่บ้านโป๋โฮ่ว
เมื่อเทียบกับตำแหน่ง “หัวหน้าทีม” ชาวบ้านที่นี่ชอบเรียกเขาว่า “ดร.หลี่” มากกว่า “ที่จริงแล้ววุฒิการศึกษาดุษฎีบัณฑิตของผมค่อนข้างได้เปรียบเพราะชาวบ้านล้วนเคารพผู้มีความรู้” นายหลี่ เหรินต๋า พูดไปยิ้มไป
การเดินบนหนทางฟื้นฟูความเจริญในหมู่บ้านและการสร้างสรรค์ของพรรคคอมมิวนิสต์ที่แสดงบทบาทนำร่องนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ประชาชนรู้สึกได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง นายหลี่ เหรินต๋าตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างเต็มที่ หลังจากเข้าประจำการที่หมู่บ้าน เขาใช้แผนสร้างสรรค์พรรคนำการปฏิบัติงานทุกด้าน พยายามยกระดับการสร้างสรรค์พรรคอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้หมู่บ้านเจริญขึ้น
“ขอเพียงให้ผมอยู่ที่หมู่บ้านก็ต้องเดินตรวจตราทุกวัน” เพื่อทำงานให้สอดคล้องกับการสร้างสรรค์ชนบทที่สวยงาม นายหลี่ เหรินต๋าจะจัดกิจกรรมวันพรรคฯ ในแต่ละเดือนเพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจโฮมสเตย์รับผิดชอบการบริหารจัดการและรักษามาตรฐานสุขอนามัย เมื่อพบส่วนไหนเกะกะเลอะเทอะก็ต้องรีบหาพนักงานมาทำความสะอาดทันที
“ตอนแรก คนในหมู่บ้านก็ไม่ค่อยยอมรับและไม่คุ้นชิน ผมเองจึงเริ่มพูดโน้มน้าวแบบล้างสมองก็ว่าได้โดยอธิบายว่า หากสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจะดีต่อพวกเราทุกคน นักท่องเที่ยวจะสนใจเข้าพักที่หมู่บ้าน รายได้ของพวกเราก็จะเพิ่มขึ้น” เขาบอกว่า จากการที่เขาชอบไปพบกับชาวบ้านเพื่อประสัมพันธ์ ความตระหนักถึงมารยาทและความเคยชินด้านสุขอนามัยของชาวบ้านจึงค่อย ๆ ถูกบ่มเพาะขึ้น”
ตอนที่นายหลี่ เหรินเจี๋ยเริ่มทำงานที่หมู่บ้านในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 ธุรกิจโฮมสเตย์เติบโตในเบื้องต้นแล้ว แต่พร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาบางอย่างก็เกิดขึ้นตามมา เช่น ชาวบ้านแยกกันทำธุรกิจขาดระบบบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพและเกิดการแข่งขันกันเองด้วยการกดราคาเกินควร เป็นต้น……
นายหลี่ เหรินต๋าพบปัญหาเหล่านี้ด้วยไหวพริบ ภายใต้การสนับสนุนจากเขาและทีมงานฟื้นฟูความเจริญ หมู่บ้านโป๋โฮ่วจึงตั้งสมาคมธุรกิจโฮมสเตย์ในพื้นที่พร้อมกำหนด “ระเบียบสมาคมธุรกิจโฮมสเตย์ในเขตจี๋หยาง เมืองซานย่า” เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจโฮมสเตย์ที่นี่พัฒนาก้าวหน้าตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
“ความรู้สึกชัดเจนที่สุดในการมาประจำที่หมู่บ้านของผม คือ ขอเพียงให้งานสร้างสรรค์พรรคมีผลงานแนวหน้า แสวงหาหนทางที่ถูกต้อง นำให้ทุกคนเดินหน้าพร้อมกัน การสร้างความมั่งคั่งจึงไม่ใช่เรื่องยาก” นายหลี่กล่าว จากภาคปฏิบัติในหมู่บ้านโป๋โฮ่วยืนยันว่า หากพึ่งพาอาศัยงานสร้างสรรค์พรรคเป็นตัวนำ การฟื้นฟูความเจริญในชนบทก็จะมีความเป็นไปได้สูงมาก
ปี 2012 รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในหมู่บ้านโป๋โฮ่วอยู่ที่ 5,200 หยวน แต่หลังธุรกิจโฮมสเตย์กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้ของหมู่บ้าน รายได้เฉลี่ยต่อคนที่ใช้จ่ายได้จริงเติบโตขึ้นถึงระดับ 16,110 หยวนต่อปี ซึ่งต่อมาในปี 2019 ตัวเลขนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 24,520 หยวน
ที่มณฑลไหหนานของจีน เรื่องราวการหลุดพ้นความยากจนแล้วร่ำรวยขึ้นลักษณะเดียวกับหมู่บ้านโป๋โฮ่วกำลังเกิดขึ้นตามหมู่บ้านแห่งอื่น ๆ มากขึ้น
TIM/LF/LU