บทวิเคราะห์ : ความสัมพันธ์จีน-อาเซียน ตัวอย่างการสร้างสรรค์ประชาคมร่วมอนาคตที่มีชีวิตชีวา

บทวิเคราะห์ : ความสัมพันธ์จีน-อาเซียน ตัวอย่างการสร้างสรรค์ประชาคมร่วมอนาคตที่มีชีวิตชีวา

เมื่อทั่วโลกเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-อาเซียนกลับมีไฮไลท์มากมาย เหมือนแสงอาทิตย์ที่อบอุ่นในฤดูหนาว ทำให้เศรษฐกิจส่วนภูมิภาคฟื้นฟูได้ก่อนใครอื่น และนำมาซึ่งความหวังที่สดใสให้กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

อนึ่ง ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีนเติบโตขึ้นแบบทวนกระแส อาเซียนแซงหน้าสหภาพยุโรปกลายเป็นคู่เจรจาใหญ่ที่สุดของจีน และกลายเป็นคู่เจรจาเดียวที่มีการเติบโตทางยอดการค้าทวิภาคีกับจีนในบรรดาคู่เจรจาสำคัญทั้งหมด

ยกตัวอย่างของไทย ปี 2020 ถึงแม้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่การไปมาหาสู่กันด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศยังแน่นแฟ้น ยอดการค้าเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถิติจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศจีนแสดงว่า 8 เดือนแรกปีนี้ ยอดการค้าจีน-ไทยอยู่ที่ 64,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 นอกจากนี้ สื่อมวลชนไทยอ้างสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ไทยรายงานว่า หลายปีมานี้ จากการประสานข้อริเริ่ม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ของจีน เข้ากับนโยบาย ‘อุตสาหกรรม 4.0’ ของไทย การค้าทวิภาคีจีน-ไทยมีแนวโน้มพัฒนาไปอย่างมั่นคง

จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ไทย สำหรับมูลค่าการค้าทวิภาคีจีน-ไทย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 71,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามแนวโน้มนี้ คาดว่า ยอดการค้าจีน-ไทยทั้งปีจะเติบโตมากกว่าตัวเลขของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 97,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นผลงานที่ได้มาไม่ง่ายภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่ยังลุกลามอยู่ สะท้อนให้เห็นว่า ความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้าจีน-ไทยสองประเทศยังมีความเหนียวแน่นและเต็มไปด้วยพลังชีวิต

โดยวันนี้ (27 พฤศจิกายน) มีการเปิดงานมหกรรมจีน-อาเซียนและการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพาณิชย์และการลงทุนจีน-อาเซียนครั้งที่ 17 ประเทศต่าง ๆ สามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวคำปราศรัยในพิธีเปิดงานว่า ปี 2013 ข้าพเจ้าได้เสนอแนวคิดร่วมสร้างสรรค์เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 จับมือร่วมสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เรายินดีที่พบว่า 7 ปีมานี้ ความเชื่อมโยงระหว่างสองฝ่ายเร่งความเร็วโดยไม่ขาดสาย การผสมผสานด้านเศรษฐกิจมีความลุ่มลึกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้ามีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและบุคลากรใกล้ชิดกันมากขึ้น ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนกลายเป็นแบบฉบับที่ประสบผลสำเร็จและมีพลังชีวิตในบรรดาความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นตัวอย่างการผลักดันการสร้างสรรค์ประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา

พร้อมไปกับการยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน การลงนาม RCEP การไปมาหาสู่กันด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-อาเซียนมีความสะดวกสบายมากขึ้น เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีในฐานะสถานที่จัดงานมหกรรมจีน-อาเซียนเป็นการถาวร ได้กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญที่จีนเชื่อมโยงกับตลาดอาเซียน

วันที่ 30 สิงหาคมปีที่แล้ว มีการเปิดเขตนำร่องการค้าเสรีจีน(กว่างซี) อย่างเป็นทางการ แสดงข้อได้เปรียบพิเศษของกว่างซีที่ติดกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งทางบกและทางทะเล พยายามสร้างช่องทางใหม่ด้านการค้าทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศเพื่อเปิดสู่อาเซียน กลายเป็นประตูสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 และแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม

ด้วยความสะดวกสบายของนโยบายต่าง ๆ   โครงสร้างการค้าไทย-จีนนับวันยิ่งได้รับการยกระดับให้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์จำพวกยางพาราและพลาสติกนับเป็นสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจีน ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักร นับเป็นสินค้าจีนที่ได้รับความนิยมในไทย วิสาหกิจจีนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและศักยภาพเข้มแข็ง อาทิ บริษัทหัวเหวย บริษัทจิงตง เป็นต้น ได้ร่วมมือกับวิสาหกิจระดับแนวหน้าของไทย ผลักดันการพัฒนาของอุตสาหกรรมในอนาคตอย่างคึกคัก อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ โลจิสติกส์แบบทันสมัย การสื่อสาร 5G เป็นต้น เพื่ออัดฉีดพลังใหม่ให้กับการอำนวยประโยชน์แก่กัน

ขณะเดียวกัน ปัจจุบัน ทั้งจีนและไทยกำลังผลักดันระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกกับอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊าประสานเข้าด้วยกัน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างไฮไลท์ใหม่ให้กับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่ร่วมก่อสร้างโดยจีน-ไทย และแพลตฟอร์มใหม่แห่งความเชื่อมโยงกันสองประเทศ รถไฟจีน – ไทยเป็นโครงการความร่วมมือที่สำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการเฟสแรกในปี 2560 ด้วยความพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่าย การก่อสร้างวิศวกรรมโยธาก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น สัญญา 2.3 ที่ลงนามโดย China Railway International Co. , Ltd. และ China Railway Design Corporation ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญในความร่วมมือระหว่างการรถไฟจีนและไทยหลังจากเริ่มก่อสร้างโครงการ สัญญา 2.3 ของโครงการจะรวมถึงระบบรางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระบบไฟฟ้า 4 ระบบ เครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร

เมื่อมองอนาคต ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเอเชียตะวันออกตลอดจนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่นำโดยอาเซียนจะเร่งความเร็วขึ้นอีก ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี มิตรที่ดี หุ้นส่วนที่ดี จีนจะสนับสนุนและเข้าร่วมอย่างแข็งขัน ส่วนงานมหกรรมจีน-อาเซียนเป็นเวทีสำคัญแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าจีน-อาเซียน ข้อได้เปรียบทางภูมิประเทศและการสนับสนุนด้านนโยบายของประเทศ จะช่วยให้งานมหกรรมจีน-อาเซียนมีฐานะโดดเด่นมากขึ้นในการไปมาหาสู่กันจีน-อาเซียน

(Yim/Cui)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)