2020-11-21 15:53CMG
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ขณะร่วมพบปะผู้นำประเทศกลุ่มบริคส์ที่จัดขึ้นที่กรุงบราซิเลีย ปธน.สี จิ้นผิงของจีนเสนอให้สร้างประชาคมร่วมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง พัฒนานวัตกรรม เติบโต เชื่อมต่อกัน และร่วมมือกันเพื่อชัยชนะร่วมกัน วันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เข้าร่วมประชุมผู้นำเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 27 ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล พร้อมอรรถาธิบายการร่วมสร้างประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกอย่างรอบด้าน เขาระบุว่า ปีนี้ภารกิจสำคัญของเอเปคประการหนึ่ง คือ การเปิดวิสัยทัศน์ความร่วมมือหลังปี 2020
ที่ประชุมครั้งนี้ได้ผ่าน “วิสัยทัศน์เอเปคปุตราจายา 2040” ซึ่งปุตราจายาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในมาเลเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคในปีนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวระบุว่า “เราหวังว่าภายในปี 2040 จะสร้างประชาคมร่วมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดสู่ภายนอก มีชีวิตชีวา แข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และมีสันติภาพ”
ย้อนกลับไปในปี 1994 ที่ประชุมผู้นำเอเปคอย่างไม่เป็นทางการที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนด “เป้าหมายโบกอร์” ที่ระบุว่า สมาชิกประเทศพัฒนาแล้วและสมาชิกประเทศกำลังพัฒนาจะบรรลุเป้าหมายการค้าและการลงทุนเสรีภายในปี 2010 และ 2020 ตามลำดับ ทั้งนี้ แผนปุตราจายาที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีนี้จะแทนที่ “เป้าหมายโบกอร์” ที่จะหมดอายุลงสิ้นปีนี้
วิสัยทัศน์ใหม่นี้จะเป็นเอกสารเชิงหลักนโยบายในการชี้นำความร่วมมือของเอเปคภายในระยะ 20 ปีข้างหน้า ปธน.สี กล่าวปราศรัยว่า “เราต้องถือเอกสารนี้เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ เริ่มขั้นตอนใหม่แห่งความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิก”
ปธน.สี กล่าวปราศรัยในหัวข้อ “ร่วมมือสร้างประชาคมร่วมเอเชีย-แปซิฟิก” ในเนื้อหาหลัก 4 ประการของการสร้างประชาคมร่วมเอเชีย-แปซิฟิกนั้น ปธน.สีเน้นยืนหยัดการเปิดกว้างเป็นอันดับแรก เดือนตุลาคม ปี 2013 เขาเน้นย้ำในการประชุมผู้นำเอเปคอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกว่า “จีนมีท่าทีเปิดกว้างต่อกลไกและการจัดตั้งทั้งหมดที่เป็นผลดีโดยรวมต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”
วันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จีนและอีก 14 ประเทศได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP วงการภายนอกมองว่าถือเป็นชัยชนะของลัทธิพหุภาคีและการค้าเสรี ปธน.สี กล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนว่า จีนยินดีเสร็จสิ้นการลงนามความตกลง RCEP และจะพิจารณาอย่างแข็งขันเรื่องการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)
CPTPP มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม ปี 2018 ครอบคลุมประชากร 498 ล้านคน ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม เม็กซิโก และเปรู
ปธน.สี ระบุด้วยว่า “เราต้องส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคต่อไป และสร้างเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกขึ้นโดยเร็ว“
ปี 2006 การประชุมเอเปคที่ฮานอยได้กำหนดให้การสร้างเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกเป็นเป้าหมายระยะยาวเป็นครั้งแรก ต่อมาเดือนพฤศจิกายน ปี 2014 การประชุมเอเปคที่ปักกิ่งได้มีข้อตกลงเชิงประวัติศาสตร์ที่จะเริ่มกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมอนุมัติ “โรดแมปปักกิ่ง” ปธน.สี ชี้ให้เห็นว่า “แม้ว่าหนทางสู่เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกจะไม่ราบเรียบ แต่เราต้องเดินก้าวไปในทิศทางหลักและเป้าหมายหลักนี้ตลอดไป”
ปธน.สี ยังกล่าวด้วยว่า ต้องยืนหยัดการเติบโตทางนวัตกรรรม การเชื่อมโยงติดต่อกัน และความร่วมมือที่ได้ชัยชนะร่วมกัน ซึ่งทั้ง 3 ประการนี้เป็นเนื้อหาสำคัญในองค์ประกอบของเอเชีย-แปซิฟิก ปธน.สี ยังกล่าวเน้นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงาน ในด้านการเติบโตแบบนวัตกรรมนั้น ปธน.สี กล่าวเน้นว่า “เราต้องดำเนินตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปคอย่างเต็มที่”
ในด้านการเชื่อมโยงการติดต่อกันนั้น ปธน.สี กล่าวเน้นว่า “เราต้องส่งเสริมพิมพ์เขียวของการเชื่อมโยงติดต่อกันของเอเปคต่อไป” เดือนตุลาคม ปี 2014 การประชุมเอเปคที่ปักกิ่งได้อนุมัติ “พิมพ์เขียวการเชื่อมโยงติดต่อกันของเอเปค” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเป็นองค์เศรษฐกิจเดียวกันในภูมิภาค โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน
ด้านความร่วมมือเพื่อได้รับชัยชนะร่วมกันนั้น ปธน.สี กล่าวว่า “เราต้องส่งเสริมความสัมพันธ์หุ้นส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกที่เชื่อถือซึ่งกันและกัน เปิดกว้าง ร่วมมือ และมีชัยชนะร่วมกัน” ซึ่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนดังกล่าวเสนอขึ้นโดยปธน.สีในพิธีเปิดการประชุมผู้นำอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของเอเปคในปี 2014 ซึ่งเขาระบุว่า “มีเพียงการขยายวงความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิกให้กว้างขึ้นจึงจะบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน”
ปธน.สี กล่าวอย่างเด็ดเดี่ยวว่า จีนจะสนับสนุนการพัฒนาของเอเปคต่อไป วางรากฐานการสร้างสรรค์และสร้างความผาสุกแก่เอเชีย-แปซิฟิกไปตลอด ทั้งยังร่วมสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ จีนมีท่าทีและปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม
Tim/LR/Cui