บทวิเคราะห์:โจมตีจีนแต่อยากได้เงินจีน นักการเมืองออสเตรเลีย 'สก็อต มอร์ริสัน' เป็นโรคประสาทหรือเปล่า?

บทวิเคราะห์:โจมตีจีนแต่อยากได้เงินจีน นักการเมืองออสเตรเลีย 'สก็อต มอร์ริสัน' เป็นโรคประสาทหรือเปล่า?

หลังเรียกร้องให้จีนขอโทษจากเหตุการณ์โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนโพสต์ภาพการ์ตูนทหารออสเตรเลียสังหารเด็กในอัฟกานิสถาน นายสก็อต มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เปลี่ยนท่าทีอย่างกะทันหัน โดยประกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม หวังว่าจะติดต่อกับจีนในเชิง “สร้างสรรค์” พร้อมกล่าวว่า “ความสัมพันธ์ออสเตรเลีย-จีนเป็นแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน เพราะเป็นผลดีต่อทั้ง 2 ประเทศ”

ด้านหนึ่งป้ายสีจีน ส่วนอีกด้านหนึ่งต้องการเงินจากจีน นายกฯ ออสเตรเลียผู้นี้เป็นโรคประสาทหรือไม่? ทบทวนช่วงกว่า 2 ปีที่นายสก็อต มอร์ริสัน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาใช้นโยบายลักษณะเก็งกำไรต่าง ๆ โดยทางการเมืองมีแนวทางตามสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด หาเรื่องกล่าวโทษจีนบ่อยครั้ง แต่ในด้านเศรษฐกิจกลับหวังแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนาของจีน แท้ที่จริงแล้ว พฤติกรรมป่วยเป็นโรคประสาทของนายสก็อต มอร์ริสัน  เป็นเพียงการเล่นเกมของนักการเมือง “เจ้าเล่ห์” ซึ่งยอมทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตัว สิ่งที่อยู่เบื้องหลัง คือ มีทั้งปัจจัยที่ยึดมั่นในแนวคิดสงครามเย็นและอคติทาง อุดมการณ์ รวมทั้งการแสดงท่าที่ประจบประแจงสหรัฐฯ เพื่อแสวงหาผลทางการเมือง

หลายปีมานี้ จีนเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่สุดและเป้าหมายการส่งออกอันดับแรกของออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียกล้าท้าทายและเป็นปฏิปักษ์ต่อจีนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สำคัญและประเด็นที่จีนให้ความกังวล ความสัมพันธ์จีน-ออสเตรเลียจึงเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าเผชิญอุปสรรค ในฐานะประเทศที่ยืนหยัดเปิดกว้างสู่ภายนอกและพัฒนาร่วมกัน จีนมุ่งมั่นดำเนินความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่ทุกฝ่ายมาโดยตลอด แต่เงื่อนไขบังคับ คือ ต้องเคารพและยึดความเสมอภาคซึ่งกันและกัน

หากนายสก็อต มอร์ริสัน ประสงค์ให้ออสเตรเลียและจีน  “อำนวยประโยชน์แก่กัน” ก็ต้องแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ด้านหนึ่งมาตากข้าวในหม้อ ส่วนอีกด้านหนึ่งทุบหม้อข้าวจนแตก ประชาชนจีนจำเป็นต้องไม่ยอมรับเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด

TIM/LF/ZI

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)